ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี

ประเพณีไหลเรือไฟ

ประเพณีไหลเรือไฟ

ประเพณีไหลเรือไฟในอดีตของอำเภออากาศอำนวย

เดือนสิบเพ็งหรือ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปีชาวโย้ยบ้านอากาศ จะมีกิจกรรมที่

สำคัญขึ้นอยู่ 2 กิจกรรม คือ ประเพณีบุญข้าวสาก(สลากภัตต์) เป็นพิธีกรรมของทางพุทธศาสนาประเพณีบุญไหลเรือไฟ (ชาวโย้ยพูดเฮือไพ หรือ ห้านบูชาไพ) ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ตามความศรัทธาและความเชื่ออย่างเหนียวแน่นจนถึงปัจจุบัน

ประเพณีบุญข้าวสาก (สลากภัตต์) ชาวโย้ยปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เช่น บิดามารดา หรือญาติมิตรตลอดทั้งผู้มีพระคุณ ทั้งหลาย เจ้ากรรมนายเวรให้ได้รับผลทานที่อุทิศไปให้นั้น ในคืนวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 ชาวคุ้มวัด ทั้งผู้เฒ่าผู้แก่คนหนุ่มคนสาวจะชักชวนกันไปรวมกันที่วัด เพื่อคบงันต้นกัลปพฤกษ์บุญข้าวสาก พอเวลา 6 โมงเช้าของวันขึ้น 15 ค่ำ ก็จะนำพาข้าวครัวเรือนละ 1 พา มาทำบุญตักบาตร ที่วัด พาข้าว ประกอบด้วย อาหารหวาน คาว หมาก พลู บุหรี่ ผลไม้ ขนม ข้าวต้มตามกำลังศรัทธาของแต่ละครัวเรือน ที่สำคัญในพาข้าวแต่ละพานั้น จะต้องมีสลากเป็นกระดาษแผ่นเล็ก ๆ เขียนข้อความอุทิศส่วนกุศลผลบุญที่ได้กระทำอุทิศให้แก่ใครและขอให้ผลบุญนั้นจะไปค้ำจุนให้พ้นจากทุกข์ให้ได้รับความสุข จากนั้นนำถวายพระ เสร็จจากถวายภัตตาหารเช้า ผู้เฒ่าก็จะนั่งฟังเทศน์ตลอดทั้งวันจนถึง 2 - 3 ทุ่ม แต่ละคุ้มวัดก็จะเวียนกันไปทอดถวายต้นกัลปพฤกษ์ตามวัดต่างๆ จนครบทุกวัด โดยวิธีเดินเท้าพร้อมเครื่องดนตรี กลองเลงประโคมไปด้วยสนุกสนานมากเป็นอันว่าเสร็จพิธีกรรมบุญข้าวสากของปีนั้น

คำว่า พาข้าว หมายถึง สำรับอาหาร

วัน เวลา ไหลเรือไฟ (บูซาไพ)

ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ชาวโย้ยเรียกว่า มื่อโฮมภาคกลางวัน วัยหนุ่ม- สาวชาวโย้ยจะมีกิจกรรมที่สร้างความสามัคคีและควาสนุกสนาน ร่วมกัน คือ การแข่งขันเรือพายในลำน้ำยาม เรือที่ใช้ในการแข่งขันจุคนได้แต่ละลำไม่เกิน 10 คน มีคนหนึ่งตีกลองเป็นจังหวะการพาย แข่งขันกันระหว่างคุ้มวัด วัดใดชนะก็ได้รับคำชมเชยมีรางวัลให้ คือ เหล่าโท (สาโท) แข่งขันกันเสร็จก็พากันกลับบ้านเรือน เพื่อเตรียมไปชมเรือไฟหรือไปร่วมไหลเรือไฟในภาคกลางคืน

