การคิดเชิงออกแบบ

การคิดเชิงออกแบบ (อังกฤษ: design thinking) เป็นกระบวนการคิดเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาแนวคิดใหม่ ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายคือการหาแนวทางการแก้ปัญหาที่เน้นมุมมองของผู้ใช้ (user-centered) และมีเจตนาในการสร้างผลลัพธ์ในอนาคตที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้ได้แนวทางหรือนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับผู้ใช้และสถานการณ์

Design Thinking ได้ถูกนำมาใช้ในองค์กรชั้นนำของโลกมากมายทั้งที่มีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก อาทิเช่น Google, Apple, Phillips, P&G และ Airbnb เป็นต้น โดยองค์กรต่างๆเหล่านี้ ได้นำ Design Thinking มาใช้เป็นเครื่องมือหลักหลัก เพื่อสร้างนวัตกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Product and Service, Operational Process, Business Strategy และรวมไปถึง Business Model

ตัวอย่าง Design Thinking ของหลายๆ องค์กร

Stanford d.school

(Source: http://dschool.stanford.edu/dgift/)

Design thinking ของ Stanford d.school ได้แบ่งขั้นตอนกระบวนการคิดออกเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ Empathize, Define, Ideate, Prototype, และ Test จากทั้ง 5 ขั้นตอนนี้ จะเห็นได้ว่า ขั้นตอนที่หนึ่งและสอง (Empathize และ Define) เป็นขั้นตอนทำความเข้าใจและตีความปัญหาอย่างลึกซึ้ง ขั้นตอนที่สาม (Ideate) คือขั้นตอนในการใช้ความคิดสร้างสรรค์และมุมมองจากหลายๆ ด้านมาสร้างไอเดีย และขั้นตอนที่สี่และห้า (Prototype และ Test) คือขั้นตอนในการทดสอบแนวคิดและพัฒนาต้นแบบที่เป็นตัวอย่างแนวคิด เพื่อให้ได้แนวทางหรือนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับสถานการณ์/ปัญหาที่เกิดขึ้น

UK Design Council

(Source: http://www.behaviouraldesignlab.org/work/approach/)

Design Thinking หรือ The Double Diamond Design Process ของ UK Design Council นั้นแบ่งขั้นตอนออกเป็น 4 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่ Discover Define Develop และ Deliver จะเห็นได้ว่า กระบวนการคิดเชิงออกแบบของ UK Design Council จะคล้ายกันกับแนวคิดของ d.school อยู่มาก ก็คือ ขั้นตอนที่หนึ่งและสอง (Discover และ Define) เป็นขั้นตอนทำความเข้าใจและตีความปัญหาอย่างลึกซึ้ง รวมถึงการวางแผนโครงการ ขั้นตอนที่สาม (Develop) คือขั้นตอนในการใช้ความคิดสร้างสรรค์และมุมมองจากหลากหลายด้านมาสร้างไอเดียหลากหลายไอเดีย พัฒนาให้ภาพและทดสอบไอเดียต่างๆ และขั้นตอนที่สี่ (Deliver) คือขั้นตอนในการทดสอบช่วงสุดท้ายก่อนที่จะนำเอานวัตกรรมออกสู่ตลาด หรือนำเอาไปใช้จริง

ขั้นตอนของการคิดเชิงออกแบบ จาก Wiki

การเข้าใจปัญหา

เป็นขั้นตอนการทำความเข้าใจและตีความปัญหาอย่างลึกซึ้ง โดยเน้นการทำความเข้าใจต่อผู้ใช้กลุ่มเป้าหมาย (insight) เป็นการสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตั้งคำถามปลายเปิดหรือสมมติฐานที่ผลักดันให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาให้ชัดเจน โดยการเลือกและสรุปกรอบแนวทางความเป็นไปได้

การสร้างสรรค์ความคิด

การระดมความคิดใหม่ (ideate) อย่างไม่มีขีดจำกัด ให้มากที่สุด หลากหลายที่สุด ในรูปแบบการระดมสมอง (brainstorm)และนำไปสู่การประเมิน (idea evaluation) เลือกความคิดที่อยู่ภายใต้กรอบแนวทางความเป็นไปได้ ซึ่งอาจมีการซ้ำหลายรอบ ความคิดแปลกใหม่ที่อยู่นอกกรอบแนวทางความเป็นไปได้ อาจถูกบันทึกและนำไปใช้ในการพัฒนาโครงการอื่นๆได้

การสร้างแบบจำลองเพื่อการทดสอบพัฒนา

การสร้างแบบจำลอง (prototype) ที่สื่อสารแนวคิดที่ดีที่สุดออกมาเป็นสิ่งที่จับต้องได้เพื่อใช้ในการพิสูจน์แนวคิด และนำไปทดสอบกับผู้ใช้กลุ่มเป้าหมายเพื่อสังเกตประสิทธิภาพและความคิดเห็นจากการใช้งาน โดยการรวบรวมผลตอบรับ ข้อเสนอแนะต่างๆ ตลอดจนคำแนะนำมาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงต่อไป ซึ่งอาจผ่านการทดสอบซ้ำหลายครั้งขึ้นกับความซับซ้อนของโซลูชั่น แบบจำลองช่วยในการรวบรวมความคิดเห็นและปรับปรุงแนวคิด ช่วยให้เข้าใจถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของโซลูชั่นใหม่


สรุป

สรุปขั้นตอนง่ายๆ ของ Design Thinking แบ่งออกเป็น 3 ส่วนตามภาพนี้เลย

1. Understand

คือการทำความเข้าใจ ศึกษาค้นหา Insight ของเหตุการณ์และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ และตีความหาโจทย์ที่น่าสนใจสำหรับมาใช้ในการคิดแก้ปัญหาต่อไป

Tips:

  • เปิดใจรับฟังปัญหา ห้ามตีกรอบ หรือตัดสินปัญหาด้วยมุมมองของเราเพียงฝ่ายเดียว

  • เอาใจเขา มาใส่ใจเรา เข้าไปซึมซับในสถานที่ และประสบการณ์จริง

  • สัมภาษณ์หาข้อมูล Insight ให้ได้ลึกและชัดเจนที่สุด ใช้ 5 Whys (https://open.buffer.com/5-whys-process/)

  • เลือก โจทย์ ที่คนในทีมทุกคนสนใจ และเห็นพ้องตรงกัน

  • อย่าเพิ่งคิดแนวทางแก้ไขปัญหาตั้งแต่แรก เพราะไอเดียที่ได้อาจจะไม่ได้แก้ไขปัญหาจริงๆ ที่เกิดขึ้นก็เป็นได้

2.Create

คือการสร้างไอเดีย หรือการต่อยอดไอเดียจากหลากหลายมุมมองของคนภายในทีม เพื่อสร้างสรรค์ไอเดียนวัตกรรมที่แปลกใหม่และตอบโจทย์การแก้ไขปัญหานั้นๆ

Tips:

  • ห้ามประเมินไอเดียของคนอื่น เพราะมันจะเป็นการบล็อกความคิดสร้างสรรค์ และทำลายบรรยากาศภายในทีม

  • ห้ามประเมินไอเดียของตนเองเช่นกัน คิดอะไรออก ให้เขียนลง Post it และพูดออกมาเลย

  • ไอเดียธรรมดา สามารถกลายเป็นสุดยอดไอเดียได้

  • เน้นปริมาณ ไม่เน้นคุณภาพ

  • ต่อยอดไอเดียซึ่งกันและกัน

3.Deliver

คือการพัฒนาไอเดีย สร้างต้นแบบ และนำไปทดลองกับกลุ่มเป้าหมาย รับ Feedback เพื่อนำไปพัฒนาต้นแบบ จนกระทั่งคนภายในทีมและกลุ่มเป้าหมายพึงพอใจ แล้วนำเอานวัตกรรมนั้นไปใช้จริง

Tips:

  • Fail Fast, Fail Often, Fail Cheap

  • รีบลงมือทำ อย่ามัวแต่วางแผน

  • ต้นแบบเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความคิดในหัว ให้ออกมาเป็นสิ่งที่จับต้องได้เพื่อใช้ในการพิสูจน์ไอเดีย

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ ผมหวังว่าทุกคนจะรู้จักและเข้ากระบวนการคิดเชิงออกแบบ หรือ Design Thinking กันมากขึ้นแล้วนะครับ ในบทความหน้าผมจะเจาะลึกในขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้ทุกๆ ท่านได้ลองไปปรับใช้กัน ทั้งในที่ทำงานและชีวิตประจำวัน ฝึกใช้จนเป็นนิสัย และคุณจะพบว่า Design Thinking ให้ประโยชน์กับคุณมากมายจริงๆ

“Design thinking is about creating a multipolar experience in which everyone has the opportunity to participate in the conversation”.Brown (2009, p.192)

เกร็ดความรู้:

  • สมาชิกภายในทีมควรรวมกันจากหลากหลายสายอาชีพ เพื่อจะทำให้ได้หลากหลายมุมมอง อาทิเช่น Business, Design, Engineer, และ Environmental Science เป็นต้น

  • เปิดใจ รับฟัง ไม่ยึดติดกับความคิดของตัวเอง คือคุณสมบัติหลักที่สมาชิกภายในทีมต้องมี

  • ในการทำ Design Thinking ผู้เชี่ยวชาญมักจะบอกว่า “Stop Talking, Start Doing” อย่ามัวแต่คุยวางแผนให้ยืดยาว รีบลงมือทำให้เร็ว รีบล้มเหลวจากสิ่งเล็กๆ เพื่อที่จะป้องกันการล้มเหลวครั้งใหญ่ในตอนท้าย

  • เรามักใช้กระดาษ Post-it ในการเขียนประเด็นต่างๆ ทั้งปัญหาต่างๆ ที่ได้มาจากขั้นตอน Empathy เพื่อใช้ในการ Define ปัญหา และยังใช้ในขั้นตอน Ideate อีกด้วย

  • 3 คำง่ายๆ สำหรับ Design Thinking “เปิดใจ ต่อยอด ลงมือเร็ว”

อ้างอิง