1. รองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารงบประมาณ
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ

ปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการสถานศึกษากลุ่มบริหารงบประมาณ โดยปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการศึกษา ในการบริหารกิจการของสถานศึกษา การวางแผนการปฏิบัติงาน การควบคุม กำกับ ดูแลเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ และงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย ปฏิบัติหน้าที่รองจากผู้อำนวยการสถานศึกษา โดยช่วยปฏิบัติราชการในเรื่องต่อไปนี้
๑. กำกับติดตามดูแล การบริหารงบประมาณ ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของงานให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ นโยบายและวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา
๒. ควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงินต่าง ๆ วิเคราะห์รายจ่าย และประเมินผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการของโรงเรียน
๓. กำกับดูแลการปฏิบัติงานของบุคลากรกลุ่มบริหารงบประมาณ ประเมินผลการปฏิบัติงานครู บุคลากรตามกรอบงานที่เกี่ยวข้าง ส่งเสริมและสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีการพัฒนาด้านการบริหารงบประมาณอย่างต่อเนื่อง
๔. ประสานงานกับกลุ่มงานทุกกลุ่มงานของโรงเรียนและหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
๕. ประสานความร่วมมือกับชุมชนและท้องถิ่น ในการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาและให้บริการวิชาการแก่ชุมชน
๖. ประเมินผลปฏิบัติงานของข้าราชฝบการครูและบุคลากรตามกรอบงานที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสถานศึกษา
๗. รายงานผลการดำเนินงานตามกรอบงานที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสถานศึกษา
๘. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

2. หัวหน้ากลุ่มบริหารงบประมาณ
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ

๑. พัฒนาระบบบริหารงานของกลุ่มบริหารงบประมาณให้มีประสิทธิภาพโดยเน้นการมีส่วนร่วม

๒. จัดบุคลากรรับผิดชอบการดำเนินงานในงานต่าง ๆ ในกลุ่มบริหารงบประมาณ

๓. วางแผนและดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ให้การดำเนินงานต่าง ๆ ของกลุ่มบริหารงบประมาณสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๔. ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานในกลุ่มบริหารงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ

๕. ช่วยประสานงาน ให้ความช่วยเหลือ ช่วยแก้ไขปัญหา และเป็นที่ปรึกษาให้ครูและบุคลากรที่ปฏิบัติงานในกลุ่มบริหารงบประมาณ ให้สามารถปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๖. สรุปประเมินผลการดำเนินงานของกลุ่มบริหารงบประมาณ และจัดเอกสารสรุปผลการดำเนินงานของกลุ่มบริหารงบประมาณเสนอผู้บริหาร

๗. ให้ข้อเสนอแนะงานกลุ่มบริหารงบประมาณให้รองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารงบประมาณหรือให้ผู้อำนวยการโรงเรียนทราบและพิจารณา

๗. งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

3. งานสำนักงานกลุ่มบริหารงบประมาณ
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ

๑. กำกับดูแล จัดระบบและดำเนินการ รับ-ส่ง แจ้งเวียนหนังสือของกลุ่มบริหารงบประมาณ การจัดเก็บให้เป็นปัจจุบัน เป็นหมวดหมู่ และเป็นระเบียบเรียบร้อย

๒. จัดทำแบบฟอร์มเอกสารและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติงานสำนักงานด้านการบริหารงบประมาณ

๓. จัดเตรียมวาระการประชุมงานด้านการบริหารงบประมาณ บันทึกและเสนอรายงานการประชุมด้านการบริหารงบประมาณให้ผู้อำนวยการโรงเรียนทราบและพิจารณา

๔. รวบรวมกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ แนวปฏิบัติ นโยบาย กลยุทธ์ หลักฐานเอกสาร ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการบริหารงบประมาณ เพื่อเผยแพร่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบและถือปฏิบัติ

๕. จัดสำนักงานกลุ่มบริหารงบประมาณให้เป็นไปตามกิจกรรม ๕ ส และให้มีการบริการที่ดี

๖. จัดทำแผนปฏิบัติงาน/ปฏิทินงานด้านการบริหารงบประมาณและร่วมจัดแผนปฏิบัติงานโรงเรียน/ปฏิทินปฏิบัติงานของโรงเรียน

