ข้อมูลทั่วไป

กศน.ตำบลยางอู้ม

1. ชื่อสถานศึกษา     กศน.ตำบลยางอู้ม
2. ที่ตั้ง/การติดต่อ   หมู่ที่ 1  ตำบลยางอู้ม  อำเภอท่าคันโท  จังหวัดกาฬสินธุ์  ติดกับองค์การบริหารส่วนตำบลยางอู้ม

3. สังกัด        กศน.อำเภอท่าคันโท สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกาฬสินธุ์   สำนักงาน กศน.  สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ   กระทรวงศึกษาธิการ

4.  ประวัติความเป็นมาของ กศน.ตำบลยางอู้ม

4.1 ประวัติความเป็นมาของ กศน. ตำบลยางอู้ม

         กศน.ตำบลยางอู้มสังกัด ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าคันโท  ซึ่งมีสถานภาพเป็นสถานศึกษาในราชการบริหารส่วนกลาง  สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกาฬสินธุ์   สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  มีการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  จัดการศึกษาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นและจัดการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับคนในชุมชน โดยมีเขตรับผิดชอบจำนวน 6 หมู่บ้าน มีสถานที่พบกลุ่ม 3 แห่ง คือ กศน.ตำบลยางอู้ม 1 แห่ง และ ศรช. 1 แห่ง คือ ศรช.บ้นคำบอน  มีบ้านหนังสือชุมชนจำนวน 3 แห่ง

โดยกรมการศึกษานอกโรงเรียนได้มีคำสั่งที่ 98/2537  ลงวันที่  18  มกราคม  พ.ศ. 2537 ได้แต่งตั้ง  นายอำนาจ  พึงศักดิ์ศรี  ให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่หัวหน้าศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอท่าคันโท  โดยได้มาปฏิบัติราชการตั้งแต่วันที่  2  กุมภาพันธ์  2537 ถึง  พ.ศ. 2540  ต่อมาได้แต่งตั้งให้ นายเฉลิม  โยสีดา  มาปฏิบัติราชการในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอท่าคันโท  และได้ปฏิบัติราชการตั้งแต่  ปี พ.ศ. 2540 ถึง พ.ศ. 2547 และได้แต่งตั้งให้ นายปุณณรัตน์  ศรีทาพุฒ  มาปฏิบัติราชการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอท่าคันโท ตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 ถึง พ.ศ 2551 ต่อมามี นางเกศรัตน์ ภูกิ่งเงิน  ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าคันโท  ตั้งแต่วันที่  30 ตุลาคม 2551 ถึง 8 มิถุนายน 2558   นายเฉลิม  โยสีดา  ปัจจุบันนางศรวณี  อ่อนสำอาง ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าคันโทและมีครู อาสาสมัครฯ นางสวรรญา บุญเรือง ครู กศน.ตำบล นางวิลาวัลย์  บัวทอง รับผิดชอบดูแลการจัดกิจกรรมการศึกษาให้กับประชาชนในตำบลยางอู้ม

  4.2 อาณาเขต

        ตำบลยางอู้ม มีอาณาเขตติดต่อตำบล อำเภอและจังหวัดใกล้เคียง  ดังนี้ 

         ทิศเหนือ   ติดกับ ต.หนองหญ้าไซ อ.วังสามหมอ จ.อุดรธานี
        ทิศใต้    ติดกับ ต.นาตาล อ.ท่าคันโท จ.กาฬสินธุ์
            ทิศตะวันออก   ติดกับ ต.ดงสมบูรณ์ อ.ท่าคันโท จ.กาฬสินธุ์
        ทิศตะวันตก ติดกับ   ต.นาตาล และ ต.ท่าคันโท อ.ท่าคันโท จ.กาฬสินธุ์

4.3 ข้อมูลสภาพชุมชน

       4.3.1  ประวัติความเป็นมาตำบลยางอู้ม  พอสังเขป      

      ตำบลยางอู้ม เป็นตำบลเก่าแก่มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2511 ประชากรเป็นคนอีสาน และพูดภาษาอีสาน นับถือศาสนาพุทธทั้งตำบล อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอท่าคันโท ประกอบด้วย 6 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1 บ้านยางอู้ม หมู่ 2 บ้านยางอู้ม หมู่ 3 บ้านคำบอน หมู่ 4 บ้านยางอู้ม หมู่ 5 บ้านคำบอน หมู่ 6 บ้านชัยศรีสุข   เป็นเขตการปกครองของอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์  ตั้งอยู่เขตรอบนอกของเทศบาลตำบลท่าคันโท อยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดกาฬสินธุ์ ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ประมาณ  109  กิโลเมตร  มีพื้นที่โดยประมาณ  58.6 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ  36,630ไร่  หรือเท่ากับร้อยละ  8.68  ของพื้นที่อำเภอท่าคันโท   สภาพพื้นที่โดยทั่วไปตำบลยางอู้ม

      ทิศเหนือ   ติดกับ ต.หนองหญ้าไซ อ.วังสามหมอ จ.อุดรธานี
        ทิศใต้    ติดกับ ต.นาตาล อ.ท่าคันโท จ.กาฬสินธุ์
        ทิศตะวันออก   ติดกับ ต.ดงสมบูรณ์ อ.ท่าคันโท จ.กาฬสินธุ์
        ทิศตะวันตก ติดกับ   ต.นาตาล และ ต.ท่าคันโท อ.ท่าคันโท จ.กาฬสินธุ์

 ลักษณะภูมิประเทศ
ตำบลยางอู้ม อำเภอท่าคันโท  จังหวัดกาฬสินธุ์ มีภูมิประเทศเป็นที่ราบสลับที่ราบสูง  ลักษณะที่ราบน้ำท่วมถึง มีป่าไม้และมีภูเขา  มีลำน้ำปาวไหลผ่าน  ซึ่งติดต่อกับเขตชลประทานลำน้ำปาว มีห้วยหนองคลองบึงบ้างเป็นบางส่วน  ในช่วงฤดูฝนน้ำหลาก น้ำจะท่วมขัง  ฤดูแล้งน้ำจะลดระดับลงอย่างมาก เหลือพื้นที่ไว้เป็นทุ่งหญ้า สำหรับเลี้ยงสัตว์ และราษฎรบางส่วนได้อาศัยพื้นที่ส่วนนี้ประกอบอาชีพ ด้านการประมงน้ำจืด

ลักษณะภูมิอากาศ

          เขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลยางอู้ม อำเภอท่าคันโท  จังหวัดกาฬสินธุ์  มี 3 ฤดูกาล

ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมมี  3  ฤดู                     

 1.ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคม ถึงเดือน พฤษภาคม อากาศร้อน                                                         

 2.ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนตุลาคม มีฝนตกชุกเป็นบางช่วงและไม่ตรงตามฤดูกาล  เกษตรมักไม่ได้ทำการเกษตรตรงตามฤดูกาล
  3. ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์อากาศหนาวมากแห้งแล้ง     
ลักษณะของดิน

ทรัพยากรดิน  สภาพดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย  ไม่ค่อยอุ้มน้ำ บางแห่งเป็นดินลูกรัง  ประชากรในพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ทำการเกษตร ปลูกมันสำปะหลัง  ปลูกอ้อย และทำนาข้าว

 ลักษณะแหล่งน้ำ

                 แม่น้ำลำปาวอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของบ้านยางอู้ม หมู่ที่ 1 และ หมู่ที่ 4 เป็นแหล่งปลาน้ำจืด และแหล่งประมงของหมู่บ้าน มีทิวทัศน์ที่สวยงาม เป็นสถานที่ศึกษาวิถีชีวิตการประมงน้ำจืดพื้นบ้าน ลักษณะของไม้และป่าไม้  ชื่อป่าชุมชน : ป่าหมู่บ้านยางอุ้ม  ปีที่เริ่มโครงการ : 2549   ที่ตั้ง : ต.ยางอู้ม อ.ท่าคันโท จ.กาฬสินธุ์  เนื้อที่ : 775 ไร่ 0 งาน 0 ตารางวา  ประเภทป่า : ที่ดินตามหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง สภาพป่า : เป็นไม้ เต็ง ไม้รัง ผสมป่าเบณจพรรณบางส่วน สภาพป่าค่อนข้างสมบูรณ์ ปัจจุบันมีลูกไม้ขนาดกลางขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น  เป็นป่าที่ค่อนข้างสมบูรณ์ชุมชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน และร่วมกันดูแลรักษา