ภาคกลางคืน พระภิกษุ สามเณร หลังจากสวดมนต์เย็น(ทำวัตรเย็น) เสร็จ เตรียมอุปกรณ์ เรือไฟไปที่ท่าน้ำ ผู้เฒ่าผู้แก่ คนหนุ่ม ชาวคุ้มวัดต่างก็พากันไปประดับตกแต่งเรือไฟคุ้มวัดของตนเอง เครื่องประดับตกแต่งบนเรือไฟ ประกอบด้วย ก้านจู้ ก้านกล้วย ต้นอ้อย กิ่งไผ่เพื่อแขวนกล้วย ขนม ข้าวต้ม เหมือนต้นกัลปพฤกษ์ บั้งไพมีบั้งไพหาง บั้งไพตะไล (บั้งไพกง) บั้งไพนกขุ่ม เตรียมอุปกรณ์ลงเรือไปที่ท่าน้ำวัดเหนือ (วัดจอมแจ้งในปัจจุบัน บริเวณปากอุปคุต เครื่องดนตรี ประโคมหรือกลองเลง) พอถึงเวลา 19.00 น. ก็เริ่มทำพิธีปล่อยแม่วอง ผู้เป็นผู้เชิญก็จะกล่าวเพื่อขอ ขมาแม่คงคาและอัญเชิญผีเงือกทั้งหลายให้กลับไปยังแม่น้ำสายใหญ่ ซึ่งต่อไปลำน้ำสายนี้ก็จะแห้งลง เมื่อกล่าวเสร็จปล่อยแม่วองให้ไหลลง แล้วตามด้วยเรือไฟของคุ้มวัดทั้ง 6 คุ้มวัด ในบางปี 2 วัด ร่วมกันทำเรือไฟ 1 ลำก็มี เนื่องจากไม่มีการประกวด ไม่มีรางวัล เมื่อเรือไฟลำสุดท้ายไหลเรือลงมาเสร็จ ชาวบ้านที่มาชมก็พากันเดินทางกลับบ้านเรือนโดยไม่มีมหรสพคบงันแต่อย่างใด

ประเพณีไหลเรือไฟของพี่น้องชาวลาว

จากการสืบค้นตามข้อมูลปูมิบ้านอากาศชาวอากาศอำนวย อพยพมาจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงคือ มาจากบ้านฮ่อมท้าวฮูเซ ในลักษณะการตั้งบ้านเรือนหรือหมู่บ้านมักจะตั้งอยู่ใกล้ลำน้ำ หรือแม่น้ำและได้ใช้ประโยชน์จากลำน้ำนั้น ทั้งการอุปโภค บริโภค บรรพบุรุษจึงได้นำเอาประเพณีดั้งเดิมจากถิ่นฐานเดิมที่อพยพมา โดยทั่วไปแล้วคนทั้งหลายในสมัยบรรพบุรุษ มีความเชื่อตรงกันว่าในน้ำจะมี ผีน้ำ คือ ผีเงือก ผีงู ที่ขึ้นมากับสายน้ำในฤดูน้ำหลาก ประกอบกับความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาที่ต้องการลอยประทีป เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทในแม่น้ำนัมมะทาการไหลเรือไฟของอำเภออากาศอำนวย ได้รับอิทธิพลหรือประเพณีของชุมชนลุ่มน้ำเซบ้องไฟของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แต่การไหลเรือไฟของลุ่มน้ำเซบ้องไฟ นิยมกระทำกันปีละ 2 ครั้ง คือ เดือน 9 ดับ (วันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 หรือบุญข้าวประดับดิน) บุญเดือน 10(วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ) คือบุญข้าวสากหรือสลากภัตต์ ที่ปฏิบัติกันก็คือ ในตอนบ่ายของวันดังกล่าวชาวบ้านส่วนหนึ่งจะนำต้นกล้วยไปทำเป็นแพลอยน้ำไว้ อีกส่วนหนึ่งจะนำเรือไฟหามแห่ไปตามคุ้มบ้านต่าง ๆ แล้วชาวบ้านจะนำ ข้าวต้ม กล้วย อ้อย พริก เกลือ ปลาแดก (ปลาร้า) ห่อด้วยใบตอง

แล้วนำมาแขวนใส่เรือไฟ เรียกว่า เครื่องกียาบูชา พอตอนค่ำจะแห่เรือไฟลงไปใส่แพต้นกล้วยที่เตรียมไว้ ใช้เรือ 2 ลำ ขนาบข้าง แล้วตีกลองแห่ไหลส่งไปตามน้ำเซ จนพ้นเขตบ้าน จึงพากันพายเรือกลับ ถือว่าเป็นการไหลเรือไฟเพื่อบูชา

ประเภทของเรือไฟ

เรือไฟ มี 2 ประเภท

1. เรือไฟน้ำ กระทำในบุญเดือน 9 และบุญเดือน 10

2. เรือไฟบก กระทำในวันออกพรรษา

ส่วนมากทำเป็นห้านหรือเป็นร้านไว้วางดอกไม้ ธูป เทียน บางวัดเอาเรือไฟเก่าที่ไหลเสร็จแล้วในเดือน 9 เดือน 10 มาวางไว้ที่ข้างอุโบสถ ใช้ผลมะตูมกามาผ่าแล้วเอาเนื้อในออกให้หมด