๗. งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

4. งานนโยบายและแผน
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ

1) การจัดทำแผนกลยุทธ์หรือแผนพัฒนาการศึกษา

1. วิเคราะห์ทิศทางและยุทธศาสตร์ของหน่วยงานเหนือสถานศึกษา ยุทธศาสตร์ระดับชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ แผนปฏิบัติราชการของกระทรวงศึกษาธิการ แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนพัฒนาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

2. ทบทวนการดำเนินงานของสถานศึกษาและศึกษารายงานข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง

3. วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของสถานศึกษาที่มีผลกระทบต่อการจัดการศึกษา (SWOT Analysis) และประเมินสภานภาพของสถานศึกษา

4. กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ของสถานศึกษา

5. กำหนดกลยุทธ์ของสถานศึกษา

6. กำหนดผลผลิต ผลลัพธ์ และตัวชี้วัดความสำเร็จโดยจัดทำเป็นข้อมูลสารสนเทศ

7. กำหนดเป้าหมายระยะปานกลางของผลผลิตในเชิงปริมาณ คุณภาพ และผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับผลปฏิบัติงานของสถานศึกษา

8. จัดทำรายละเอียดโครงสร้าง แผนงาน งาน/โครงการ และกิจกรรมหลัก

9. จัดให้รับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงและนำเสนอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการสถานศึกษา

10. เผยแพร่ประกาศต่อสาธารณชนและผู้เกี่ยวข้อง

2) การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา

1. ศึกษารายละเอียด เกณฑ์ วัตถุประสงค์ของงบประมาณที่ได้รับแจ้งการจัดสรร จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลปัจจุบันของสถานศึกษาประกอบการพิจารณาจัดสรร งบประมาณ และรายงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรณีที่งบประมาณมีความคลาดเคลื่อน

2. จัดสรรงบประมาณให้หน่วยงานในสถานศึกษาโดยวิเคราะห์ภารกิจหลัก /ภารกิจเสริมการจัดการเรียนการสอน จัดลำดับแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมตามกรอบวงเงินที่ได้รับ

3. จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี/ประจำปีงบประมาณ ให้มีความเชื่อมโยงกับผลผลิตและผลลัพธ์ ตามตัวชี้วัดของสถานศึกษา โดยวิเคราะห์สาระสำคัญของกรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน วัตถุประสงค์นโยบาย แผนปฏิบัติการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและความต้องการของสถานศึกษา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

4. จัดทำแผนบริหารงบประมาณประจำปีหรือแผนการใช้จ่ายเงิน ให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการประจำปี โดยแสดงงบประมาณทั้งหมดที่เป็นเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ แยกประเภทงบประมาณเป็นงบบุคลากร งบดำเนินงาน งบเงินอุดหนุน งบเงินลงทุน และเงินนอกงบประมาณ

5. ขอความเห็นชอบแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

6. แจ้งจัดสรรวงเงินงบประมาณให้กลุ่มงานภายในสถานศึกษารับไปดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประจำปี

3) การจัดทำคำขอตั้งงบประมาณสถานศึกษา

1. วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของสถานศึกษา (SWOT Analysis) โดยเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษา กลยุทธ์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กลยุทธ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกลยุทธ์ของกระทรวงศึกษาธิการ

2. จัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อจัดสรรงบประมาณประจำปีที่ได้รับให้กับหน่วยงานภายในสถานศึกษา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

3. จัดทำข้อมูลสารสนเทศทางการเงินของสถานศึกษา ได้แก่ แผนการจัดชั้นเรียน ข้อมูลครูและบุคลากร ข้อมูลผู้เรียน ทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวกของสถานศึกษา เพื่อใช้กำหนดเป้าหมาย ผลผลิต เป้าหมายกิจกรรมหลักและการสนับสนุน

