เปลือกโลก
[ Earth's crust ]
เปลือกโลกภาคพื้นทวีป เป็นชั้นของหินอัคนี หินตะกอน หินแปรที่ก่อตัวขึ้นเป็นทวีปและไหล่ทวีป บางครั้งชั้นนี้ว่าชั้นไซอัลเพราะประกอบด้วยซิลิกาและอะลูมิเนียมเป็นจำนวนมาก เปลือกโลกภาคพื้นทวีปมีความหนาแน่นต่ำกว่าเปลือกโลกภาคพื้นสมุทร ชั้นไม่ต่อเนื่องของคอนราดเป็นชั้นระหว่างเปลือกโลกภาคพื้นทวีป (เปลือกโลกชั้นบน) และ เปลือกโลกภาคพื้นสมุทร (เปลือกโลกชั้นล่าง)[1] ทำให้สามารถวัดความลึกของแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปโดยตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงความเร็วของคลื่นไหวสะเทือน
เปลือกโลกภาคพื้นทวีปแบ่งออกเป็นหลายชั้น ส่วนมากประกอบหินประเภทอินเทอมีเดียท (SiO2 wt% = 60.6[2]) มีความหนาแน่นเฉลี่ยอยู่ที่ 2.83 กรัม/ซม.3 [3] หนาแน่นน้อยกว่าเปลือกโลกภาคพื้นสมุทรที่มีความหนาแน่นประมาณ 2.9 กรัม/ซม.3 และอัตราเมฟิกที่เป็นส่วนประกอบในเนื้อโลกที่มีความหนาแน่นประมาณ 3.3 กรัม/ซม.3 เปลือกโลกภาคพื้นทวีปมีความหนาอยู่ที่ 25–70 กิโลเมตร หนากว่าเปลือกโลกภาคพื้นสมุทรที่มีความหนาประมาณ 7–10 กิโลกเมตร ครอบคลุม 40% พื้นผิวโลก[4] และมีปริมาตรคิดเป็น 70% ของเปลือกโลกทั้งหมด[5]
เปลือกโลกภาคพื้นทวีปส่วนมากเป็นพื้นที่ดินเหนือระดับน้ำทะเล ยกเว้นแต่ทวีปซีแลนเดียที่จมอยู่ใต้มหาสมุทรแปซิฟิกกว่า 94%[6] โดยนิวซีแลนด์เป็นพื้นที่ 93% ของพื้นที่ ๆ อยู่เหนือผิวน้ำ
เเหล่งที่มา https://th.wikipedia.org
ด.ช.ณัฐดนัย คุณพรหม เลขที่21 ชั้นป.6/3 ชื่อเล่น เปา