----------------------------------

คำว่า ห้าน (ภาษาโย้ย) หมายถึง แคร่ หรือ ชั้นที่ยกสูงขึ้นกว่าพื้น ไทยกลางว่า ร้าน

คำว่า มื่อโฮม (ภาษาโย้ย) หมายถึง วันรวมบุญ

คำว่า ก้านจู้ หมายถึง การนำเศษผ้าชุบน้ำมันยาง หรือน้ำมันโซล่าต้มผสมน้ำผึ้ง

แล้วนำมาพันกับแท่งไม้

คำว่า แม่วอง หมายถึง การนำท่อนกล้วยมาต่อกันเป็นแพขนาดเล็ก แล้วเสียบก้านจู้ 4 อัน )

คำว่า เหล่าโท (ภาษาโย้ย) หมายถึง สาโท

นำฝ้ายมาฟั่นเหมือนตีนกาไปตั้งใส่เรือไฟแล้วนำน้ำมันหมากกระเบาหรือขี้ผึ้งต้มให้เหลว แล้วนำมาเทใส่ผลมะตูมกานั้น (ใช้แทนก้านจู้) เพื่อเป็นการบูชานางพรหมกา เสวยชาติเป็นกาเผือก ซึ่งเคยเป็นแม่ของพระพุทธเจ้าในภัทรกัลป์นี้

รูปทรงของเรือไฟดั้งเดิม

เรือไฟทุกคุ้มวัดหรือเมืองลุ่มน้ำเซบ้องไฟของประเทศลาว จะทำรูปทรงเดียวกันทั้งหมด คือตัวเรือไฟจะทำด้วยไม้ไผ่ที่ผ่าเป็นไม้พาก ใช้ตอกไม้ไผ่มัดมีลักษณะเป็นรูปเรือ คือ ช่วงกลางจะกว้างส่วนช่วงปลายทั้ง 2 ข้างแหลม ชั้นล่างเป็นแพต้นกล้วย ความยาวของลำเรือประมาณ 4 - 5 เมตร


คนแสดงบนเรือไฟ

คนแสดงหรือคนรำบนเรือไฟ จะมีเพียงคนเดียว เป็นชายไม่สวมเสื้อ ใส่ผ้าเตี่ยว(ผ้าขาวม้าเหน็บเตี่ยว) มีความเชื่อว่าผีเงือกชอบผู้เต้นรำบนเรือไฟก็จะเต้นตามจังหวะเสียงดนตรีกลองเลงคนดูก็สนุกสนานชอบใจไปด้วย

ประเพณีการไหลเรือไฟของชาวโย้ยบ้านอากาศในปัจจุบัน

ปัจจุบันประเพณีบุญเดือนสิบไหลเรือไฟ ถือเป็นประเพณีที่สำคัญและเชิดหน้าชูตา

ของชาวบ้านอากาศก็ว่าได้ ลูกหลานชาวบ้านอากาศที่อยู่ใกล้หรือไกลไปทำงานกรุงเทพ ฯ เมื่อถึงวันเพ็ญ เดือน 10 ก็จะพากันเดินทางกลับบ้านเพื่อมาชมการแข่งขันการไหลเรือไฟ หรือใครที่มีญาติพี่น้องที่อยู่ไกลก็ชวนกันมาเพื่อมาร่วมประเพณี ใครที่เคยได้มาเที่ยว พอถึงวันงานก็จะพากันมาชมมิได้

ขาดทุกปี

เมื่อประมาณสิบกว่าปีที่ผ่านมาบ้านเมืองเจริญมากขึ้น ผู้คนก็มากขึ้นการคมนาคมสะดวกสบาย

ขึ้น ประชาชนไปไหนมาไหนได้สะดวก ประเพณีการไหลเรือไฟ จึงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัย คือภาคกลางวัน ก็จะจัดแข่งเรือพาย ซึ่งแต่ก่อนมีเฉพาะชาวคุ้มวัดในบ้านอากาศเท่านั้น จึงใช้เวลาเพียง 1 วัน ต่อมาเพื่อให้งานยิ่งใหญ่ขึ้น ก็จัดเป็น 2 วันในการแข่งขันเรือพาย ขนาดของเรือก็ใหญ่ขึ้นด้วยจุคนได้ 30 - 40 คน มีรางวัลเป็นเงิน เป็นถ้วยรางวัล เป็นเสื้อทีม เป็นต้น และมีหมู่บ้านทั้งต่างอำเภอต่างจังหวัดมาร่วมแข่งขันด้วยก็มี ภาคกลางคืน มีการประกวดไหลเรือไฟของ 6 คุ้มวัด ซึ่งจะมีเงินสนับสนุนคุ้มวัดในการจัดทำเรือไฟจากสุขาภิบาล จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และต่อมาได้จากสำนักงานเทศบาลตำบล

