ภาพประกอบการจัดการเรียนรู้  ในปีการศึกษา 2565

              ขอแค่สิ่งที่ คสช.ยึดไปในปี 2557 #คืนให้ประชาชน

#คืนอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีผ่าน ส.ส.ให้ประชาชน    ตัดอำนาจ ส.ว.#เลือกนายกรัฐมนตรี

คณะรัฐประหารทุกคณะล้วนแต่อยากให้ ส.ว.ที่ตัวเองเลือก #มีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรี ทั้งสิ้น เพื่อเป็นหลักประกันในการ #สืบทอดอำนาจต่อไปหลังเลือกตั้ง แต่ไม่เคยมีใครทำสำเร็จจนกระทั่ง คสช.ที่ยึดอำนาจไปตั้งแต่ 8 ปีที่แล้ว

ที่คราวนี้ทำสำเร็จก็เพราะฝีมือ #อาจารย์มีชัย ฤชุพันธ์ ที่สรุปบทเรียนจากร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2534 ที่อาจารย์มีชัย ก็เป็นประธานร่างรัฐธรรมนูญ ตอนนั้นอำนาจ ส.ว.เลือกนายกรัฐมนตรีอยู่ในร่างแรกเลย ผลคือถูกนักศึกษาประชาชนประท้วงจนต้องยอมแก้ในวาระสองตัดอำนาจ ส.ว.ในการเลือกนายกรัฐมนตรีออกไป

ในคราวนี้อาจารย์มีชัย จึงเอาอำนาจ ส.ว.เลือกนายกรัฐมนตรีแยกออกมา แล้วเรียกว่าเป็น #คำถามเพิ่มเติม หรือคำถามพ่วง แล้วก็ไม่ยอมถามตรงๆ ว่า เห็นด้วยหรือไม่ที่ ส.ว.ที่ คสช.เลือกจะมีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรี แต่ไปใช้ถ้อยคำว่า “ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา” คนจำนวนมากอยากให้มีเลือกตั้งเสียที อ่านคำถามเพิ่มเติมแล้วนึกไม่มีอะไร เมื่อโหวตรับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ก็โหวตรับคำถามพ่วงด้วย

อย่าลืมว่าตอนนั้นคนที่ค้านจะรณรงค์ค้าน หรือบอกประชาชนเรื่องนี้ก็ทำไม่ค่อยได้เพราะจะถูกจับ อีกทั้ง #พลเอกประยุทธ์ ก็แถลงสองวันก่อนถึงวันลงประชามติว่า #จะไม่สืบทอดอำนาจ แล้วผลประชามติในเรื่องนี้ ซึ่งทำกันแบบมัดมือชก ก็ไม่ได้ชนะขาดลอยแต่ประการใด เพราะมีคนเห็นชอบ 58% เท่านั้น

#อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ส.ว.ชุดนี้ไม่ได้มาจากปวงชน จึงไม่ควรจะมายุ่งกับเรื่องการเลือกนายกรัฐมนตรีตั้งแต่แรกอยู่แล้ว รัฐธรรมนูญประกาศใช้มากว่า 5 ปีแล้ว ถึงเวลาแล้วที่จะต้องคืนอำนาจในเรื่องการเลือกนายกรัฐมนตรีให้ประชาชน ที่เราจะเลือกนายกรัฐมนตรีกันโดยผ่านการเลือก ส.ส.และพรรคการเมือง ดังเช่นระบบ #รัฐสภา ในประเทศต่างๆ และประเทศไทยก่อนหน้านี้

การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องการ ส.ว.หนึ่งในสาม หรือ 84 คน ความจริงก็ไม่ได้มากมายอะไรเลย และไม่ว่าจะมี ส.ว.ยอมแก้เรื่องนี้ถึง 84 คนหรือไม่ แต่ชื่อของ ส.ว.ที่ยอมตัดอำนาจตนเองในเรื่องนี้จะถูกบันทึกและจดจำยิ่งกว่าทุกครั้ง เพราะครั้งนี้อาจจะเป็น #ครั้งสุดท้าย แล้วที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ก่อนที่จะถึงเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งต่อไป

ถึงท่านไม่ยอมตอนนี้ ตอนท่านหมดวาระในเดือนพฤษภาคม 2567 ส.ว.ต่อจากนั้นก็ไม่มีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีแล้ว ว่าง่ายๆ อำนาจ ส.ว.ในเรื่องนี้ก็ต้องหมดไปอยู่ดีในอีกแค่ 1 ปีกับ 8 เดือนเท่านั้น

ยอมแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ตัดอำนาจ ส.ว.ในการเลือกนายกรัฐมนตรีเถิดครับ ถึงจะคืนอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีให้ประชาชน ท่านก็ยังมีอำนาจ #เลือกศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ ซึ่งก็ได้สร้างปัญหาเรื่องการตรวจสอบถ่วงดุลมากพออยู่แล้ว

แล้วที่ประชาชนเขาเรียกร้องเรื่องนี้กัน #ประชาชนทำตามรัฐธรรมนูญทุกอย่าง ไม่ได้ปฏิวัติ ไม่ได้ใช้กำลัง แล้วก็ไม่ได้เรียกร้องอะไรมากมาย แค่ขอส่ิงที่ คสช.ยึดไปในปี 2557 คืออำนาจในการเลือกนายกรัฐมนตรีผ่านการเลือก ส.ส. คืนมาเท่านั้นครับ

ที่มา :  facebook  Prinya Thaewanarumitkul


ประเด็นข่าวใหม่ทางกฎหมายที่น่าสนใจ

คดีที่ก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงที่สุดของ #ศาลรัฐธรรมนูญ

#การไม่รับคำร้องคดีถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบ

ในบรรดาคดีต่างๆ ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาถูกร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่เริ่มเป็นนายกรัฐมนตรีมาตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2557 ไม่ว่าจะเป็น คดีที่ถูกร้องว่าเป็นหัวหน้า คสช.จึงเป็น “เจ้าหน้าที่รัฐ” ที่ห้ามเป็นนายกรัฐมนตรี คดีเรื่องการพักบ้านพักหลวงทั้งที่เกษียณตำแหน่งแล้ว และคดีถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยให้ พล.อ.ประยุทธ์ หลุดพ้นทุกคดีนั้น คดีที่น่าจะก่อให้เกิดปัญหามากที่สุดคือ คดีถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบ

ที่เป็นปัญหามากที่สุดก็เนื่องจากรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า “ก่อนเข้ารับตำแหน่ง รัฐมนตรี #ต้อง ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ #ด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้ ..” เมื่อรัฐธรรมนูญใช้คำว่า “ต้อง” การถวายสัตย์ปฏิญาณก็ต้องกล่าวถ้อยคำให้ตรงและครบถ้วนตามที่รัฐธรรมนูญเขียนไว้ จะมากกว่านั้น หรือน้อยกว่านั้นไม่ได้

แต่ พล.อ.ประยุทธ์ ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ไม่ครบ โดยขาดประโยคสุดท้ายที่ว่า “ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ” ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ จึงต้องต้องมีผลตามมาตรา 5 คือ "รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด บทบัญญัติใด ของกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับ หรือการกระทําใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทํานั้น #เป็นอันใช้บังคับมิได้" แต่เมื่อเรื่องนี้มาถึงศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญกลับมีมติไม่รับคำร้องไว้พิจารณา

การไม่รับคำร้องในเรื่องที่ผิดรัฐธรรมนูญโดยชัดแจ้งไว้พิจารณาก็เป็นปัญหามากพออยู่แล้ว แต่ที่เป็นปัญหายิ่งกว่า คือเหตุผลของศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่รับคำร้อง ซึ่งส่วนที่เป็นปัญหามากที่สุดถึงขนาดที่ต้องใช้คำว่า #ร้ายแรง คือศาลรัฐธรรมนูญให้เหตุผลว่า “การถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์” เป็น “#ความสัมพันธ์เฉพาะ ระหว่างพระมหากษัตริย์กับคณะรัฐมนตรี” ทั้งยังปิดทางไม่ให้มีการตรวจสอบในเรื่องนี้ทุกกรณีด้วยการระบุว่า ไม่มีองค์กรตามรัฐธรรมนูญองค์กรใดจะมีอำนาจตรวจสอบเรื่องนี้ได้

ที่ผมบอกว่าร้ายแรง ก็เพราะเหตุผลนี้ของศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้การกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญของ พล.อ.ประยุทธ์ กระทบไปถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะกลายเป็นว่าการที่ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ถวายสัตย์ปฏิญาณให้ครบถ้วน เป็น “ความสัมพันธ์เฉพาะกับพระมหากษัตริย์” ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจไปในทำนองว่า พล.อ.ประยุทธ์ อาจจะได้พระบรมราชานุญาตให้ถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบ ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว เรื่องนี้เป็นเรื่องของ พล.อ.ประยุทธ์เองที่ #จงใจถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบ และดังนั้นจึงต้องเป็นความผิดของ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ใช่ทำให้ผู้คนเกิดความเข้าใจไปในทางอื่นเช่นนี้

ศาลรัฐธรรมนูญควรจะต้องแก้ไขปัญหานี้ โดยไม่ให้กระทบไปถึงพระมหากษัตริย์ แต่ศาลรัฐธรรมนูญกลับไม่แม้กระทั่งจะรับคำร้องไว้พิจารณา ดูเผินๆ เหมือนว่าเป็นการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ผลที่เกิดขึ้นนั้นกลายเป็นไปในทางตรงกันข้าม แทนที่จะเป็นการปกป้องพระมหากษัตริย์ตามหลัก The King Can Do No Wrong ก็กลายเป็นการปกป้อง พล.อ.ประยุทธ์ และทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองกระทบไปถึงพระมหากษัตริย์ ทั้งๆ ที่เป็นปัญหาที่เกิดจาก พล.อ.ประยุทธ์ เอง