4. ทบทวนประสิทธิภาพการใช้จ่ายตามแผนปฏิบัติการในปีที่ผ่านมา เพื่อจัดทำประมาณการค่าใช้จ่ายปีที่ขอตั้งงบประมาณและค่าใช้จ่ายล่วงหน้า ๓ ปี ของงบบุคลากร งบดำเนินงาน งบเงินอุดหนุน งบลงทุน และงบรายจ่ายอื่นที่สอดคล้องกับประเด็นกลยุทธ์ตามแผนพัฒนา

5. วิเคราะห์ผลการประกันคุณภาพภายใน ผลการประเมินคุณภาพภายนอกกลยุทธ์ของสถานศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อตรวจสอบทบทวนภารกิจ และจัดทำกรอบงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง(MTEF) เป็นรายละเอียดของแผนงบประมาณ

6. จัดทำคำขอรับงบประมาณของสถานศึกษา

7. ขอความเห็นชอบแผนงบประมาณต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อใช้เป็นคำขอตั้งงบประมาณต่อเขตพื้นที่การศึกษา

4) การอนุมัติการใช้จ่ายงบประมาณที่ได้รับจัดสรร

ผู้อำนวยการสถานศึกษาอนุมัติการใช้จ่ายงบประมาณตามงาน/โครงการที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปีและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ

5) การขอโอนและขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณ

ตราจสอบรายละเอียดรายการงบประมาณที่จำเป็นต้องขอโอนและเปลี่ยนแปลงเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

6) การรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณ

รายงานผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปีและผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

7) การตรวจสอบ ติดตาม และรายงานการใช้งบประมาณ/

1. จัดทำแผนการติดตามการใช้จ่ายเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณของสถานศึกษาให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการและแผนบริหารงบประมาณ

2. จัดระบบการตรวจสอบและติดตามให้กลุ่ม ฝ่าย งาน ในสถานศึกษา รายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อสถานศึกษาจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน และผลการใช้จ่ายงบประมาณต่อสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกไตรมาส ภายในระยะเวลาที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด ดำเนินการรายงานในระบบรายงานผลการบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปี (e-budget)

3. จัดทำรายงานประจำปีที่แสดงถึงความสำเร็จในการปฏิบัติงานทุกสิ้นปีงบประมาณ

8) การตรวจสอบติดตามและรายงานการใช้ผลผลิตจากงบประมาณ

1. ประเมินคุณภาพการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย

2. วางแผนประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการดำเนินงานของสถานศึกษา

3. วิเคราะห์และประเมินความมีประสิทธิภาพ ประหยัดและคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรของหน่วยงานในสถานศึกษา

4. จัดทำเครื่องมือประเมินผลการใช้เงินและผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดความสำเร็จ

ที่กำหนดไว้ในข้อตกลงผลการปฏิบัติงานของสถานศึกษา

9) การจัดระบบการควบคุมภายในหน่วยงาน

1. วิเคราะห์กำหนดมาตรการในการป้องกันความเสี่ยงในการดำเนินงานของสถานศึกษา

2. วางแผนการจัดระบบการควบคุมภายในสถานศึกษา

3. ดำเนินการควบคุมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินกำหนด

4. ติดตามและประเมินผลการควบคุมภายในและรายงานให้เขตพื้นที่การศึกษาทราบ

5. งานการเงินและบัญชี
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ

1) การเบิกเงินจากคลัง

1. จัดทำและตรวจสอบเอกสารหลักฐานการขอเบิกเงินให้ถูกต้องตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง

2) การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน และการจ่ายเงิน

1. ดำเนินการเกี่ยวกับการรับเงิน การเก็บรักษาเงิน และการจ่ายเงิน ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด คือ ระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๕๑

3) การนำเงินส่งคลัง

1. การนำเงินส่งคลัง ให้นำส่งภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ.๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

2. ขั้นตอนและวิธีการนำเงินส่งคลังให้เป็นไปตามที่ระบบ GFMIS กำหนด

4) การจัดทำบัญชีการเงิน

1. จัดทำบัญชีการเงินให้บันทึกบัญชีและทะเบียนที่เกี่ยวข้องตามระบบบัญชีเกณฑ์คงค้าง และระบบ GFMIS ที่กระทรวงการคลังกำหนด

