ปรากฏการณ์สุริยุปราคา หรือสุริยคราส

สุริยุปราคา กับตำนานความเชื่อ

ตำนานความเชื่อเรื่อง สุริยุปราคา ในอดีตมนุษย์นึกถึงสัญญาณของลางร้าย เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นกับพระอาทิตย์ คือดวงกลมๆ ค่อยๆ แหว่งราวกับถูกสัตว์ร้ายกัดกิน เป็นความเชื่อที่ ทีมงานนิตยสารต่วย’ตูน คอลัมน์ซันเดย์ สเปเชียล หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เคยเขียนรายงานไว้เมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2560 โดยสรุปตำนานความเชื่อสุริยุปราคาในแต่ละพื้นที่ แต่ละประเทศ ต่างมีเรื่องราวที่น่าสนใจ



ประเทศไทย

เชื่อว่าปรากฏการณ์นี้คือพระราหูอมพระอาทิตย์ หรือพระจันทร์ เพื่อแก้แค้นที่ราหูถูกจับได้ ตอนปลอมตัวไปร่วมกินน้ำทิพย์ ที่เกิดจากการกวนเกษียรสมุทร และถูกพระนารายณ์ขว้างจักรใส่จนตัวเหลือครึ่งท่อน ตั้งแต่ในอดีตเมื่อเกิดสุริยุปราคา จึงมีการช่วยกันตีเกราะเคาะไม้ ส่งเสียงดังก็เพื่อขับไล่ “ราหู” ให้คายดวงอาทิตย์ออกมานั่นเอง


สุริยุปราคา กับความจริงทางวิทยาศาสตร์

สุริยุปราคา หรือสุริยคราส เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาเรียงอยู่ในแนวเดียวกัน โดยมีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ดวงจันทร์มีดิถีตรงกับจันทร์ดับ เมื่อสังเกตจากพื้นโลกจะเห็นดวงจันทร์เคลื่อนเข้ามาบดบังดวงอาทิตย์ โดยอาจบังมิดหมดทั้งดวงหรือบางส่วนก็ได้

ในแต่ละปีสามารถเกิดสุริยุปราคาบนโลกได้อย่างน้อย 2 ครั้ง สูงสุดไม่เกิน 5 ครั้ง ในจำนวนนี้อาจไม่มีสุริยุปราคาเต็มดวงเลยแม้แต่ครั้งเดียว หรืออย่างมากไม่เกิน 2 ครั้ง

อย่างไรก็ตามโอกาสที่จะได้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงสำหรับสถานที่ใดสถานที่หนึ่งบนพื้นโลกนั้นค่อนข้างยาก เนื่องจากสุริยุปราคาเต็มดวงแต่ละครั้งจะเกิดในบริเวณแคบๆ ภายในแถบที่เงามืดของดวงจันทร์พาดผ่านเท่านั้น

ทั้งนี้ สุริยุปราคามี 4 ชนิด ได้แก่


อ้างอิงข้อมูล: สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT), สมาคมดาราศาสตร์ไทย