ทบทวนการใช้ Spill Kits สารเคมี ประจำปี2566

   ภาควิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน โดยทีมนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ และพนักงานผ่าและรักษาศพของภาควิชาฯ ร่วมกันทบทวนการใช้ Spill Kits สารเคมี ในกรณีสารเคมี ตก หก หล่น ปนเปื้อน ณ ห้องปฏิบัติการ ตามขั้นตอนแนวทางปฏิบัติที่แนบมากับชุด Spill Kits เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน เพื่อลดความเสี่ยงของเจ้าหน้าที่ในการเก็บกู้สารเคมี ในห้องปฏิบัติการ

ชุด spill kits ประกอบด้วยอุปกรณ์ ดังนี้

1. อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment: PPE) ได้แก่

- หน้ากากชนิด N95/R95                 - ชุดกาวน์คลุมทั้งตัว (Coverall gown)

- ถุงหุ้มรองเท้า (Shoes cover)           - ครอบตานิรภัย (Safety goggle)

- ถุงมือ 2 คู่ คือ ถุงมือยาง (Latex gloves) และถุงมือไนไตร (Nitrile gloves)

2. สาร Neutralization (สารทาปฏิกิริยาลบล้างฤทธิ์) ได้แก่ โซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium bicarbonate)

3. วัสดุดูดซับ ทาความสะอาด ได้แก่

- แผ่นดดูซับ                                - ขวดใส่น้ำสะอาด

4. วัสดุอื่น ๆ เช่น

- คีมคีบวัสดุ/เศษแก้ว                      - ไม้พาย

- ถุงซิป                                - ลวดสาหรับมัดปากถุง

- ปากกาเมจิ                               - ขวดใส่ Detergent

- ผ้าสะอาด                                 - กระป๋องใส่ของมีคม

- ที่ตักผง                                   - ถุงขยะสารเคมี 2 ใบ

-ป้ายเตือนโปรดระวัง“พื้นที่ปนเปื้อนสารเคมี/วัตถุอันตราย”

- เทปกาวย่น

5. คู่มือ วิธีการปฏิบัติกรณี สารเคมี/เคมีบาบัด/สารชีวภาพ และปรอทหกหล่นปนเปื้อน (Vajira Spill kits)

เมื่อมีสารเคมีหกหล่นปนเปื้อนเกิดขึ้นต้องประเมินสถานการณ์ จำกัดพื้นที่ปนเปื้อน แจ้งผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นให้ออกไปจากพื้นที่

โดย ด่วน และดำเนินการจัดเก็บทำความสะอาด ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1. ผู้ทำความสะอาด ถอดเครื่องประดับ เช่น สร้อย กำไล นาฬิกา แหวน ที่เป็นโลหะทุกประเภท สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ได้แก่ หน้ากาก ครอบตานิรภัย ถุงหุ้มรองเท้า ชุดกาวน์ชนิดคลุมทั้งตัว หมวก ถุงมือ 2 คู่ (ถุงมือยาง คู่ใน และถุงมือไนไตร คู่นอก)


ขั้นตอนที่ 2. ตั้งป้ายเตือนโปรดระวัง "พื้นที่ปนเปื้อนสารเคมี/วัตถุอันตราย " ห้ามไมให้คนเดินผ่านบริเวณที่สารเคมีหกหล่น เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเป็นวงกว้าง



ขั้นตอนที่ 3. เปิดปากถุงซิป 1 ใบ และถุงขยะสารเคมีทั้ง 2 ใบ วางไว้ใกล้ ๆ


ขั้นตอนที่ 4. โรยโซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium bicarbonate), สาร Neutralization ปฏิกิริยาลบล้างฤทธิ์ทำให้เป็นกลาง (P H=7) ซึ่งสามารถแตกตัวเป็นกรด/ด่าง ขึ้นกับความเข้มข้นของสารเคมีแต่ละตัว (ดูใน SDS) ทิ้งไว้ประมาณ10-15 นาที



ขั้นตอนที่ 5. หากมีเศษแก้ว/ของมีคมที่ปนเปื้อนสารเคมี ใช้คีมคีบหรือไม้พายและที่ตักผง เขี่ยใส่กระป้องใส่ของมีคม ปิดฝาให้สนิทใสในถุงชิป (ทิ้งไม้พายและที่ตักผงในกรณีประเมินแล้วไม่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้)




ขั้นตอนที่ 6. วางแผ่นดูดซับคลุมบริเวณที่ปนเปื้อน ใช้คีมคีบแผ่นดูดซับ เช็ดจากพื้นที่ปนเปื้อนน้อยไปมาก ใสในถุงซิป กรณีเป็นผง เทน้ำบนแผ่นดูดซับก่อนวางคลุมพื้นที่ปนเปื้อน





ขั้นตอนที่ 7. ใช้ผ้าผืนที่ 1 ทำความสะอาดด้วย Detergent

ใช้ผ้าผืนที่ 2 ชุบน้ำเช็ดทำความสะอาด


ใช้ผ้าผืนที่ 3 เช็ดให้แห้ง ทิ้งผ้าทั้ง 3 ผืนลงในถุงชิป ปิดให้สนิทก่อนใส่ถุงขยะสารเคมี ใบที่ 1


ขั้นตอนที่ 8. ถอด ถุงมือไนไตร (คู่นอก) หมวก ครอบตานิรภัย หน้ากากชนิด N95/R95 ชุดกาวน์ชนิดคลุมทั้งตัว และถุงหุ้มรองเท้า ทึ้งในถุงขยะสารเคมีใบที่  มัดปากถุงด้วยลวดพลาสติกให้แน่น นำไปใสในถุงขยะ สารเคมีใบที่ 2 ถอดถุงมือยาง (คู่ใน) ทิ้งในถุงขยะสารเคมีใบที่ 2 มัดปากถุงด้วยลวดพลาสติกให้แน่น

(อุปกรณ์ที่จะใช้ซ้ำ ได้แก่ ครอบตานิรภัย ล้างด้วยน้ำยาล้างจาน น้ำสะอาด และเช็ดให้แห้ง)


ขั้นตอนที่ 9.เขียนป้ายระบุ "สารเคมีอันตราย: กรด/ด่าง/ระเบิดได้ /ไวไฟหรือกัดกร่อน " และชื่อหน่วยงาน ไว้ที่ข้างถุงขยะสารเคมีให้ชัดเจน ใส่ถังขยะสารเคมี นำส่งจุดพักขยะสารเคมี



ขั้นตอนที่ 10. เก็บป้ายเตือน และอุปกรณ์ที่ไม่ปนเปื้อนใส่กล่อง Spill Kits (จัดเติมอุปกรณ์ให้พร้อมใช้ภายหลัง)




ขั้นตอนที่ 11. ล้างมือ 6 ขั้นตอน ตามด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ (ล้างหน้าและส่วนอื่น ๆ ของร่างกายที่สัมผัสสารเคมี)


ขั้นตอนที่ 12. เพิ่มการระบายอากาศในบริเวณที่ปนเปื้อน เช่น ใช้พัดลมดูดอากาศออกสู่ภายนอก

ขั้นตอนที่ 13. เขียนแบบฟอร์มการบันทึกอุบัติการณ์สารหกหล่นปนเปื้อนที่อยู่ในกล่อง ส่งงานอาชีวอนามัยฯ



ขั้นตอนที่ 14. รายงาน Incident report ในระบu e-PHIS บันทึกความเสี่ยงในระบบ VRM



 การเตรียมการเรียนการสอนทางห้องปฏิบัติการภาควิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน มีการใช้สารเคมีอันตราย เช่น Hydrochloric acid, Ethidium bromide, Formaldehyle การทบทวนการจัดการกรณีสารเคมี หก ตก หล่น ปนเปื้อนครั้งนี้ จึงทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความตระหนักในการใช้สารเคมีอันตราย ให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น รู้วิธีจัดการอย่างชัดเจน สามารถนำไปปรับใช้ได้เป็นอย่างดี เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างปลอดภัยต่อตนเองและนักศึกษาที่เข้ามาเรียนในห้องปฏิบัติการ

 

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ งานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช โทร 022443567

คู่มือการใช้กล่อง vajira spill kits https://drive.google.com/file/d/1Qw7pVs7pa7kPMLyQleXzkS1Yk60v4to2/view?usp=sharing

 


นางรุ้งเพชร แสนสุข

นางสาวภัทราวรรณ ตาปราบ

นางสาวปัทมวรรณ ช่วงวัดหาด

นางสาวมัจฉา มิตรขุนทด

นายศดิศ ศักดาเดช

 

ผู้เรียบเรียง