เกราะโลก

                                  [ world armor ] 

หน้าที่โอโซนคือ เป็นตัวออกซิไดส์ (oxidizing agent) แรงที่สุดที่อนุญาตให้นำมาใช้ประโยชน์ ในปัจจุบัน โดยมีฤทธิ์สูงกว่าก๊าซคลอรีนถึง 51% และมีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ ได้เร็วกว่า 3.125 เท่าตัว โอโซนจะเข้าไปจับโมเลกุลของสารปนเปื้อน ทำการแยกย่อยสลายและแปรสภาพตัวเองกลับเป็นก๊าซออกซิเจนซึ่งไม่เป็นอันตราย หากอยู่ในชั้นบรรยากาศสตราโทสเฟียร์ (Stratosphere) โอโซนจะทำหน้าที่ป้องกันโลกจากรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ที่มาจากดวงอาทิตย์ ดูดซับพลังงานความร้อนจากรังสีอัลตราไวโอเลตที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ชั้นโอโซนถูกทำลายได้อย่างไร

ชั้นโอโซนถูกทำลาย ส่วนหนึ่งเกิดมาจากสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน(Chlorofluorocarbon) หรือโดยทั่วไปเรียกกันว่า “สารซีเอฟซี” (CFC) ที่ถูกสังเคราะห์ เพื่อใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมและระบบทำความเย็นต่าง ๆ เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ โฟมและสเปรย์ สารเคมีเหล่านี้หากลอยตัวขึ้นสูงสู่ชั้นสตราโตสเฟียร์ จะทำการดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลต และเกิดการแตกตัวทำปฏิกิริยาเกิดเป็นคลอรีนมอนอกไซด์ (ClO–) และก๊าซออกซิเจน (O2) ถือเป็นการทำลายการก่อตัวของโอโซนในธรรมชาติ

เมื่อชั้นโอโซนถูกทำลายจะเกิดช่องโหว่ของโอโซนในชั้นบรรยากาศ ส่งผลให้รังสี UV-B จากดวงอาทิตย์กระทบเข้ากับมนุษย์ในปริมาณที่สูงและเข้มข้นขึ้น ในระยะยาวสามารถก่อให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง ต้อกระจก และโรคที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน

พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่ชอบแสงแดดมากที่สุด เมื่อโอนโซนน้อยลงจนปริมาณรังสี UV ที่ลงมายังโลกมากขึ้น จะส่งผลกระทบต่อกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช อาจก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ ในพืชชั้นต่ำตระกูลแพลงก์ตอน สาหร่าย ไดอะตอม ยูกรีนอยด์ ส่วนพืชชั้นสูงจะลดการสังเคราะห์แสงลง โดยปิดปากใบทำให้วัตถุดิบไม่สามารถผ่านเข้าไปในใบได้ ส่งผลต่อการเจริญเติบโต ซึ่งอาจทำให้แหล่งอาหารในอนาคตขาดแคลน

  ด.ญ จารุพิชญา อินทร์ชัยศรี ป.6/3 เลขที่ 47 ชื่อเล่น พลอยใส

ที่มา https://www.google.com/search?q=เกราะโลก