หลักการและเหตุผล

ที่ผ่านมาความเข้าใจต่อประเด็นของความมั่นคงมักจะเป็นเรื่องของภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อรัฐ และอธิปไตยของรัฐในทางตรง ซึ่งเป็นความมั่นคงในรูปแบบดั้งเดิม (traditional security) ทว่านับตั้งแต่ ยุคหลังสิ้นสุดสงครามเย็นเป็นต้นมา นัยยะของความมั่นคงเกิดความเปลี่ยนแปลงและมิได้มีความหมายจำกัดเพียงความมั่นคงของรัฐ (state security) อีกต่อไป แต่ภัยคุกคามของรัฐกลายเป็นเรื่องความท้าทายในการ อยู่รอด การมีศักดิ์ศรี และความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน

ความมั่นคงที่ไม่ใช่แบบดั้งเดิม (non-traditional security) ที่เกิดขึ้นนี้จึงกลายเป็นความมั่นคงใหม่ (new security) ที่ประเด็นความมั่นคงขยายตัวจากการที่รัฐเป็นศูนย์กลาง (state centrism) ไปสู่ผลกระทบ ที่เกิดขึ้นต่อปัจเจกบุคคล สังคม และมนุษยชนในภาพรวม ตลอดจนสภาพแวดล้อมต่างๆ โดยผ่านเครื่องมืออื่นๆ ที่ไม่ใช่วิธีทางการทหารหรือสงครามที่ใช้กำลังในการทำลายล้างซึ่งชีวิตและความเสียหายเชิงกายภาพ ที่มีความเกี่ยวพันเชื่อมโยงกับความมั่นคงของมนุษย์ (human security) และความมั่นคงทางสังคม (societal security) รวมทั้งความเป็นอยู่โดยรวม ทั้งนี้ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ได้เสนอองค์ประกอบความมั่นคงของมนุษย์ 7 ประการ ได้แก่ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางสุขภาพ ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงส่วนบุคคล ความมั่นคงของชุมชน และความมั่นคงทางการเมือง สรุปได้ว่า ความมั่นคงของมนุษย์ จึงสัมพันธ์กับความเป็นอิสระจากความกลัวและความอยาก (freedom from fear and freedom from want) ดังนั้น ในบริบทยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกอยู่ตลอดเวลา ความมั่นคงใหม่นั้นจึงหมายรวม ทั้งความมั่นคงของรัฐและความมั่นคงของมนุษย์และสังคม ที่เผชิญหน้ากับความท้าทายหรือภัยคุกคาม ทางความมั่นคงแบบร่วมสมัย (contemporary security threat) เช่น ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (cyber threat) 1 Mely Caballero-Anthony, 2016, Understanding Non-traditional Security, in Mely Caballero-Anthon (editor), An introduction to non-traditional security studies: A transnational approach, Singapore: SAGE Publications. ภัยคุกคามทางความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) เป็นต้น ภัยคุกคามทางความมั่นคงแบบร่วมสมัยจึงมีความหลากหลายและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามสภาพของ กระแสสังคมและสภาพแวดล้อมในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ ความ ท้าทายทางธรรมชาติ (natural challenge) ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและยากที่จะควบคุม และความท้าทายทาง สังคม (societal challenge) ที่เกิดขึ้นกับปัจเจกบุคคลและชุมชน ซึ่งล้วนส่งผลต่อการเมืองการปกครองของสังคมนั้นๆ

ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้น มีหลักการในการประกันและรับรองความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน (people well-being) และเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้น ตลอดจนความรุนแรงและความขัดแย้งสามารถระงับได้ด้วยกระบวนการทางประชาธิปไตยที่เคารพสิทธิและ การเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนเป็นสำคัญ จึงกล่าวได้ว่าประชาธิปไตยและความมั่นคงใหม่นั้นไปด้วยกันได้ดี เนื่องจากระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยมีกลไกที่ส่งเสริมการมีสิทธิเสรีภาพ คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ การยึดหลักธรรมาภิบาล และมุ่งให้ประชาชนมีสันติสุขและคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งสอดคล้องในการรับมือกับความมั่นคงใหม่ที่ให้ความสำคัญกับความมั่นคงของมนุษย์และสังคมมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ความมั่นคงใหม่และระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยจึงมีความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกันและกัน ทว่าภายใต้ความท้าทายใหม่ใน ปัจจุบัน ประชาธิปไตยและความมั่นคงใหม่นี้กำลังเผชิญหน้ากับความเสี่ยงที่เกิดจากความท้าทายใหม่อย่างหลากหลายรูปแบบ และเกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัว เช่น การถูกโจรกรรมข้อมูลทางไซเบอร์ การตกอยู่ในสภาวะขาดแคลนทรัพยากรต่างๆ การแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่จากโรคติดเชื้อไวรัส การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศของโลก การเกิดความเหลื่อมล้าในมิติต่าง ๆ ที่เพิ่มสูงขึ้น รวมไปถึงความก้าวหน้าและเติบโตของ เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ สกุลเงินดิจิทัล หรือ ภัยคุกคามทางชีวภาพ เช่น เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม ที่ทำให้สิ่งที่เคยมีอยู่ต้องถูกทดแทนหรือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เป็นต้น

