ข้อปฏิบัติและแนวทางการนำเสนอวิชาปัญหาพิเศษ/การเตรียมความพร้อมโครงงานหรือปัญหาพิเศษ

การกำหนดตารางกำหนดการนำเสนอ

1. อาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชากำหนดตารางกำหนดการนำเสนอภายในสัปดาห์ที่ 2-3 ภายหลังจากเปิดภาคการศึกษา สำหรับ

· การนำเสนอหัวข้อโครงงานปัญหาพิเศษ หรือ mini project

· การนำเสนอผลการดำเนินงานบทที่ 3 (สำหรับรายวิชาเตรียมความพร้อมปัญหาพิเศษ)

· การนำเสนอผลการดำเนินงานบทที่ 3 (หรือ 4) และบทที่ 5 - mini project 100% (สำหรับรายวิชาเตรียมความพร้อมสหกิจศึกษา)

· การนำเสนอโครงงานปัญหาพิเศษสมบูรณ์ 100% (สำหรับรายวิชาปัญหาพิเศษ)

2. นิสิตจะทราบกำหนดการนำเสนอพร้อมกำหนดกรรมการสอบล่วงหน้า 1-2 สัปดาห์ ก่อนตารางกำหนดการนำเสนอ

แนวทางการยืนยันการขอนำเสนอ

  1. ข้อเสนอโครงงานผ่านการพิจารณา

  2. นิสิตที่ทำโครงงานส่งสมุดบันทึกการเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาต่ออาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชา

  3. นิสิตที่ทำโครงงานส่งแบบฟอร์มยืนยันการขอนำเสนอที่ลงนามโดยอาจารย์ที่ปรึกษา ต่ออาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชา

  4. นิสิตจะต้องยื่นแบบฟอร์มที่ลงนามยืนยันอนุมัติให้ขึ้นสอบโดยอาจารย์ที่ปรึกษา ต่ออาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชา ทั้งนี้ ภายในวันสิ้นสุดการถอนรายวิชาแบบติด W

การขอเลื่อนกำหนดการนำเสนอ

นิสิตสามารถทำการขอเลื่อนกำหนดการนำเสนอได้ ทั้งนี้ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้

1. กรณีที่คณะกรรมการสอบติดภารกิจเร่งด่วน

· นิสิตติดต่อแจ้งต่ออาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชา ก่อนวันกำหนดสอบ 1 สัปดาห์ ทั้งนี้จะยินยอมให้เลื่อนสอบได้ไม่เกิน 1 สัปดาห์นับจากกำหนดสอบตามตาราง

2. กรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วย หรือประสบอุบัติเหตุ ที่ไม่สามารถมานำเสนอตามกำหนดการได้

· นิสิตสามารถฝากเพื่อนแจ้งต่ออาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชา ก่อนวันกำหนดสอบทันทีภายหลังจากที่เกิดเหตุ ทั้งนี้การพิจารณาวันสอบจะพิจารณาต่อกรณีต่อไป

การเตรียมตัวในการนำเสนอ

ข้อกำหนดในการสอบโครงงานสำหรับนิสิต

    1. นิสิตควรเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน และนำเสนองานของตนเองให้อาจารย์ที่ปรึกษา ตรวจสอบความก้าวหน้าของโครงงานเป็นระยะ

    2. เมื่อใกล้ถึงระยะเวลาในการสอบโครงงาน แต่ยังอยู่ในช่วงที่สามารถถอนรายวิชาได้ ให้นิสิตประเมินโครงงานของตนเองว่าดำเนินการแล้วเสร็จถึงร้อยละ 80 ตามขอบเขตโครงงานหรือไม่ หากไม่ถึงร้อยละ 80 นิสิตควรปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานเพื่อขอคำแนะนำว่าสมควรสอบ หรือสมควรจะถอนรายวิชา

    3. หากนิสิตพบว่าตนเองไม่พร้อมที่จะสอบในตารางเวลาที่ทางภาควิชาประกาศไปแล้ว นิสิตควรจะถอนรายวิชา และดำเนินการให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาการขอถอนรายวิชาตามปฏิทินการศึกษาตามประกาศของมหาวิทยาลัย

หมายเหตุ: อาจารย์ผู้ประสานงานโครงงานจะไม่ลงลายมือชื่อเพื่ออนุมัติการถอนรายวิชาสำหรับนิสิตที่ต้องการถอนรายวิชาหลังจากที่เลยกำหนดระยะเวลาการถอนรายวิชาตามที่มหาวิทยาลัยประกาศ ยกเว้นกรณีที่เป็นเหตุสุดวิสัย และนิสิตต้องแนบเอกสารประกอบการพิจารณาคำร้องเพื่อนำเสนอต่อคณบดีมา เช่น ใบรับรองแพทย์ เอกสารราชการอื่น ๆ เอกสารบันทึกข้อความคำชี้แจงจากอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน เป็นต้น

4. หากนิสิตที่ไม่พร้อมสอบ ไม่ได้ดำเนินการถอนรายวิชาตามกำหนดการของมหาวิทยาลัย และเมื่ออาจารย์ผู้ประสานงานโครงงานประกาศตารางสอบเรียบร้อยแล้ว ภาควิชามีเกณฑ์การดำเนินการดังนี้

5. ☆ นิสิตที่ไม่สอบตามที่กำหนด นิสิตจะได้รับเกรดเป็น F

6. ☆ นิสิตที่สอบตามที่กำหนด นิสิตจะได้รับเกรดเป็น A-F

แนวปฏิบัติในการสอบโครงงาน

    1. พิมพ์แบบประเมินบทที่ 1-2 (อยู่ในหัวข้อ 6.2) และกรอก/พิมพ์ข้อมูลให้ครบ ยื่นให้กรรมการสอบในวันสอบ

    2. ส่งเอกสาร (จัดเรียงตามที่อาจารย์แจ้งไว้ตามข้อ 7) ให้กรรมการก่อนสอบ 3 วัน (จัดรูปแบบเอกสารตาม "คำแนะนำในการพิมพ์ปริญญานิพนธ์" ในหัวข้อที่ 8) ที่โต๊ะกรรมการสอบแต่ละท่าน

    3. แต่งกายชุดนิสิต มาถึงห้องสอบก่อนเวลาสอบ 30 นาทีเพื่อจัดเตรียมการนำเสนอ

    4. ☆☆ ถ้าสอบห้องประชุมเล็ก ให้นิสิตมานำโปรเจ็กเตอร์ที่ห้องพักอาจารย์ไปติดตั้ง และตั้งค่าจอภาพให้เรียบร้อยก่อนการสอบ

    5. เตรียมสไลด์เพื่อประกอบการนำเสนอ (เนื้อหาในสไลด์ควรกระชับ และนิสิตควรซ้อมการนำเสนอมาก่อน)

    6. เตรียมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอโครงงาน เช่น โทรศัพท์ Tablet หรืออุปกรณ์อื่น ๆ

    7. หากต้องมีการแก้ไขงาน (เอกสาร+โปรแกรม) ให้นิสิตแก้ไขตามที่กรรมการแนะนำ และส่งให้กรรมการตรวจสอบไม่เกิน 2 สัปดาห์หลังสัปดาห์สอบ

หมายเหตุ หากนิสิตมีเหตุผลเรื่องปัญหาทางด้านเทคนิค เช่น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เสีย จะไม่อนุญาตให้เลื่อนกำหนดการนำเสนอ ดังนั้นให้ทำการสำรองข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงงานปัญหาพิเศษ