เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานวิชาการ รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนหนองโตง “สุรวิทยาคม”

ผู้วิจัย นายรัตติกานต์ จันทร์ปรุง

หน่วยงาน โรงเรียนหนองโตง “สุรวิทยาคม” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1

ปี พ.ศ. 2564

บทสรุป

การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนหนองโตง“สุรวิทยาคม” โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model เพื่อประเมินโครงการ 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครู จำนวน 84 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนหนองโตง “สุรวิทยาคม” ปีการศึกษา 2564 จำนวนนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan ได้นักเรียน จำนวน 317 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 317 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน คือ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการประเมิน พบว่า

1. ผลการประเมินผลการประเมินด้านบริบทของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนหนองโตง“สุรวิทยาคม” ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละตัวชี้วัด พบว่า ทุกตัวชี้วัดอยู่ในระดับมากที่สุด สรุปผลการประเมินจำแนกตามประเด็น ตัวชี้วัดค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่า ด้านบริบทของโครงการ ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งปรากฏว่า ทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน

2. ผลการประเมินผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนหนองโตง“สุรวิทยาคม” ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครู โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละตัวชี้วัด พบว่า ทุกตัวชี้วัดอยู่ในระดับมาก ทุกด้านผ่านเกณฑ์การประเมิน สรุปผลการประเมิน ด้านปัจจัยเบื้องต้น ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดทุกประเด็นผ่านเกณฑ์การประเมิน

3. ผลการประเมินผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนหนองโตง“สุรวิทยาคม” ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครู นักเรียน และผู้ปกครอง โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดโดยรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งปรากฏว่า ทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน

4. ผลการประเมินผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนหนองโตง“สุรวิทยาคม” ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครู นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดโดยรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งปรากฏว่า ทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้ มีดังนี้

1. ควรกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการให้สอดคล้องกับหน่วยงานต้นสังกัด และเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและสนองความต้องการของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง

2. ควรเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมากขึ้น เพื่อให้ผู้ปกครองมีความตระหนักเห็นความสำคัญในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียน

3. ปัจจัยที่ใช้ในการดำเนินงานตามโครงการเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการขับเคลื่อนโครงการให้ไปสู่ความสำเร็จ ทั้งความพร้อมและศักยภาพของครู เจตคติและความสามารถในการดำเนินงาน งบประมาณ ความพร้อมของสื่อ เครื่องมือ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินงานโครงการ และควรพัฒนาครูผู้รับผิดชอบให้พร้อมก่อนที่จะปฏิบัติงานเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

4. การดำเนินงานโครงการมีกิจกรรมที่ต้องอาศัยการประสานงานร่วมกันระหว่างผู้รับผิดชอบโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จึงควรให้ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ทำความเข้าใจประสานงานการปฏิบัติเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพให้การดำเนินงาน

5. ควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาเพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนหนองโตง “สุรวิทยาคม” เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไป

ข้อเสนอแนะสำหรับการการประเมินครั้งต่อไป มีดังนี้

1. ควรนำรูปแบบการประเมินโครงการรูปแบบ CIPP Model ไปปรับใช้กับการประเมินโครงการอื่น ๆ ในโรงเรียน เพื่อยกระดับพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนต่อไป

2. ควรใช้วิธีการและเครื่องมือในการประเมินอย่างหลากหลายเพื่อให้ได้ผลการประเมินที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การรับฟังความคิดเห็นของผู้ปกครองจากการประชุมผู้ปกครองระดับชั้นเรียน เป็นต้น