อากาศอำนวย เมื่อประกวดเสร็จก็จะมีรางวัลเป็นถ้วยรางวัล เป็นเงินรางวัลมากน้อยตามแต่งบประมาณ


มหรสพคบงัน จะมีมหรสพคบงันหลายคืน เช่น ดนตรี หมอลำ การประกวดภูมิปัญญาชาวบ้าน การประกวดสาวงามลุ่มน้ำยาม การประกวดสาวประเภทสอง มีชิงช้า ม้าหมุน ต่าง ๆเมื่อชมการไหลเรือไฟเสร็จก็จะไปนั่งชมดนตรี ชมการประกวด เป็นต้น แล้วเดินทางกลับบ้านรูปลักษณะของเรือไฟยังคงมีเค้าโครงเดิมแต่จะเปลี่ยนที่รูปทรง เช่น การทำเป็นวิถีชีวิตการทำเป็นรูปเจดีย์ รูปวัด ตามความคิดสร้างสรรค์ของชาวคุ้ม แต่ยังคงมีก้านจู้เครื่องประดับบางอย่าง ที่ยังคงเหมือนเดิม แต่บางวัดก็ยังใช้รูปแบบเดิมอยู่ก็มี ซึ่งเป็นการสร้างความสามัคคี

ของประชาชนในคุ้มและได้รับความสนุกสนานด้วย


พิธีก่อนไหลเฮือไพไทโย้ย

จุดเทียน 3 เล่ม จุดธูป 16 ก้าน แล้วปฏิบัติดังนี้

1. ไหว้พระ

2. ยกขัน 5 ขึ้น คณะร่วมจุดเทียน คนละเล่ม

3. ผู้นำกล่าว

4. นะโม 3 จบ

5. กล่าวคำสักเคเทวดา พระอินทร์ พรหม ยมโลก ว่า

“ สักเค กาเม จะ รูเป สาธุ สาธุ ฝูงผู้ข้าขอคารวะกราบก้มพนมมือ ยึดถือขอพรจากปวงทวยเทพทั้งหลายเบื้องบนสุด อันมีองค์พระยาพรหมโลกผู้เป็นใหญ่ เป็นที่เพิ่งในกาละบัดนี้ ฝูงผู้ข้าขออัญเชิญทวยเทพทั้งหลายเซิ่งเนาว์อยู่ในเขต ทั้ง 10 ทิศะมณฑล ทั้งเบื้องบนและเบื้องล่าง จงมาชมแท่นไฟอันประเสริฐ แสดงเจิดจ้าฮุ่งเฮือง และฮับผลบวงสรวง เซ่นไหว้ มีผลผะลาหมากไม้นาๆ ล้วนแต่ของหอมหวาน ๆ ชมชื่น เรือไฟจะก้านจะใต้ แล้วฝูงข้า ขออัญเชิญเจ้าของฮ่องน้ำทั้งหลายได้ล่องไหลย้ายครัว ลงไปอยู่เนาว์ยังฮ่อมปากกะดิ่ง และหลี่ฝีสู่ทะเท พุ้นเยอ ส่วนองค์ทวยเทพทั้งหลาย ฝูงข้าขออาราธานา จงได้สถิตเนาว์อยู่ฮักษาปวงประชาเมืองบ้าน จงฮุ้งเฮืองสืบไปแลชะยะมังคะละ สู้ปี ๆ แต่ฝูงข้าเทอญ

เสร็จแล้วเสียงเครื่องประโคม ฆ้อง กลอง ฉิ่ง ฉาบ จุดพลุ บั้งไฟ เริ่มบรรเลงและ

ปล่อยเรือไฟไหลน้ำไป ตอนนี้ความสนุกสนานเริ่มทวีขึ้น หมอลำขึ้นแท่นรำเต้นจังหวะถวายนางเงือกสอดผ้ากะเตี่ยว เต้นจังหวะลำโทน เด้งหน้า เด้งหลัง คล้ายผ้าจะหลุดลุ่ยไปเรื่อย ๆ คนเต้นรำต้องใส่

มงคลครอบหัวเป็นสีแดง เรือไฟจะไหลลงมาเรื่อย ๆ ถึงท่าวัดกลางพระแก้ว

--------------------------------

ผู้รวบรวมและเรียบเรียง - พระครูพิมลธรรมนิเทศก์ (เจ้าอาวาสวัดทุ่ง ) พ.ศ.2548

- นางรัญจวน กุลอัก อายุ 42 ปี อยู่บ้านเลขที่ 70 หมู่ที่ 2

ตำบลอากาศ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร