หัวเรื่องที่ 3.1 ลักษณะของภาพกราฟิกแต่ละชนิด เวลา 15 นาที

การสร้างภาพกราฟิกใน Flash มี 2 วิธี วิธีแรกคือการใช้เครื่องมือ Flash และวิธีที่ 2 คือการนำเข้าภาพจากภายนอก อาจเป็นภาพถ่ายหรือภาพที่สร้างจากโปรแกรมกราฟิกอื่นก็ได้ ในหน่วยนี้จะกล่าวถึงการสร้างภาพกราฟิกด้วยวิธีแรก คือ การวาดรูปจากเครื่องมือ Flash ขึ้นมาเอง ก่อนที่จะลงมือวาดต้องรู้จักชนิดภาพกราฟิกแต่ละชนิด

เราสามารถแบ่งภาพกราฟิกได้ 2 ประเภทคือ

1.ภาพกราฟิกชนิดบิทแมป (Bitmap)

เป็นภาพแบบ Resolution Dependent ประกอบ ขึ้นด้วยจุดสีต่างๆที่มีจำนวนคงที่ตายตัวตามการสร้างภาพที่มี Resolution หรือความละเอียดของภาพต่างกันไป หากขยายภาพ Bitmap จะเห็นว่ามีลักษณะเป็นตารางเล็กๆ ซึ่งแต่ละบิตคือส่วนหนึ่งของข้อมูลคอมพิวเตอร์

ภาพแบบ Bitmap เหมาะสำหรับงานกราฟิกที่ให้แสงเงาในรายละเอียด เป็นไฟล์ที่เหมาะกับการทำงานกับภาพเหมือนจริงประเภทภาพถ่าย เพราะ Bitmap มี Channel พิเศษ เรียกว่า Alpha Channel ซึ่งเป็น 32 bit คือ สีสมจริง

ข้อดี ภาพชนิดนี่สามารถแสดงรายละเอียดได้ใกล้เคียงภาพจริง เช่นภาพถ่ายที่มีรายละเอียดสูง เพราะเป็นการใช้พิกเซลจำนวนมากมา ประกอบกัน

ข้อเสีย ภาพชนิดนี่จะมีขนาดใหญ่ตามความละเอียดภาพ เพราะต้องใช้จำนวนพิกเซลเพิ่มขึ้นตาม นอกจากนั้นการนำภาพมาขยายให้ใหญ่กว่าขนาดปกติจะทำให้ภาพที่ได้ไม่ชัดเจน

2.ภาพกราฟิกชนิดเวกเตอร์ (Vector)

เป็นภาพประเภท Resolution-Independent มีลักษณะของการสร้างให้แต่ละส่วนเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง รูปทรงหรือส่วน เป็นการรวมเอา Object ต่างชนิดมาผสมกัน มีทิศทางการลากเส้นไปในแนวต่างๆ เพื่อสร้างภาพที่แตกต่างกันโดยใช้คำสั่งง่ายๆ จึงเรียกภาพประเภทนี้ว่า Vector Graphic

ลักษณะเด่นคือ สามารถยืดหรือหดภาพเท่าใดก็ได้ โดยที่ภาพจะไม่แตก ความละเอียดของภาพไม่เปลี่ยนแปลง และไฟล์มีขนาดเล็กกว่าภาพ Bitmap ไฟล์รูปภาพแบบ Vector ในระบบวินโดวส์คือ ไฟล์ที่มีนามสกุล .EPD, .WMF, .CDR, .AI, .CGM, .DRW, .PLT เป็นต้น โดยมีโปรแกรม CorelDraw เป็นโปรแกรมสร้าง

ข้อดี ภาพชนิดนี้ปรับหรือย่อขนาดได้ตามที่ต้องการ โดยไม่มีผลต่อความละเอียดของภาพเพราะไม่ว่าภาพจะเล็กหรือใหญ่ ความคมชัดก็ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะคอมพิวเตอร์จะสร้างภาพขึ้นมาโดยใช้วิธีคำนวณ ซึ่งไม่ได้ถูกจำกัดด้วยพิกเซลในภาพว่ามีมากน้อยเพียงใด นอกจากนั้นภาพชนิดเว็กเตอร์มีขนาดไฟล์เล็กกว่าบิตแมปเพราะไม่ได้ใช้พิกเซลจำนวนมากมาสร้างเป็นภาพ แต่มีเพียงคำสั่งสร้างลวดลายเพื่อประกอบเป็นภาพเท่านั้น

ข้อเสีย เนื่องมาจากลักษณะของภาพที่สร้างจากการใช้คอมพิวเตอร์สร้างเส้นและรูปทรงมาประกอบกัน ภาพชนิดนี้จึงมีข้อจำกัดในการแสดงภาพถ่าย แต่เหมาะกับภาพกราฟิกแนวลายเส้น ที่มีสีค่อนข้างต่อเนื่องเท่านั้นเริ่มต้นการวาดรูปโดยใช้เครื่องมือใน Flash

การเลือกใช้ภาพขึ้นมาใช้งานก็มีความจำเป็นต้องดูความเหมาะสมกับลักษณะการใช้งานเพราะภาพแต่ละชนิดมีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น ภาพแบบ Bitmap เป็นไฟล์ที่เหมาะกับการทำงานกับภาพเหมือนจริงประเภทภาพถ่าย ภาพกราฟิกชนิดเวกเตอร์ (Vector) สามารถยืดหรือหดภาพเท่าใดก็ได้ โดยที่ภาพจะไม่แตก ความละเอียดของภาพไม่เปลี่ยนแปลง


กิจกรรมที่ 3.1 ลักษณะของภาพกราฟิกแต่ละชนิด

10 คะแนน

เวลา 5 นาที

ใบงานที่ 3.1 เรื่อง ลักษณะของภาพกราฟิกแต่ละชนิด

แนวการตอบคำถาม

ลักษณะของภาพกราฟิกแต่ละชนิด

1.ภาพกราฟิกชนิดบิทแมป (Bitmap) มีลักษณะ เป็นตารางเล็กๆ ซึ่งแต่ละบิตคือส่วนหนึ่งของข้อมูลคอมพิวเตอร์...