ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

ประเด็นท้าทาย
รื่อ การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยแบบฝึกหัดทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ร่วมกันเทคนิคบันได 6 ขั้น

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ได้กำหนดคุณภาพของผู้เรียนที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี ไว้ว่าจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระวิชาภาษาไทย มีทักษะกระบวนการ มีเจตคติที่ดีต่อวิชาภาษาไทย มีความตระหนักในคุณค่าของวิชาภาษาไทย และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้จัดทำข้อตกลงในฐานะที่เป็นครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในรายวิชาภาษาไทย 1 รหัสวิชา ท21101 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ปฏิบัติการสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จากการศึกษาวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทั้งในระดับชั้นเรียน ระดับรายวิชา ระดับกลุ่มสาระการเรียนรู้ ระดับสถานศึกษา และระดับชาติ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า นักเรียนขาดทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ และการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยเฉพาะในสาระการเรียนรู้เรื่องการอ่านที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์/ค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ นอกจากนี้จากการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านมายังพบว่าทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ในภาพรวมอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์/ค่าเป้าหมายที่กำหนด แสดงให้เห็นว่ามีปัญหาการเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหาเรื่องการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในรายวิชาภาษาไทย 1 รหัสวิชา ท21101 ผู้จัดทำข้อตกลงได้พิจารณาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น พบว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดจากนักเรียนขาดทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ซึ่งหากปัญหาเช่นนี้หากไม่ได้รับการแก้ไขหรือพัฒนาจะก่อให้เกิดผลเสียต่อประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย วิชาภาษาไทย 1 รหัสวิชา ท21101 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้คุณภาพผู้เรียนไม่บรรลุเป้าหมายตามที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพ.ศ. 2560) และค่าเป้าหมายในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ได้กำหนดไว้

จากปัญหาข้างต้น ผู้จัดทำข้อตกลงได้ทำการศึกษาวิธีการแก้ปัญหาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า แบบฝึกหัดทักษะการอ่านตีความ ร่วมกันเทคนิคบันได 6 ขั้น เป็นสิ่งที่สามารถนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหา คุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนได้ เพื่อให้การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในรายวิชา ภาษาไทย 1 รหัสวิชา ท21101 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคุณภาพตรงตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) และหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนนครสวรรค์ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียน ทั้งในด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติหรือคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ รวมถึงสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ตลอดจนเพื่อให้เป็นไปตามค่าเป้าหมายในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ได้กำหนดไว้

ผู้จัดทำข้อตกลง จึงขอเสนอประเด็นท้าทายที่แสดงให้เห็นถึงสมรรถนะในการปฏิบัติงานตามระดับการปฏิบัติ ที่คาดหวังของตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการ เรื่องการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยแบบฝึกหัดทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ร่วมกันเทคนิคบันได 6 ขั้น


2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

1. ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2560) ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) และหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนชุมพลโพนพิสัย ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560 เกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดที่จะนำมาพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
=> เอกสารข้อ 1 เพิ่มเติม

2. ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ทฤษฎีการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity-Based Learning) และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
=> เอกสารข้อ 2 เพิ่มเติม

3. วิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลเพื่อจัดการเรียนรู้ตามความแตกต่างของผู้เรียน
=> เอกสารข้อ 3 เพิ่มเติม

4. จัดทำหน่วยการจัดการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ สื่อการสอน และแบบทดสอบทักษะความคิดสร้างสรรค์
=> เอกสารข้อ 4 เพิ่มเติม

5. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามเทคนิคการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีขั้นตอน ดังนี้

5.1 ทดสอบทักษะการอ่านตีความ ก่อนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน
=> เอกสารข้อ 5.1 เพิ่มเติม

5.2 จัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน

ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ เป็นการกระตุ้นเชิงบวกที่ส่งผลให้ผู้เรียนสนใจ อยากเรียน อยากรู้อยากค้นหาคำตอบ และตื่นตัวในการค้นหาความรู้ด้วยตนเอง เช่น การนำปัญหาที่ผู้เรียนสนใจมาตั้งเป็นหัวข้อ ให้ค้นคว้า หรือใช้เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน หรือสิ่งที่ผู้เรียนสนใจเป็นตัวกระตุ้น ด้วยวิธีนี้เด็กจะ ไม่ได้เรียนเพื่อสอบ แต่เรียนเพื่อรู้ และความรู้ที่เด็กค้นหาก็สามารถนำไปใช้ในชีวิตได้จริง กระตุ้นการเรียนด้วย สื่อ คลิป วิดีโอเกม เป็นตัวเลือกที่ดีมากในการกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน เพราะเด็กได้ฝึกทักษะการสื่อสาร ด้านปฏิสัมพันธ์ การทำงานร่วมกับผู้อื่น รู้จักแพ้ ชนะ และรู้จักปรับปรุงแก้ไขตนเองมากกว่าการคิดเอาชนะ อย่างเดียว

ขั้นที่ 2 ตั้งปัญหาและแบ่งกลุ่ม เนื้อหาที่สอนมีประโยชน์อะไร หรือจะนำไปใช้งานเรื่องอะไรที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริงอย่างไร การนำปัญหาในชีวิตจริงเป็นตัวตั้ง เช่น อ่านออกเสียงผิดจะทำให้ความหมายผิดตามไปด้วยหรือไม่