ฉะนั้น ในการเผชิญหน้ากับความท้าทายของความมั่นคงใหม่สำหรับประเทศไทยนี้ประเด็นสำคัญ ที่ควรพิจารณา คือ การปกครองในระบอบประชาธิปไตยจะสามารถดูแลและจัดการกับความท้าทายของ ความมั่นคงใหม่อย่างไร และมีประเด็นความท้าทายของความมั่นคงใหม่เหล่านี้อย่างไร รวมทั้ง ประเด็นเหล่านี้ มีผลต่อการเป็นประชาธิปไตยของไทยหรือไม่ อย่างไร และแนวทางการรับมือและการป้องกัน ที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร ในขณะเดียวกันประเทศไทยมีความพร้อมหรือไม่ที่จะปรับเปลี่ยนมุมมองและพัฒนาสังคมสู่สังคมแห่งโอกาส สังคมแห่งความสามารถ สังคมแห่งความเป็นธรรม และสังคมแห่งสันติสุข เพื่อเสริมสร้างความสามารถของประชาชนในประเทศ (human capacity) ให้สามารถรับมือกับความมั่นคงใหม่ ที่เกิดขึ้นทั้งในมิติความเป็นบุคคลสามัญ (common humanity) ความเป็นบุคคลสากล (global humanity) และความเป็นบุคคลที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยี (technology humanity) ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ พร้อมต่อการปรับตัวเข้ากับชีวิตวิถีใหม่ และเป็นพลเมืองโลกที่ดี (good global citizen) ต่อไป

ด้วยเหตุนี้ สถาบันพระปกเกล้าในฐานะสถาบันทางวิชาการที่มีภารกิจสำคัญในการพัฒนาประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนอย่างยั่งยืน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของประเด็นดังกล่าว จึงได้จัดให้มีการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า (KPI Congress) ครั้งที่ 24 ขึ้น เพื่อเป็นเวทีเสวนาในการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ ประสบการณ์ตลอดจนนำเสนอข้อมูลภายใต้ฐานของ การศึกษาวิจัย เพื่อสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างประชาธิปไตยและปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของความมั่นคงในรูปแบบใหม่ ตลอดจนประมวลความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยที่สามารถจัดการกับปัญหาภัยคุกคามและความท้าทายต่อความมั่นคงดังกล่าวทั้งในระดับประเทศและระดับโลก และนำไปสู่การเสนอนโยบายเพื่อเสริมสร้างสังคมสันติสุขต่อไป

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยและความท้าทายของความมั่นคงใหม่ ที่ปรากฏทั้งในระดับโลก ระดับชาติ และระดับท้องถิ่นในปัจจุบัน จากนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

  2. เพื่อให้ได้ข้อเสนอ แนวทางหรือวิธีการสำหรับขับเคลื่อนกระบวนการประชาธิปไตยและนโยบาย ในการรับมือกับความท้าทายของความมั่นคงใหม่ เพื่อร่วมกันนำพาประเทศไทยไปสู่สังคมประชาธิปไตยที่มีสันติสุขที่ยั่งยืน

กิจกรรมหลัก

การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24 ประจำปี 2565 ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก ทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่

  1. การแสดงปาฐกถา

  • การแสดงปาฐกถานำ การแสดงปาฐกถาในเวทีประเทศไทยจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความท้าทายใหม่ ที่มีต่อ ประเด็นด้านความมั่นคงที่ส่งผลกระทบต่อประชาธิปไตย

