คำแนะนำสำหรับครู

รายวิชา การออกแบบและผลิตภาพเคลื่อนไหว รหัสวิชา ง30202 สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นรายวิชาเพิ่มเติมของ

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนหนองฉางวิทยา อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี

คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม

รายวิชา การออกแบบและผลิตภาพเคลื่อนไหว รหัสวิชา ง30202 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 เวลา 40 ชั่วโมง / ภาคเรียน จำนวน 1.0 หน่วยกิต

ศึกษาความหมาย ประเภทและรูปแบบของแอนนิเมชั่น องค์ประกอบ ขั้นตอนการทำงานการใช้เครื่องมือต่างๆของโปรแกรม Adobe Flash Professional CS6 ลักษณะของภาพกราฟิก การใช้เครื่องมือวาด ลงสีและปรับแต่ง ความหมายวิธีการสร้างภาพเคลื่อนไหวรูปแบบต่างๆ วิธีการใช้ ซิมโบล และ อินสแตนซ์ประเภทของเสียง วิธีการปรับแต่งเสียง และวิธีการบีบอัดข้อมูลเสียง

เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้เครื่องมือต่างๆและใช้งานโปรแกรม Adobe Flash Professional CS6 การติดตั้งโปรแกรม การสร้างงานแอนิเมชั่นด้วยโปรแกรม Adobe Flash การวาดรูปและการลงสี การจัดการออบเจ็กต์ ซิมโบลและอินสแตนซ์ การนำเข้าภาพกราฟิกจากภายนอก การนำเข้าไฟล์วีดีโอ เข้าใจพื้นฐานการสร้างงานแอนิเมชั่น การสร้างงานแอนิเมชั่น มูฟวี่คลิปและปุ่มกด การทำงานกับไฟล์เสียง เทคนิคการตกแต่ง ออบเจ็กต์ สร้างชิ้นงานโต้ตอบกับผู้ใช้ การเผยแพร่ชิ้นงานที่สร้างสรรค์

มีความตระหนักและมีเจตคติที่ดีในการผลิต นำเสนอและเผยแพร่ผลงานที่ดีและมีคุณค่า เห็นคุณค่าและมีคุณธรรมจริยธรรมในการใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อศึกษาหาความรู้และการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ผลการเรียนรู้

1. สามารถอธิบายความหมาย ประเภทและรูปแบบของแอนนิเมชั่นได้

2. อธิบายความหมาย องค์ประกอบ และสามารถติดตั้งโปรแกรม Adobe Flash Professional CS6

3. อธิบายการใช้งาน การจัดรูปแบบ Workspace และสามารถใช้งานโปรแกรม Adobe Flash Professional CS6 ได้

4. อธิบายลักษณะของภาพกราฟิกแต่ละชนิด การใช้เครื่องมือ สามารถวาด ลงสี นำเข้าภาพกราฟิก และปรับแต่งและจัดการเกี่ยวกับรูปภาพได้

5. อธิบายความหมายการสร้างภาพเคลื่อนไหว เครื่องมือและสามารถสร้างภาพเคลื่อนไหวรูปแบบต่างๆได้

6. อธิบายความหมาย วิธีการสร้างและสามารถสร้าง Symbol และ Instance ได้

7. อธิบายประเภทของเสียง วิธีการปรับแต่งเสียง สามารถนำเสียงเข้ามาใช้ประกอบชิ้นงานได้

8. อธิบายคำสั่งพื้นฐานในการสร้างงานที่โต้ตอบกับผู้ใช้ และสามารถเขียนคำสั่งโดยใช้ ActionScript ได้

9. มีความตระหนักและมีเจตคติที่ดีในการผลิต นำเสนอและเผยแพร่ผลงานที่ดีและมีคุณค่า

10.เห็นคุณค่าและมีคุณธรรมจริยธรรมในการใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อศึกษาหาความรู้และการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

รวม 10 ผลการเรียนรู้

โครงสร้างรายวิชา การออกแบบและผลิตภาพเคลื่อนไหว รหัสวิชา ง30202

อัตราส่วนคะแนนระหว่างเรียนกับปลายภาค 80 : 20

โครงสร้างรายวิชา การออกแบบและผลิตภาพเคลื่อนไหว.pdf

เนื้อหาบทเรียนออนไลน์

บทเรียนออนไลน์ เรื่อง การใช้โปรแกรม Adobe Flash Profressional CS6 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 12 หน่วยการเรียนรู้ ประกอบไปด้วย

หน่วยที่ 1 เรื่อง ทำความรู้จักกับโปรแกรม Adobe Flash Professional CS6

หน่วยที่ 2 เรื่อง การใช้งานของโปรแกรม Adobe Flash Professional CS6

หน่วยที่ 3 เรื่อง รู้จักชนิดของภาพกราฟิก และเริ่มต้นการวาดรูปโดยใช้เครื่องมือFlash

หน่วยที่ 4 เรื่อง การจัดการออบเจ็กต์

หน่วยที่ 5 เรื่อง การนำเข้าภาพกราฟิกจากภายนอก

หน่วยที่ 6 เรื่อง การสร้างภาพเคลื่อนไหว Frame by Frame

หน่วยที่ 7 เรื่อง การสร้างภาพเคลื่อนไหว Shape Tween

หน่วยที่ 8 เรื่อง การสร้างภาพเคลื่อนไหว Motion Tween

หน่วยที่ 9 เรื่อง การสร้างภาพเคลื่อนไหว Classic Tween

หน่วยที่ 10 เรื่อง การสร้างภาพเคลื่อนไหว Mask Layer

หน่วยที่ 11 เรื่อง การใช้ซิมโบลและอินสแตนซ์

หน่วยที่ 12 เรื่อง การใช้เสียงเข้ามาใช้ประกอบชิ้นงาน

ส่วนประกอบของบทเรียนออนไลน์

ส่วนประกอบต่าง ๆ ของบทเรียนออนไลน์ การใช้โปรแกรม Adobe Flash Profressional CS6 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

1. ส่วนหัวเว็บไซต์ เป็นส่วนที่แสดงชื่อของเว็บไซต์ของบทเรียนออนไลน์

2. ส่วนเมนูหลัก ประกอบด้วยเมนูต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

2.1. เมนูหน้าแรก แสดงหน้าแรกของบทเรียนออนไลน์

2.2. เมนูคำแนะนำสำหรับครู เป็นส่วนที่อธิบายหรือแนะนำการใช้บทเรียนออนไลน์ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนสำหรับครู

2.3. เมนูคำแนะนำสำหรับนักเรียน เป็นส่วนที่อธิบายหรือแนะนำการเรียนบทเรียนออนไลน์ เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนบทเรียนสำหรับนักเรียน

2.4. เมนูมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นส่วนที่แสดงมาตรฐานการเรียนรู้ของบทเรียนออนไลน์

2.5. เมนูคำอธิบายรายวิชา เป็นส่วนที่แสดงคำอธิบายรายวิชาของบทเรียนออนไลน์

2.6. เมนูผลการเรียนรู้ เป็นส่วนที่แสดงผลการเรียนรู้ของบทเรียนออนไลน์

2.7. เมนูเนื้อหาบทเรียน เป็นส่วนที่แสดงเมนูของหน่วยการเรียนรู้ตามลำดับการเรียนรู้

2.8. เมนูคำถามที่พบบ่อย เป็นส่วนที่แสดงคำถามหรือข้อสงสัยที่พบบ่อยในการจัดการเรียนการสอน ช่วยให้นักเรียนได้รับคำตอบตาม

ต้องการได้รวดเร็ว และเป็นการช่วยแก้ปัญหาหรืออุปสรรคสำหรับการจัดการเรียนรู้

2.9. เมนูผังเว็บไซต์ แสดงโครงสร้างเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องและมีความสัมพันธ์กันตามลำดับหน่วยการเรียนรู้และหัวเรื่องการเรียนรู้

2.10. เมนูผู้จัดทำ แสดงข้อมูลของผู้พัฒนาระบบและข้อมูลการติดต่อกับผู้พัฒนาระบบ

3. ส่วนท้ายเว็บไซต์ เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงข้อมูลของบทเรียนออนไลน์ และผู้พัฒนาระบบ

การเตรียมการใช้บทเรียน

1. ขั้นเตรียมการก่อนการใช้บทเรียนออนไลน์

1.1. ศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้อย่างละเอียด และปฏิบัติตามแผนการจัดการเรียนรู้ให้ถูกต้องตามลำดับ

1.2. ศึกษาค้นคว้าและอ่านเนื้อหาที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

1.3. ครูต้องมีความรู้ความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเป็นอย่างดี

1.4. ศึกษาวิธีการและขั้นตอนการใช้บทเรียนออนไลน์อย่างละเอียดก่อนที่จะใช้ในการจัดการเรียนการสอน

1.5. จัดเตรียมและทดลองใช้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ระบุในแผนการจัดการเรียนรู้ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน และให้พอเพียงกับจำนวนนักเรียน

2. ขั้นเตรียมการระหว่างดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

2.1. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน

2.2. ให้นักเรียนเข้าเรียนบทเรียนในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ตามลำดับ โดยปฏิบัติดังนี้

2.2.1. อ่านรายละเอียดของหน่วยการเรียนรู้ แล้วจึงเข้าสู่เนื้อหาบทเรียน

2.2.2. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน ตอนที่ 1 ภาคทฤษฎี

2.2.3. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน ตอนที่ 2 ภาคปฏิบัติ

2.2.4. เข้าเรียนและศึกษาเนื้อหาในแต่ละหัวเรื่องการเรียนรู้ตามลำดับ

2.2.5. ศึกษาเพิ่มเติมโดยการชมวิดีโอสาธิต(ในหัวเรื่องที่มีเมนู “ชมวิดีโอสาธิต”)

2.2.6. ปฏิบัติใบงาน และเมื่อทำเสร็จแล้วให้ส่งใบงาน(ศึกษาวิธีการส่งใบงานจากหัวข้อการส่งงาน)

2.2.7. ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตอนที่ 1 ภาคทฤษฎี

2.2.8. ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตอนที่ 2 ภาคปฏิบัติ

2.3. ให้นักเรียนศึกษาบทเรียนและปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ให้ครบทั้ง 12 หน่วยการเรียนรู้

2.4. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน

บทบาทของครูและนักเรียน

1. ครูผู้สอน

ครูจะต้องเปลี่ยนจากผู้ให้ความรู้ตลอดเวลามาเป็นผู้ที่มีบทบาท ดังต่อไปนี้

1.1. กำกับการเรียนรู้ โดยให้นักเรียนเป็นผู้แสดงและปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองตามที่กำหนดในแผนการจัดการเรียนรู้

1.2. คอยประสานงานช่วยเหลือและคอยชี้แนะ แนะนำในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้

1.3. สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคนขณะที่ปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้

2. นักเรียน

นักเรียนจะต้องเป็นผู้ศึกษาบทเรียนออนไลน์และลงมือปฏิบัติตามกิจกรรมต่าง ๆ ในบทเรียนด้วยตนเอง โดยมีข้อปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

2.1. ต้องมีทักษะพื้นฐานในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น

2.2. ศึกษาเนื้อหาจากบทเรียนออนไลน์ในแต่ละกิจกรรมการเรียนรู้อย่างตั้งใจ

2.3. นักเรียนต้องปฏิบัติใบงาน และเมื่อทำเสร็จแล้วต้องส่งใบงาน

2.4. ศึกษาเพิ่มเติมจากวิดีโอสาธิต ที่มีในหัวเรื่องนั้น ๆ

2.5. ทำแบบทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติด้วยความตั้งใจ


สิ่งที่ครูและนักเรียนต้องเตรียม

1. ครูผู้สอน

ครูจะต้องเตรียมอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ให้เพียงพอต่อการใช้งานตามจำนวนนักเรียน และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเรียน

บทเรียนออนไลน์ควรมีคุณสมบัติ ดังนี้

1.1. ซีพียู : Intel Core Duo ความเร็ว 1.83 GHz หรือสูงกว่า

1.2. ระบบปฏิบัติการ : Microsoft Windows XP หรือใหม่กว่า

1.3. หน่วยความจำ : 2 GB หรือสูงกว่า

1.4. จอภาพ : ความละเอียดตั้งแต่ 1,024 x 768 หรือสูงกว่า

1.5. Flash Player : Version 8 หรือสูงกว่า

1.6. Internet : 1 Mbps หรือสูงกว่า

2. นักเรียน

ในการเข้าเรียนบทเรียนออนไลน์ นักเรียนจะมีการเตรียมตัว ดังต่อไปนี้

2.1. มีอีเมล์เป็นของตนเอง เพื่อใช้ในการส่งงาน

2.2. ดาวน์โหลด "คู่มือการใช้บทเรียนออนไลน์" เพื่อศึกษาการเข้าใช้งานบทเรียนออนไลน์

2.3. มีอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูล เช่น DVD , Flash Drive , External Hard disk เป็นต้น

2.4. มีอุปกรณ์ทางการเรียน เช่น ดินสอ ปากกา สมุดรายวิชา การออกแบบและผลิตภาพเคลื่อนไหว

2.5. ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และสัญญาณอินเทอร์เน็ต