ขั้นที่ 3 ค้นคว้าและคิด หนึ่งในบริบทของ CBL คือการให้ความสมัครใจ ความสนใจ และความร่วมมือกันของเด็ก ดังนั้นการแบ่งกลุ่มเพื่อค้นและคิดจึงให้แบ่งตามความสนใจ ซึ่งจะทำให้เด็กร่วมกันค้นคว้าในเรื่องที่ตนสนใจ เป็นการค้นหาด้วยความ “อยากรู้” ครูตั้งปัญหาให้แต่ละกลุ่มค้นคว้าเรื่องที่แตกต่างกัน เพราะจะทำให้เด็กได้ความรู้ นอกเหนือจากเรื่องที่ตนค้นหามาเอง และไม่เบื่อที่จะฟังกลุ่มอื่นนำเสนอ

ขั้นที่ 4 นำเสนอ หลังจากที่ได้ค้นคว้าหาข้อมูลและร่วมกันคิดหาข้อสรุปแล้ว ผู้เรียนจะออกมานำเสนอผลงานทีละกลุ่ม ยิ่งผู้เรียนมีโอกาสนำเสนอบ่อย ๆ ก็ยิ่งเพิ่มพูนทักษะการนำเสนอส่วนสมาชิกในกลุ่มก็เกิดทักษะการทำงานร่วมกัน ทักษะการค้นคว้า และทักษะการคิด ครูส่งเสริมทักษะต่าง ๆ โดยสนับสนุนและเปิดโอกาสให้แสดงความสามารถตามความถนัดให้กับผู้เรียน เช่น นำเสนอด้วย PowerPoint

พูดคนเดียว อภิปรายกลุ่มหรือนำเสนอเป็นโปสเตอร์แชร์ลง Facebook แชร์ลงเพจ หรือนำเสนอทางโซเชียลมีเดีย ครูกำหนดกติกาของห้องเรียน เช่น ต้องฟังเวลาเพื่อนนำเสนอครูอาจใช้วิธีถามผู้เรียนกลุ่มอื่น ๆ ทันที่หลังจากจบการนำเสนอหรือให้ผู้เรียนต่างกลุ่มถามคำถาม เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ตั้งใจฟัง ควรให้เวลากับการถามตอบ เพราะเป็นกระบวนการที่ทำให้ผู้นำเสนอและผู้ฟัง ได้ทบทวนตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่นำเสนอครูช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไขได้

ขั้นที่ 5 ประเมินผล การประเมินผลจึงจำเป็นต้องทำให้ครอบคลุมทั้ง 3 ด้านได้แก่ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Attributes) และควรแยกแสดงผลแต่ละด้าน โดยไม่นำมาร่วมกัน เพื่อให้ผู้เรียนใช้ผลการประเมินไปพัฒนาตนเอง
=> เอกสารข้อ 5.2 เพิ่มเติม

5.3 ทดสอบทักษะการอ่านตีความ หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน
=> เอกสารข้อ 5.3 เพิ่มเติม

6. ให้ผู้เรียนทำแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนวิชาเทคโนโลยี ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน
=> เอกสารข้อ 6 เพิ่มเติม

7. รวบรวมข้อมูลของแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เพื่อนำมา วิเคราะห์และปรับปรุงแก้ไขในประเด็นต่าง ๆ
=> เอกสารข้อ 7 เพิ่มเติม

8. นำผลการอ่านตีความความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของกลุ่มสาระฯ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและหาแนวทางการพัฒนา
=> เอกสารข้อ 8 เพิ่มเติม

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

เชิงปริมาณ

ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 3 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 120 คน ที่เรียนวิชาภาษาไทย 1 รหัสวิชา ท21101 ได้รับการพัฒนาสมรรถนะการอ่านขั้นสูง เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญจากสื่อต่าง ๆ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาษาไทย ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ ร่วมกันเทคนิคบันได 6 ขั้น โดยมีคะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม) คิดเป็นร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด

เชิงคุณภาพ

1. ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะประจำวิชา คุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะที่สำคัญตามหลักสูตรสูงขึ้น

2. ผู้เรียนได้รับการพัฒนาสมรรถนะการอ่านขั้นสูง เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญจากสื่อต่าง ๆ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ ร่วมกันเทคนิคบันได 6 ขั้น


3. ผู้เรียนได้แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะการอ่านขั้นสูง ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน ตลอดมีแรงบันดาลใจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

ตัวชี้วัด (Indicators)

ผู้เรียนร้อยละ 70 มีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนของครู อยู่ในระดับมากขึ้นไป

แผนภูมิแสดงระดับความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนของครู

รายวิชาภาษาไทย / ภาคเรียนที่ 2/2564 มีจำนวนผู้เรียน คน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ 4.59 อยู่ในระดับมาก

ผู้เรียนร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ตั้งแต่ 2.00 ขึ้นไป

แผนภูมิแสดงการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย

ภาคเรียนที่ 2/2564



รายวิชาภาษาไทย 5 ภาคเรียนที่ 2/2564 มีจำนวนผู้เรียน 175 คน มีค่าเฉลี่ยผลการเรียนตั้งแต่ 3.0 ขึ้นไป ร้อยละ 94.1

นำเสนอประเด็นท้าทายหน้าเดียว.pdf
สรุปผลและเผยแพร่ผลการปฏิบัติงาน ครูอรลัก.pdf