การจักสานมวยนึ่งข้าว

ภูมิปัญญาการสานมวยนึ่งข้าว

จากวิถีชีวิตและความเป็นอยู่อันเรียบง่าย ของประชาชนชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีค่านิยมในการรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก อีกทั้งนักคิดค้นหาวิธีการประดิษฐ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ด้วยการนำเอาวัสดุที่มีในท้องถิ่นราคาถูก หาได้ง่าย และใช้ภูมิปัญญา ที่แฝงไว้ด้วยศิลปะที่น่าทึ่ง เช่น ศิลปะการจักสาน การปั้น แกะสลัก เป็นต้น

ปราชญ์ในการสานมวยนึ่งข้าว

นายนพพล สุวะมาศ (พ่อเริญ) อายุ 64 ปี

บ้านหนองนาเทิง หมู่ 5 ตำบลนาจิก

ปราชญ์ การจักสานมวย ผู้คิดค้นลายกระแต

การสานมวยมีอุปกรณ์ ดังนี้

- มีด - เลื่อยลันดา - ลวด - ตะปู - ไม้ไผ่ - เชือกในร่อน - ฆ้อนตีตะปู

เทคนิควิธีทำและวิธีการจักสานมวยนึ่งข้าวและขั้นตอนการจักสานมวย

ขั้นตอนการสานมวยนึ่งข้าว

ขั้นตอนที่ 1 นำไม้ไผ่มาตัด ดังภาพ





ขั้นตอนที่ 2 ตัดเป็นปล้องประมาณ 1 ช่วงแขน ดังภาพ

ขั้นตอนที่ 3 การจักตอกสานชั้นในและชั้นที่สอง
1) นำไม้ไผ่ที่ตัดเป็นท่อนไว้แล้วมาผ่าออกเป็นซีก ปล้องหนึ่งผ่าเป็นซีกแล้วจะได้ประมาณ 15 -18 ซีก ดังภาพ





2) เหลาปลายข้างหนึ่งให้มีความเรียว 1 เซน แล้วใช้มีดอีโต้ที่คมจักตอกโดยผ่าเป็นเปิ้นให้เป็นเส้นบางๆ ไม้ไผ่ซีกหนึ่งจะได้ตอก 20-25 เส้น ดังภาพ





3) แล้วผ่าเป็นเปิ้นให้เป็นเส้นบางๆไม้ไผ่ซีกหนึ่งจะได้ตอก 20-25 เส้น
ดังภาพ


ขั้นตอนที่ 4 การจักตอกเสียบหรือตอกยั้ง

นำตอกที่จักแล้วมาขูดด้วยโฮงขูดตอกหรือเครื่องขูดเหลาปลายข้างหนึ่งให้เรียว 0.5 เซนให้บางตามลายเปิ้นเป็นตอกเสียบตอกยั้ง ดังภาพ




ขั้นตอนที่ 5 การจักตอกสานชั้นสาม

1) ใช้ปล้องที่ยาวที่สุดตัดส่วนข้อออก ดังภาพ




2) ผ่าเป็นซีกหนา 0.5 เซนและจักตอกตะเเคงทำเป็นเส้นบางๆเล็กๆนำมาสานกับตอกเสียบ ดังภาพ




3) นำมาสานกับตอกเสียบ ดังภาพ



ขั้นตอนที่ 6 ไม้ทำขอบ

นำไม้ไผ่ส่วนปลายที่ตัดเป็นปล้องสำหรับทำขอบบนยาวขนาดปากมวยมวย สำหรับขอบล่างนำมาผ่าเป็นซีกกว้างขนาดข้นมวยมวย ดังภาพ




ขั้นตอนที่ 7 ขึ้นโครงสร้างของมวยนึ่งข้าว

1) นำตอกมาสานกันเพื่อขึ้นโครงสร้างของมวย ดังภาพ




2) สานให้ได้ขนาดที่ตามต้องการ ดังภาพ




3) หลังจากสานได้ขนาดตามต้องการให้นำปลายทั้งสองด้านมาประสานกันให้เป็นรูปโครงสร้าง ดังภาพ




ขั้นตอนที่ 8 ใช้เชือกรัดให้เป็นรูปมวย

ใช้เชือกรัดให้เป็นรูปมวยเพื่อให้โครงสร้างแข็งแรงแน่นเท่าๆกัน ดังภาพ





ขั้นตอนที่ 9 นำมวยมาใส่ขอบบน (ปากมวย) ดังภาพ





ขั้นตอนที่ 10 นำมวยมาใส่ขอบล่าง(ก้นมวย) ดังภาพ




ขั้นตอนที่ 11 สานด้านข้างตามรูปมวย ดังภาพ





ขั้นตอนที่ 12 ใช้ตอกเล็กที่เตรียมไว้สานด้านข้างตามรูปมวย ดังภาพ



ขั้นตอนที่ 13 การเข้าขอบบน(ปากมวย) เมื่อสานมวยชั้นที่สามเสร็จแล้วนำมวยมาตัดขอบปากมวยให้เสมอกันหลังจากนั้นใช้ขอบมวยที่สานไว้แล้วมาวางทาบที่ขอบบนเสร็จแล้วเย็บขอบบนให้ห่างพอประมาณจนรอบขอบบน ดังภาพ




ขั้นตอนที่ 14 การเย็บก้นหวดสำหรับรองฝาแตะ เย็บแบบโยงไปมาตรงข้ามกันหรือเย็บแบบโยงใยแมงมุม ดังภาพ

ผู้เขียนชอบฝีมือการสานมวยของชาวบ้านมาก

ประยุกต์เป็นมวยซิ่งมาใช้กับหม้อหุงข้าว

ข้อมูล เนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางอุกันดา พิมหล่อ

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางอุกันดา พิมหล่อ

อ้างอิงข้อมูลจาก : http://cddata.cdd.go.th/cddkm/prov/km1