  • การแสดงปาฐกถาพิเศษ การแสดงปาฐกถาในเวทีระหว่างประเทศจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงประเด็นด้านความมั่นคง ที่กำลังเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ และผลกระทบที่มีต่อประชาธิปไตย ภายใต้การปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยนั้น จะสามารถดูแลและจัดการกับความท้าทายของความมั่นคงใหม่อย่างไร

2. การสัมมนาทางวิชาการ ประกอบด้วยกิจกรรม 3 ส่วนย่อย ได้แก่

  • การอภิปรายในเวทีระหว่างประเทศ การอภิปรายในเวทีระหว่างประเทศจะสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายของความมั่นคงใหม่ และผลกระทบที่มีต่อประชาธิปไตย ตลอดจนประสบการณ์ของการจัดการความเสี่ยงที่เกิดขึ้นทั้งในระดับโลก (global) ในระดับภูมิภาค (region) และในระดับประเทศ

  • การอภิปรายในเวทีของไทย การอภิปรายในเวทีไทยจะแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยมีประเด็นความท้าทายของ ความมั่นคงใหม่อย่างไร ประเด็นเหล่านี้มีผลต่อการเป็นประชาธิปไตยของไทยหรือไม่ อย่างไร แนวทางรับมือ และการป้องกันที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร ขณะเดียวกันประเทศไทยมีความพร้อมหรือไม่ที่จะปรับเปลี่ยน มุมมองและพัฒนาสังคมสู่สังคมแห่งโอกาส สังคมแห่งความสามารถ สังคมแห่งความเป็นธรรม และสังคม แห่งสันติสุข (peace society) เพื่อเสริมสร้างประชาชนคนไทยให้มีความเป็นมนุษย์ (humanity) ที่สามารถ รองรับความมั่นคงรูปแบบใหม่นี้ทั้งมิติเทคโนโลยี (technology humanity) ความเป็นบุคคลสามัญ (common humanity) และความเป็นบุคคลสากล (global humanity)

  • การประชุมกลุ่มย่อย การประชุมกลุ่มย่อย เป็นการนำเสนอบทความ เอกสารทางวิชาการ ผลงานวิจัย และทัศนะ เกี่ยวกับประเด็นสำคัญของประชาธิปไตยและความท้าทายใหม่ของความมั่นคง เพื่อให้เกิดการปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ร่วมกัน การประชุมกลุ่มย่อย 5 กลุ่ม ได้แก่

กลุ่มย่อยที่ 1 ประชาธิปไตยและความท้าทายของเทคโนโลยีสมัยใหม่ (Democracy and Advanced Technological Challenges)

แม้ว่าเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าอย่างเทคโนโลยีชั้นสูง (Advanced Technology) รูปแบบต่างๆ ในปัจจุบันจะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่แนวคิดหรือส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยก็ตาม แต่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเหล่านี้ก็ทำให้เกิดปัญหาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) เช่น การใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ข้อมูลในลักษณะที่ทำให้เกิดการครอบงำการตัดสินใจของประชาชน นอกจากนี้ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอาจก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิในรูปแบบใหม่รวมไปถึง การก่ออาชญากรรมในรูปแบบใหม่ที่มีความรุนแรงและส่งผลเสียหายเป็นวงกว้างยิ่งกว่าอาชญากรรมอื่น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับดิจิทัล ซึ่งหลายประเทศรวมถึงประเทศที่เป็นประชาธิปไตยจะพยายามแก้ไขปัญหาความ ปลอดภัยทางไซเบอร์ด้วยการให้รัฐเข้าไปควบคุมการใช้สื่อไซเบอร์ของประชาชนในระดับความเข้มข้นที่ต่างกัน จนทำให้หลายประเทศถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับความได้สัดส่วนของการจัดการปัญหาความมั่นคงทางไซเบอร์ กับการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอันเป็นแก่นของรัฐประชาธิปไตย ยิ่งกว่านั้น หลายประเทศได้เริ่มใช้ เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมประชาธิปไตย การใช้ระบบอินเทอร์เน็ตในการเลือกตั้ง และการแสดงความเห็น อีกทั้งสื่อเหล่านี้ยังกลายเป็นช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญ ความท้าทายจึงเกิดขึ้นเมื่อพบว่า แท้จริงแล้ว ประชาชนยังคงไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านี้ได้อย่างเท่าเทียมกัน จนกล่าวได้ว่าความเหลื่อมล้ำ ในการเข้าถึงเทคโนโลยีซึ่งส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลหรือการใช้สิทธิบางประการ จนอาจส่งผลให้ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำด้านอำนาจ (power imbalance) ที่จะกระทบต่อคุณค่าของระบอบประชาธิปไตยในท้ายที่สุด อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่ก็ยังเกิด คำถามมากมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการ

กลุ่มย่อยที่ 1 นี้จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นเวทีเสวนาทางวิชาการที่วิเคราะห์ความท้าทายของเทคโนโลยี สมัยใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อคุณค่าและสถาบันทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เพื่อที่จะหาแนวทางการบริหารจัดการความมั่นคงทางเทคโนโลยีที่มีความ “ล้ำหน้า” ด้วยวิธีการที่ไม่ “ล้ำเส้น” ต่อสิทธิเสรีภาพ ของประชาชนซึ่งถือเป็นคุณค่าสำคัญของประชาธิปไตย ตลอดจนทำให้เทคโนโลยีสมัยใหม่กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

ประเด็นกลุ่มย่อย

  1. ความมั่นคงทางไซเบอร์ (cyber security) และเทคโนโลยีสมัยใหม่ (advanced technology) ที่มีผลต่อประชาธิปไตย

  2. โครงสร้างการปกครองหรือการบริหารการปกครอง (Governance) ที่นำไปสู่การลดการสร้างข้อมูลเท็จ การบิดเบือนข้อมูลและการกระจายข้อมูลข่าวสารที่เป็นเท็จ ที่สามารถจัดการต่อเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า แต่ ไม่ล้ำเส้นสิทธิเสรีภาพอันเป็นคุณค่าสำคัญต่อประชาธิปไตย

  3. การแก้ปัญหาความท้าทายของความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการ เข้าถึงกลไกต่าง ๆ ของระบอบประชาธิปไตย

  4. ข้อเสนอและทางเลือกในการแก้ไขปัญหา

  5. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีผลต่อการเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศและความยั่งยืนของประชาธิปไตยหรือไม่ อย่างไร

กลุ่มย่อยที่ 2 ประชาธิปไตยและการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ (Democracy and Geopolitics Rivalry)

แม้ว่าหลังการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินในปี 1989 สังคมโลกได้มีการก้าวเข้าไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยและการจัดตั้งระเบียบโลกใหม่ (new world order) สภาวะภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitics) ได้เปลี่ยนดำเนินการบนพื้นฐานของความร่วมมือภายใต้ระเบียบโลกที่นำโดยสหรัฐอเมริกา ทว่า พลวัตของระเบียบโลกดังกล่าวนั้น ถูกท้าทายโดยการกลับขึ้นมามีบทบาทของจีนในเวทีโลก ประกอบกับวิกฤติการณ์ ที่เกิดขึ้นในภูมิรัฐศาสตร์โลกนับตั้งแต่ ค.ศ. 2001 เป็นต้นมา ได้แก่ เหตุการณ์การก่อการร้ายในสหรัฐอเมริกา และ สงครามต่อต้านการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น ส่งผลให้รัฐบาลประชาธิปไตยหลายประเทศ เลือกตรากฎหมายยกเว้นการรับรองสิทธิเสรีภาพที่ขัดต่อหลักการได้สัดส่วนโดยอ้างเรื่องความมั่นคง กลายเป็น แนวปฏิบัติแบบขวาสุดโต่ง ซึ่งเมื่อเกิดควบคู่กับปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลก ค.ศ. 2008 และวิกฤติปัญหา โรคระบาดใน ค.ศ. 2020-2022 ได้ส่งผลให้เกิดวิกฤติในระดับที่รัฐบาลประชาธิปไตยไม่อาจจัดการกับปัญหา ดังกล่าวได้ ซึ่งในหลายประเทศ เช่น จีน รัสเซีย ตุรกี ฮังการี และ โปแลนด์ ได้ใช้สถานการณ์ดังกล่าว สร้างความชอบธรรมให้กับแนวทางการปกครองแบบอำนาจนิยม ทำให้ระบอบประชาธิปไตยสูญเสีย ความเชื่อมั่นและศรัทธาจากประชาชนในประเทศตัวเอง ประชาชนยอมรับแนวทางการแก้ปัญหาแบบเผด็จการมากขึ้น และเกิดเป็นการแข่งขันระหว่างอุดมการณ์ที่แตกต่าง ส่งผลให้สถานการณ์ประชาธิปไตยโลกอยู่ใน สภาวะที่ไม่มั่นคง

ประเด็นการประชุมกลุ่มย่อยนี้ จึงเสนอว่า สถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์โลกในปัจจุบันอยู่ในจุดล่อแหลมอย่างยิ่ง เราต้องการเวทีทางวิชาการที่ถกเถียงวิเคราะห์สภาวะการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์โลก ที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น คุณค่า และประสิทธิภาพของระบอบประชาธิปไตย ทั้งในระดับประเทศและ ระดับระหว่างประเทศ เนื่องจากภาวะดังกล่าวนี้ถือเป็นความท้าทายใหม่ ๆ ที่มีผลทั้งทางบวกและลบต่อความมั่นคงของระบอบประชาธิปไตย ฉะนั้นจึงควรหาทางออกหรือทางเลือกของตัวแบบการบริหารประเทศ ในรูปแบบต่าง ๆ ภายใต้สถานการณ์การแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างมหาอำนาจโลก

ประเด็นกลุ่มย่อย

  1. ลักษณะของการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ในยุคปัจจุบัน

  2. ผลกระทบของภูมิรัฐศาสตร์โลกต่อตัวแบบการพัฒนาแบบเผด็จการ อำนาจนิยมและความมั่นคง ของประชาธิปไตย

  3. ความชอบธรรม ความมีประสิทธิภาพ และความชอบธรรมของผู้นำแบบประชาธิปไตย VS ผู้นำเผด็จการ และความเชื่อมโยงกับมั่นคงของประเทศ

  4. ควรทำอย่างไรเพื่อให้ประชาธิปไตยสามารถรับมือ/รองรับกับความท้าทายแบบใหม่ดังกล่าวได้

กลุ่มย่อยที่ 3 ประชาธิปไตยกับความมั่นคงทางสังคม (Democracy and Societal Security)

ความมั่นคงทางสังคม (societal society) กำลังได้รับการกล่าวถึงมากขึ้น เหตุการณ์โควิด 19 ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าการรักษาความมั่นคงของรัฐด้วยวิธีทางการทหารแบบเดิมไม่สามารถตอบโจทย์ การรักษาชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีและดำรงไว้ซึ่งสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของผู้คนในสังคมเอาไว้ได้ เท่ากับ สังคมที่เป็นประชาธิปไตย เคารพและปกป้องสิทธิเสรีภาพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่มีความเหลื่อมล้ำ เป็นสังคมแห่งความเสมอภาคเท่าเทียมและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

ความมั่นคงทางสังคมจึงเป็นประเด็นสำคัญครอบคลุมทั้งความมั่นคงของมนุษย์และสังคมโดยรวม มุ่งสร้างหลักประกันต่อสิทธิเสรีภาพ สร้างกลไกเพื่อขจัดเงื่อนไขที่เป็นภัยคุกคามต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตลอดจนส่งเสริมความเข้มแข็งของหลักนิติธรรมในสังคม ทว่าที่ผ่านมายังปรากฎหลายกรณีที่สะท้อนให้เห็นถึง ความอ่อนแอของความมั่นคงทางสังคมไม่ว่าจะเป็นประเด็นการค้ามนุษย์ (human trafficking) การค้าอวัยวะ (red market) การค้าของเถื่อน (smuggling) ปัญหาแรงงานเถื่อน แรงงานข้ามชาติ ปัญหาการประกอบธุรกิจ ผิดกฎหมายต่าง ๆ รวมไปถึงการพนัน (gambling) และยาเสพติด เป็นต้น โดยที่ปัญหาเหล่านี้นับวันยิ่งทวี ความซับซ้อนรุนแรง มีลักษณะเป็นองค์กรอาชญากรรม (organized crime) ที่ดำเนินการอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ ปัญหาความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม อาทิ การขยายตัวของสังคมผู้สูงอายุ (aging society) การหดตัวของอัตราการเกิดและประชากรวัยแรงงาน กำลังนำไปสู่ความท้าทายต่อระบบสาธารณสุขและหลักประกันสุขภาพของรัฐที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่รายได้ของรัฐกำลังถดถอยลง อันจะส่งผลต่อศักยภาพในการ พัฒนาของรัฐในอนาคต ปัญหาเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความเปราะบางของสังคมและนำไปสู่ความไม่มั่นคงทางสังคม ที่กำลังกัดกร่อนความมั่นคงของรัฐจากภายใน