ผมเขียนประเด็นนี้ มิได้มีเจตนาจะให้ศาลรัฐธรรมนูญแก้ไขเรื่องในอดีต ด้วยการตัดสินคดีปัจจุบันของ พล.อ.ประยุทธ์ ให้ออกมาในทางหนึ่งทางใด เพราะเป็นคนละคดี ประเด็นข้อกฎหมายก็คนละเรื่องกัน หากตั้งใจเพียงอยากเห็นศาลรัฐธรรมนูญได้รับความเชื่อถือจากสังคมมากกว่าที่ผ่านมา ทั้งในเรื่องความเป็นอิสระและความเที่ยงธรรมครับ

 ที่มา  facebook  : Parinya  Tewanarumitrku


  “ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจําเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคําพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทําความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทําความผิดมิได้” เป็นถ้อยคำของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน มาตรา 29 วรรค 2 ที่รับรองหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ (presumption of innocence) ว่าเป็นหนึ่งในสิทธิของปวงชนชาวไทย 

             เกมการศึกษา              Scan  Play  Game

          เกม crossword

เกมเขาวงกต - ความรู้เบื้องต้น

    เกมจับคู่  - ความรู้เบื้องต้น

เกม Find the match  -กฎหมายผู้เยาว์

สมุดภาพอินโฟกราฟิกกฎหมายง่ายๆ

ภาพประกอบ แสดงการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์  Covid-19 ปี 2564

ภาพประกอบการสอน นักเรียนมาเรียนonsite ตามความสมัครใจ

นักเรียนที่เรียน online ให้ความร่วมมือเปิดกล้องเรียน  และตอบคำถามครูในช่องแชท และเปิดไมค์ตอบ

ภาพประกอบแสดงการสอนโดยมีวิดิโอประกอบ มีแบบฝึกสั้นๆ รวมถึงมีการใช้เทคโนโลยีให้นักเรียนสืบค้น

ภาพประกอบ แสดงการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์  Covid-19 ปี 2563

ภาพประกอบการจัดการเรียนการสอน โดยใช้เกม Kahoot และ Quizizz  และ เกม Whack a mole เกม Balloon pop ปี 2563

 ภาพประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  ปี2563 "ศึกษาสังคมBY PDCA.

บูรณาการ 3 วิชาโดยใช้กระบวนการกลุ่มสร้างชิ้นงาน Model การคิด PDCA.

คดีมรดกธรรมวัฒนะ (5,7,8,9,11,17,41,42,45).pptx
สำเนาของ นวลฉวี.pptx
53092_อาหารภาคอีสาน (เลขที่ 3).pdf
ชิ้นงานโปสเตอร์วัฒนธรรมไทยและอาเซียน ปภพ เข็มเงิน เลขที่ 8

ภาพประกอบ แสดงการจัดการเรียนการสอน ในวิชาหน้าที่พลเมือง 1 ส31102  ปีการศึกษา 2562

วิดิโอผลงานนักเรียนชั้นม.4  วิชาหน้าที่พลเมือง ส31102    ปีการศึกษา 2562

หัวข้อ กฎหมายที่น่าสนใจ

เรื่อง   กฎหมายจราจร

วิดิโอผลงานนักเรียนชั้นม.4  วิชาหน้าที่พลเมือง ส31105    ปีการศึกษา 2562

หัวข้อ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม

เรื่อง ความคิด ความเชื่อ และวิถีจากวิทยาศาสตร์

   เรื่อง มหันตภัยยาลดความอ้วน

ภาพการต้อนรับคณะครู นักเรียน หน่วยงานต่าง ๆมาศึกษาดูงาน การจัดการเรียนการสอน ห้องSmart classroom  และกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม   โรงเรียนนครสวรรค์

การต้อนรับคณะครูศึกษาดูงาน เรื่องการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี

   ภาพการเป็นวิทยากรอบรม Program Quizizz ให้เพื่อนครูโรงเรียนนครสวรรค์ ปี2563

ภาพบรรยากาศการใช้Kahoot ทบทวนบทเรียน  ปีการศึกษา 2561

      ภาพบรรยากาศการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี  ปีการศึกษา  2562

ภาพ กระบวนการกลุ่มบูรณาการ3วิชา "ศึกษาสังคม"

ภาพการนำเสนองาน  วัฒนธรรมบูรณาการอาเซียน

เวบไซต์ "เรียนสังคมง่ายๆ สไตล์ครูไก่ "  ครูกนกวรรณ  ตันวิสุทธิ์   กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม   โรงเรียนนครสวรรค์   fb.kanokwan Tonvisuth    Line:  Krukai   Tel. 091-838-5479