2. จัดทำรายงานทางการเงินและงบการเงินเป็นไปตามระบบบัญชีเกณฑ์คงค้างและระบบ GFMIS ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด

5) การจัดทำรายงานทางการเงินและงบการเงิน

1. จัดทำรายงานการรับจ่ายเงินรายได้สถานศึกษา ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด คือ ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์ อัตรา และวิธีการนำเงินรายได้สถานศึกษาไปจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

2. จัดทำและจัดหาแบบพิมพ์บัญชี ทะเบียน และแบบรายงาน โดยให้จัดทำตามระบบบัญชีเกณฑ์คงค้าง และระบบ GFMIS ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด

6) การจัดทำบัญชีการเงิน

1. ตั้งยอดบัญชีระหว่างปีงบประมาณ ทั้งการตั้งยอดภายหลังการปิด บัญชีงบประมาณปีก่อนและการตั้งยอดก่อนเปิดบัญชีงบประมาณปีงบประมาณ

2. ปรับปรุงบัญชีเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ บัญชีทุนการศึกษา และบัญชีเงินบริจาค บัญชีรับฝากเงินประกันสัญญา ตั้งยอดบัญชีสินทรัพย์ที่เป็นบัญชีวัสดุ และบัญชีสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน พร้อมทั้งจัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป

3. บันทึกบัญชีคงค้าง (พึงรับพึงจ่าย : Accrual Basis) โดยบันทึกรายการด้านเดบิต ในบัญชีแยกประเภท และบันทึกรายการด้านเครดิตในบัญชีแยกประเภท

4. บันทึกบัญชีประจำวัน ให้ครอบคลุมการรับเงินงบประมาณ การรับรายได้ จากการขายสินค้าหรือการให้บริการ การจ่ายเงินงบประมาณ การจ่ายเงินงบประมาณให้ยืม เงินนอก-งบประมาณให้ยืม การซื้อวัสดุ เงินทดรองจ่าย เงินมัดจำและค่าปรับ การรับเงินบริจาค การรับเงินรายได้แผ่นดิน การถอนเงินรายได้แผ่นดิน การเบิกเงินงบประมาณแทนกัน

5. สรุปรายการบันทึกบัญชีทุกวันทำการ สรุปการรายรับหรือจ่ายผ่านไปยังบัญชี แยกประเภทเงินสด เงินฝากธนาคาร และเงินฝากคลัง

6. ปรับปรุงบัญชีเมื่อสิ้นปีงบประมาณ โดยปรับรายการบัญชีรายได้จากงบประมาณ

7. ค้างรับ ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย/รับที่ได้รับล่วงหน้า ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า/รายได้ค้างรับ วัสดุที่ใช้ไประหว่างงวดบัญชี ค่าเสื่อมราคา/ค่าตัดจำหน่าย

8. ปิดบัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายเพื่อบันทึกบัญชีรายได้สูงกว่า/ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีและปิดรายการได้สูงกว่า/ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายงวดบัญชี เข้าบัญชีรายได้สูงกว่า/ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายสะสม และให้โอนบัญชีรายได้แผ่นดินนำส่งคลัง เข้าบัญชีรายได้แผ่นดิน หากมียอดคงเหลือให้โอนเข้าบัญชีรายได้แผ่นดินรอนำส่งคลัง

9. ตรวจสอบความถูกต้องของตัวเงินสดและเงินฝากธนาคารตามรายงานคงเหลือประจำวันและงบพิสูจน์ยอดฝากธนาคาร และตรวจสอบความถูกต้องบัญชีทุกประเภท

10. แก้ไขข้อผิดพลาดจากการบันทึกบัญชี โดยการขีดฆ่าข้อความหรือตัวเลขผิด ลงลายมือชื่อ ย่อ กำกับพร้อม วัน เดือน ปี แล้วเขียนข้อความหรือตัวเลขที่ถูกต้อง

11. จัดทำและจัดหาแบบพิมพ์ใช้เอง เว้นแต่เป็นแบบพิมพ์กลางที่เขตพื้นที่การศึกษา หรือหน่วยงานต้นสังกัดหรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจัดทำขึ้นเพื่อจำหน่ายจ่ายแจก

7) การจัดทำและจัดหาแบบพิมพ์บัญชี ทะเบียน และรายงาน

1. จัดทำรายงานประจำเดือนส่งหน่วยงานต้นสังกัด สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และกรมบัญชีกลาง ภายในวันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไป โดยจัดทำรายงานรายได้แผ่นดิน รายงานรายได้และค่าใช้จ่าย รายงานเงินประจำงวด

2. จัดทำรายงานประจำปี โดยจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน จัดทำงบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน งบกระแสเงินสดจัดทำโดยวิธีตรง จัดทำหมายเหตุประกอบงบการเงิน เสนอรายงานต่อผู้บังคับบัญชา และการจัดส่งรายงานประจำปีให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานผ่านสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา


6. งานพัสดุและสินทรัพย์
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ

๑) การวางแผนพัสดุ

1. รวบรวมกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ แนวปฏิบัติ นโยบาย กลยุทธ์ หลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานพัสดุ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานและถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด รวมทั้งเผยแพร่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบและถือปฏิบัติ

2. วางแผนพัสดุล่วงหน้า ๓ ปี ให้ดำเนินการตามกระบวนการของการวางแผนงบประมาณ

3. การจัดทำแผนการจัดหาพัสดุ ให้ฝ่ายทำหน้าที่จัดซื้อจัดจ้างเป็นผู้ดำเนินการโดยให้ฝ่ายที่ต้องการใช้พัสดุจัดทำรายละเอียดพัสดุที่ต้องการ คือรายละเอียดเกี่ยวกับปริมาณ ราคา คุณลักษณะเฉพาะ หรือแบบรูปรายการและระยะเวลาที่ต้องการใช้พัสดุ (ทั้งนี้รายละเอียดพัสดุที่ต้องการต้องเป็นไปตามแผนปฏิบัติงานประจำปี (แผนปฏิบัติงาน) และตามที่ระบุไว้ในเอกสารประกอบพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ส่งให้ฝ่ายที่ทำหน้าที่จัดซื้อจัดจ้างเพื่อจัดทำแผนการจัดหาพัสดุ)

๒) การกำหนดรูปแบบรายการหรือคุณลักษณะเฉพาะของครุภัณฑ์ หรือสิ่งก่อสร้างที่ใช้เงินงบประมาณเพื่อเสนอต่อเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1. กำหนดรูปแบบรายการหรือคุณลักษณะเฉพาะ เพื่อประกอบการขอตั้งงบประมาณส่งให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2. กรณีที่เป็นการจัดหาจากเงินนอกงบประมาณให้กำหนดรูปแบบรายการหรือคุณลักษณะเฉพาะได้โดยให้พิจารณาจากแบบมาตรฐานก่อน หากไม่เหมาะสมก็ให้กำหนดตามความต้องการโดยยึดหลักความโปร่งใส เป็นธรรม และเป็นประโยชน์กับทางราชการ

๓) การพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการจัดทำและจัดหาพัสดุ

1. พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการจัดทำและจัดหาพัสดุ การจัดทำบัญชีผู้ขายหรือผู้รับจ้าง เพื่อสำหรับการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและการประเมินผลผู้ขาย และผู้จ้าง

4) การจัดหาพัสดุ

1. จัดหาพัสดุโดยถือปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการพัสดุของส่วนราชการและคำสั่งมอบอำนาจของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2. จัดทำพัสดุถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้สถานศึกษา รับจัดทำ รับบริการ รับจ้าง ผลิตเพื่อจำหน่าย พ.ศ.๒๕๓๓

3. การจัดหาพัสดุด้วยเงินงบประมาณต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยกำหนดให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานหรือองค์กรอื่นมีส่วนร่วมในการจัดหา โดยประเภทของพัสดุที่จัดหาต้องเป็นไปตามหลักจำแนกประเภทรายจ่ายงบประมาณและคำสั่งมอบอำนาจของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

4. การจัดหาพัสดุด้วยเงินนอกงบประมาณ จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้เป็นไปตามระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยการบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.๒๕๔๙ และประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์ อัตรา และวิธีการนำเงินรายได้สถานศึกษาไปจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา

5) การควบคุมดูแล บำรุงรักษา และจำหน่ายพัสดุ

1. จัดทำทะเบียนคุมบัญชีทรัพย์สินและบัญชีวัสดุ ไม่ว่าจะได้มาด้วยการจัดหาหรือการรับบริจาค

2. จัดทำระบบฐานข้อมูลทรัพย์สินของสถานศึกษา โดยใช้โปรแกรมระบบทะเบียนคุมทรัพย์สิน โปรแกรมระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา(EMIS) และโปรแกรมระบบจัดเก็บข้อมูลสิ่งก่อสร้าง (B-OBEC) หรือโปรแกรมอื่นที่กำหนด

3. ควบคุมพัสดุให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

4. ตรวจสอบพัสดุประจำปี และให้มีการจำหน่ายพัสดุที่ชำรุดเสื่อมสภาพหรือไม่ใช้ในราชการอีกต่อไป

5. ขึ้นทะเบียนพัสดุที่เป็นที่ดินหรือสิ่งก่อสร้างกรณีที่ได้มาด้วยเงินงบประมาณเป็นที่ราชพัสดุ กรณีที่ได้มาจากการรับบริจาคหรือจากเงินรายได้สถานศึกษาให้ขึ้นทะเบียนเป็นกรรมสิทธิ์ของสถานศึกษา

6. งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

7. งานจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ

1. จัดทำแนวปฏิบัติหรือระเบียบของสถานศึกษาในการดำเนินการหารายได้ โดยไม่ขัดต่อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

2. จัดหาผลประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ และอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในครอบครองของสถานศึกษาภายในวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา และต้องไม่ขัดหรือแย้งกับนโยบาย วัตถุประสงค์ และภารกิจของสถานศึกษา เงินรายได้ที่เกิดขั้นถือเป็นเงินนอกงบประมาณประเภทเงินรายได้สถานศึกษา

3. เสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินในส่วนที่อยู่ในความรับผิดชอบของสถานศึกษา

4. งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

8. งานระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ

1. ประสานและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแหล่งทรัพยากรที่สนับสนุนการจัดการศึกษาทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนในท้องถิ่นให้เป็นระบบ

2. ศึกษาแนวทางหรือระเบียบที่จะขอรับการสนับสนุนจากแหล่งทรัพยากรทุกประเภทตลอดจนเงื่อนไขการขอับการสนับสนุน

3. วางแผน รณรงค์ ส่งเสริมการระดมทุนการศึกษา และทุนเพื่อการพัฒนาสถานศึกษา

4. จัดทำข้อมูลสารสนเทศและระบบการรับจ่ายทุนการศึกษา และทุนเพื่อการพัฒนาการศึกษาให้ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล คุ้มค่า และมีความโปร่งใส

5. การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา โดยให้เป็นไปตามความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

6. ให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาโดยเป็นผู้จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการ บริจาคทรัพย์สินหรือทรัพยากรให้แก่สถานศึกษาและมีส่วนร่วมกับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามความเหมาะสมและความจำเป็น

7. จัดทำแผนงาน/โครงการ ระดมทรัพยากร เพื่อเสนอความเห็นชอบจากฝ่ายบริหารและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

8. จัดทำแผนการบริหารและจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษา โดยความเห็นชอบของฝ่ายบริหารและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

9. ประเมินผลการดำเนินงาน/โครงการ การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษา พร้อมทั้งสรุปรายงานให้แก่ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบ

10. งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย


9. งานกองทุนเพื่อการศึกษา
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ

๑. จัดทำแบบฟอร์มเอกสารและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติงานกองทุนเพื่อการศึกษา

๒. สำรวจความต้องการของนักเรียนและงานร่วมรูปแบบองค์คณะคัดเลือกผู้เสนอกู้ยืมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

๓. ประสานการกู้ยืมเพื่อการศึกษากับหน่วยปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