ปัญหาข้างต้นสะท้อนให้เห็นความไม่เป็นประชาธิปไตยที่แอบแฝงอยู่ในโครงสร้างทางสังคมหลาย ประการอาทิ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม การเลือกปฏิบัติ ปัญหาคอร์รัปชันและการขาดหลักนิติธรรม เป็นต้น ดังนั้น ห้องย่อยที่ 3 จึงมุ่งทบทวนและอภิปรายสถานการณ์ความมั่นคงทางสังคมของไทยและต่างประเทศ สาเหตุแห่งปัญหา เครือข่ายกระบวนการและผลลัพธ์ เพื่อร่วมกันค้นหาปัจจัยข้อท้าทายต่าง ๆ ตลอดจน แนวนโยบายที่เหมาะสมต่อการส่งเสริมความมั่นคงทางสังคมของไทย ได้ข้อเสนอแนะที่นำไปสู่การสร้างสังคม แห่งโอกาส สังคมแห่งความสามารถ สังคมแห่งความเป็นธรรม และสังคมแห่งสันติสุขต่อไป

ประเด็นกลุ่มย่อย

  1. สถานะความมั่นคงทางสังคมของไทย และข้อท้าทายที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางสังคม

  2. ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยกับความมั่นคงทางสังคม

  3. แนวทางการรับมือต่อความเปลี่ยนแปลงและส่งเสริมความมั่นคงทางสังคมในระบอบ ประชาธิปไตย

  4. พลวัตของความมั่นคงทางสังคม

กลุ่มย่อยที่ 4 ประชาธิปไตยและความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม (Democracy and Environmental Security)

การเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมทั่วโลกได้ทำให้นานาประเทศเผชิญกับความไม่แน่นอนมากขึ้น ซึ่งความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อมที่ทั่วโลกต่างต้องเผชิญ คือความยุ่งยากซับซ้อนในการบริหารจัดการกับความผันผวน เหล่านั้นท่ามกลางความต้องการที่หลากหลายของผู้คน ทั้งในเรื่องของการปรับตัวและรับมือกับผลกระทบจาก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change mitigation and adaptation) การปกป้องมหาสมุทร จากขยะ มลพิษ และภาวะความเป็นกรด (Protecting the oceans from waste, pollution, and acidification) การเปลี่ยนผ่านและพลังงานทางเลือก (The Energy transition and renewables) ความมั่นคงทางอาหาร (Food security) การปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ (Protecting ecosystem and biodiversity) ตลอดจนการจัดการเมือง (Sustainable urban development and mobility) ในภาวะที่ประชากรมีการเคลื่อนย้ายสูง ที่ยังผลให้เกิดความท้าทายต่อการจัดการปัญหาของเสียและมลพิษ จนก่อให้เกิดผลต่อเนื่องเป็นปัญหาสุขภาพตามมา ความไม่มั่นคงด้านสิ่งแวดล้อมยัง รวมถึง ความเสี่ยง ด้านนิเวศวิทยา (Ecological Threats) สถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพระบุว่า ประกอบด้วย ความเสี่ยง ด้านอาหาร ความเสี่ยงด้านการเติบโตของประชากรอย่างรวดเร็ว ความเสี่ยงด้านภัยพิบัติ ความเสี่ยง ด้านทรัพยากรน้ำ และอุณหภูมิที่แปรปรวน

จากที่กล่าวมาเป็นเพียงตัวอย่างของภาวะทางสิ่งแวดล้อมที่ทั่วโลกต่างเผชิญและหาทางออกร่วมกัน ผ่านเวทีความร่วมมือเพื่อนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หรือการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญา สหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP26) ซึ่งนำไปสู่ความตกลงระหว่างประเทศ เพื่อควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงเกินกว่า 2 องศาเซลเซียส โดยหลายประเทศได้อนุวัติตามข้อตกลงฯ ด้วยการดำเนินการทางนโยบายและกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในระบอบประชาธิปไตยต้องคำนึงถึงการจัดสรรสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นธรรม และ มีส่วนร่วมด้วย อย่างไรก็ดี ประเด็นสิ่งแวดล้อมดังกล่าวได้ทำให้เกิดความท้าทายต่อกระบวนการและปลายทางของทางประชาธิปไตย ว่ากลไกตามครรลองของประชาธิปไตยที่มีอยู่ได้นำไปสู่เป้าหมายด้านโอกาส สิทธิ/ เสรีภาพ/ความยุติธรรมและการอยู่ในสภาวะแห่งสิ่งแวดล้อมสันติสุขยั่งยืนแล้วหรือไม่ อย่างไร

ประเด็นกลุ่มย่อย

  1. ประเด็นสิ่งแวดล้อมที่กระทบต่อความมั่นคงและท้าทายต่อกระบวนการทางประชาธิปไตย เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ของเสียและมลพิษ อาหาร พลังงาน ระบบนิเวศ ความหลากหลาย ทางชีวภาพ ความเสี่ยงด้านนิเวศวิทยา การจัดการเมือง ฯลฯ (อะไรคือประเด็นท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมใหม่ ที่กระทบต่อความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อมและทำให้ประชาธิปไตยในแต่ละประเทศรวมทั้งในประเทศไทยต้อง ปรับตัว และปรับตัวอย่างไรบ้าง)

  2. เครื่องมือทางกระบวนการประชาธิปไตยในระดับนานาประเทศ ระดับชาติ และท้องถิ่น เช่น ความตกลงภาคีระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม การใช้สิทธิและเสรีภาพทางสิ่งแวดล้อมตามนโยบายและ กฎหมาย การรับฟังความคิดเห็น การวัดความเป็นชนบทและเมือง ตลอดจนเมืองอุตสาหกรรมนิเวศ ฯลฯ (เครื่องมือหรือกลไกทางประชาธิปไตยที่มีอยู่ในทุกระดับ สามารถรับมือกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมใหม่ได้ เพียงใดและอย่างไร)

  3. ทางออกของกระบวนการประชาธิปไตย เพื่อจัดการความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมใหม่ และนำไปสู่ เป้าหมายด้านโอกาส เสรีภาพและความยุติธรรม และสันติสุข (เพื่อจัดการกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมใหม่ กระบวนการทางประชาธิปไตยที่มีอยู่ควรได้รับการเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไร แต่ละภาคส่วนควรปรับบทบาท อย่างไร)

กลุ่มย่อยที่ 5 ประชาธิปไตย โลกาภิวัตน์และการพลิกผันทางเศรษฐกิจ (Democracy, Globalization, and Economic Disruption)

“โลกาภิวัตน์” เป็นหนึ่งในแรงเหวี่ยงที่มีพลังมหาศาลต่อเศรษฐกิจโลกในระดับมหภาค ในด้านหนึ่ง โลกาภิวัตน์ได้สร้างฐานการลงทุนที่เชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตที่ซับซ้อนในระดับโลก (complex global supply chain) สร้างบริการทางการเงินโลกใหม่ (global financial services) ที่เชื่อมโยงกันอย่างสลับซับซ้อน (complex interdependent) ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และช่วยให้บางพื้นที่ของโลก รอดพ้นจากความยากจน ท าให้เกิดความมั่งคั่งและการเติบโต แต่ในอีกด้านหนึ่งโลกาภิวัตน์ได้สร้างความ ผันผวนทางเศรษฐกิจ (economic disruption) วิกฤติเศรษฐกิจ (economic crisis) และการทำลาย สิ่งแวดล้อม รัฐบาลในหลายประเทศได้ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้เป็นเอกชน (privatization) และ ลดนโยบายที่สนับสนุนสวัสดิการสังคม สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้กระทบประชาชนตั้งแต่ระดับรากหญ้าจนถึงชนชั้นกลาง ได้ส่งผลต่อความไม่พอใจในรัฐบาลและชนชั้นนำในหลายประเทศทั่วโลก อ้างอิงจากจากการสำรวจของ The Economist Intelligence Unit (EIU) ท าให้เราเห็นความตกต่ำของดัชนีประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง ในรอบ 16 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น กระบวนการเลือกตั้งและความเป็นพหุนิยม (electoral process and pluralism)
เสรีภาพของประชาชน (civil liberties) การทำงานของรัฐบาล (the functioning of government) การมีส่วนร่วมทางการเมือง (political participation) และ วัฒนธรรมทางการเมือง (political culture) ส่งผลให้เกิดการบิดเบือนคุณค่าในระบอบประชาธิปไตย และการสนับสนุนผู้นำแบบประชานิยมที่มี แนวโน้มเป็นเผด็จการในทุกส่วนของโลก

ในกลุ่มย่อยที่ 5 นี้ เราต้องการศึกษาว่าความผันผวนในระเบียบเศรษฐกิจโลกที่ได้รับอิทธิพลจาก โลกาภิวัตน์ ส่งผลอย่างไร หรือไม่ ต่อความไม่พึงพอใจของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยทั้งที่ เกิดขึ้นทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา เพราะเหตุใดประชาชนจึงยอมรับผู้นำแบบประชานิยม และอำนาจนิยมที่ต่อต้านค่านิยมในระบอบประชาธิปไตย และหากเป็นไปได้จะมีหนทางใดบ้างที่จะปฏิรูปโลกาภิวัตน์ ในรอบนี้ ไม่ให้เป็นโลกาภิวัตน์ที่ตอบสนองเพื่อผลประโยชน์ของทุนนิยมโลก แต่เป็นโลกาภิวัตน์ที่เอื้อต่อ ประชาชนส่วนใหญ่ในสังคม

ประเด็นกลุ่มย่อย

  1. ความผันผวนในระเบียบเศรษฐกิจโลกที่ได้รับอิทธิพลจากโลกาภิวัฒน์กับนโยบายของรัฐบาล ปัญหาเศรษฐกิจที่พลิกผันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จะมีผลต่อประชาธิปไตยอย่างไร

  2. ความพึงพอใจในระบอบประชาธิปไตยกับปัญหาเศรษฐกิจและการจัดการทางเศรษฐกิจของ รัฐบาลประชาธิปไตย

  3. ความนิยมในผู้นำแบบประชานิยมและอำนาจนิยมที่ต่อต้านค่านิยมในระบอบประชาธิปไตย อันเนื่องมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจ

  4. การปฏิรูปโลกาภิวัตน์เพื่อประชาชนส่วนใหญ่ในสังคม แนวทางการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนา เศรษฐกิจและความยั่งยืนของประชาธิปไตย

  5. การบริหารการคลังกับความมั่นคงของประเทศ

3. การจัดนิทรรศการ มีวัตถุประสงค์ให้เป็นพื้นที่ของการแสดงรูปธรรมขององค์ความรู้และ รวบรวมกรณีศึกษาในประเด็นความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย ทั้งในบริบทของประเทศไทย และนานาประเทศ ตลอดจนการนำเสนอผลงานทางวิชาการของสถาบันพระปกเกล้าที่เกี่ยวข้อง ในรูปแบบ ของบอร์ดนิทรรศการ และกิจกรรมสร้างสรรค์รูปแบบต่างๆ

กลุ่มเป้าหมาย

สถาบันพระปกเกล้า กหนดผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการ จนวน 1,000 คน ประกอบด้วย

  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา

  • บุคลากรในหน่วยงานของรัฐ องค์กรอิสระ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  • บุคลากรในองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง

  • นักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ผู้นชุมชน ผู้นท้องถิ่น

  • ผู้แทนองค์กรพัฒนาชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชน กลุ่มเครือข่ายภาคประชาชน

  • ผู้แทนองค์กรภาคธุรกิจเอกชน

  • สื่อมวลชน

  • นักเรียน นิสิต นักศึกษา

  • ประชาชนทั่วไปที่สนใจ

วัน เวลา สถานที่จัดงาน

หนดการจัดงานประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24 ประจปี 2565
ระหว่างวันที่ 4-6 พฤศจิกายน 2565 ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชด
เนินนอก กรุงเทพมหานคร ดังนี้

  • วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2565 เวลา 11.00 - 17.30 นาฬิกา

  • วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08.00 - 17.00 นาฬิกา

  • วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08.00 – 12.00 นาฬิกา

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้บริหารภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนของรัฐบาล องค์กรอิสระ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา องค์กรภาคเอกชน สื่อมวลชน องค์กรภาคประชาชน และ ประชาชนทั่วไป ได้นเสนอผลงานวิชาการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต่อยอดความคิด และแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้อง

  2. ได้รับข้อเสนอเชิงวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สหรับประเทศไทย รวมทั้งข้อเสนอต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยภายใต้บริบท ความท้าทายใหม่ของความมั่นคง

FacebookYouTube