การสื่อสารด้วยข้อมูล

การถ่ายทอดข้อมูลหรือการสื่อสารจากแหล่งข้อมูลไปยังผู้รับสาร บางครั้งเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เนื่องจากข้อมูลมีปริมาณมากหรืออยู่ในรูปแบบที่ไม่สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย

ด้วยเหตุนี้การสื่อสารระหว่างบุคคล จำเป็นต้องจัดรูปแบบข้อมูลและนำข้อมูลไปแสดงในบริบทที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจ หรือมองเห็นประเด็นสำคัญที่ต้องการสื่อสารภายใต้ข้อมูลนั้น

ดังนั้น การทำข้อมูลให้เป็นภาพจึงมีความจำเป็น เพื่อช่วยตอบคำถาม ช่วยในการตัดสินใจ ช่วยให้มองเห็นข้อมูลในบริบทที่เหมาะสม ช่วยค้นหารูปแบบ รวมทั้งช่วยสนับสนุนคำพูดหรือการเล่าเรื่องราวที่มีอยู่ในข้อมูลชุดนั้นๆ


ตารางแสดงประเทศที่มีประชากรสูงสุด 20 อันดับแรก

ข้อมูลจาก https://worldpopulationreview.com/ (19-09-2020)

ข้อมูลจากตาราง จะเห็นได้ว่าประเทศจีนและอินเดียมีประชากรมากกว่าประเทศอื่นๆ อย่างชัดเจน สังเกตจากจำนวนตัวเลขที่มีมากกว่าสหรัฐอเมริกา ซึ่งอยู่ในอันดับ 3 ซึ่งข้อมูลในตารางดังกล่าวนี้ เปรียบเทียบได้เฉพาะจำนวนประชากร แต่หากต้องการแสดงถึงการกระจายตัวของประชากรตามภูมิภาคต่างๆ ต้องนำข้อมูลไปรวมกับบริบททางภูมิศาสตร์

แผนที่แสดงการกระจายตัวของประชากรภูมิภาคต่างๆ

ข้อมูลจาก https://worldpopulationreview.com/ (19-09-2020)

ภาพแผนที่แสดงการกระจายตัวของประชากรภูมิภาคต่างๆ แสดงให้เห็นว่าประชากรในประเทศที่อยู่ในวงกลมสีแดง มีประชากรที่หนาแน่นมากกว่าบริเวณอื่น (มีสีน้ำเงินโทนเข้มเป็นส่วนมาก ซึ่งแสดงถึงความหนาแน่นของประชากรที่มากกว่าสีน้ำเงินโทนอ่อน) ถึงแม้ว่าจะขาดรายละเอียดของจำนวนประชากรในแต่ละประเทศ แต่เป็นการเน้นจุดสนใจให้เห็นถึงความหนาแน่นของประชากรในบริบททางภูมิศาสตร์ ที่มีความแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคได้อย่างชัดเจน

Where People Run in Major Cities

(https://flowingdata.com/2014/02/05/where-people-run)

จากภาพด้านบน เป็นการนำข้อมูลเส้นทางการวิ่งของเมืองต่างๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา มาสร้างเป็นภาพเส้นทางการวิ่งในเมือง ซึ่งวามหนาของเส้นจะบ่งบอกถึงความถี่ของคนที่วิ่งผ่านเส้นทางนั้น ซึ่งข้อมูลนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดเส้นทางจราจร วางแผนป้องกันอุบัติเหตุระหว่างเส้นทางการวิ่ง