๔. สร้างความตระหนักแก่ผู้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา

๕. กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานกองทุนเพื่อการศึกษา

๖. รายงานผลปฏิบัติงานและหรือรายงานผลการวิจัยงานกองทุนเพื่อการศึกษา ตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย ก่อนการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโรงเรียน เพื่อใช้ประกอบการประเมินฯ และรายงานให้สาธารณชนได้รับทราบโดยทั่วกัน

๗. งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

10. งานบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษา
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ

1. จัดทะเบียนรายการทรัพยากรเพื่อเป็นสารสนเทศ ได้แก่ อาคาร สถานที่ วัสดุถาวร ครุภัณฑ์ทางการศึกษา ทรัพย์สินราชการ ตลอดจนทะเบียนที่ราชพัสดุ แหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา และแหล่งเรียนรู้ในทั้งถิ่นทั้งที่เป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติและภูมิปัญญา แหล่งเรียนรู้ที่เป็นสถานประกอบการ เพื่อการรับรู้ของบุคลากรในสถานศึกษา ผู้เรียน และบุคลากรทั่วไปจะได้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกันในการจัดการศึกษา

2. วางระบบหรือกำหนดแนวปฏิบัติการใช้ทรัพยากรร่วมกันกับบุคคลและหน่วยงานรัฐบาลและเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด

3. กระตุ้นให้บุคคลในสถานศึกษาร่วมใช้ทรัพยากรภายในและภายนอก รวมทั้งให้บริการการใช้ทรัพยากรภายในเพื่อประโยชน์ต่อการเรียนรู้ และส่งเสริมการศึกษาในชุมชน

4. ปฏิบัติงานประสานความร่วมมือกับผู้รับผิดชอบแหล่งทรัพยากรภายในและภายนอกทั้งทรัพยากรและธรรมชาติ ทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น ทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพให้การสนับสนุนการจัดการศึกษา

5. เชิดชูเกียรติบุคคลและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่สนับสนุนการใช้ทรัพยากรร่วมกันเพื่อการศึกษาของสถานศึกษา

6. งานอื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

11. งานสวัสดิการ
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ

๑. ศึกษาระเบียบเกี่ยวกับแนวทางการงานสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล/ค่าการศึกษาบุตร/ค่าเช่าบ้านและอื่น ๆ

๒. จัดทำแบบฟอร์มสำหรับงานสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล/ค่าการศึกษาบุตร/ค่าเช่าบ้านและอื่น ๆ

๓. ดำเนินการเบิกจ่ายและตรวจสอบการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามระเบียบและข้อกฎหมาย

๔. งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย


12. งานสหกรณ์ร้านค้าโรงเรียน
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ

๑. ดำเนินงานกิจกรรมสหกรณ์ร้านค้าโรงเรียนตามนโยบายของสถานศึกษา

๒. จัดทำระเบียบและข้อบังคับกิจกรรมสหกรณ์ร้านค้าโรงเรียน

๓. ควบคุมดูแลการดำเนินงานของกิจกรรมสหกรณ์ร้านค้าให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติ

๔. สรุปผลการดำเนินงานให้ผู้อำนวยการทราบ

๕. งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

13. งานร้านอาหารเช้า
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ

๑. ดำเนินงานร้านอาหารเช้าตามนโยบายของสถานศึกษา

. ควบคุมดูแลการดำเนินงานของร้านอาหารเช้าให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติ

. สรุปผลการดำเนินงานให้ผู้อำนวยการทราบ

. งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

14. งานโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานศึกษา (ITA)
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ

๑. ประชุมวางแผนกำหนดนโยบายส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส่ในการเนินงานของสถานศึกษา

๒. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานศึกษา (ITA)

๓. กำหนดมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานศึกษา

๔. ดำเนินกิจกรรมการประกาศเจตจำนงการบริหารงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

๕. สร้างสื่อประชาสัมพันธ์กระตุ้นครูและบุคลากรร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการต่อต้านทุจริต

๖. ดำเนินการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและความโปร่งใส่ในการดำเนินงานของสถานศึกษา (ITA)

๗. สรุปผลการดำเนินงานให้ผู้อำนวยการทราบ

๘. งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย