Key Message
Prof.Dr. Victor V.Ramraj จากมหาวิทยาลัยวิคตอเรีย ประเทศแคนาดา
Democratic Governance จะสามารถรับมือกับความท้าทายของความมั่นคงใหม่ได้ หากกระบวนการตัดสินใจของรัฐ มีพื้นที่ในการรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย มีพื้นที่สำหรับความเห็นต่าง นอกจากนี้สถาบันต่างๆ จะเข้มแข็งขึ้นได้หากให้การสนับสนุนความเห็นต่างและความขัดแย้งที่สร้างสรรค์ และการเปิดกว้างต่อความขัดแย้งที่สร้างสรรค์เป็นเงื่อนไขพื้นฐานของการทำงานร่วมกันและการเป็นหุ้นส่วนที่มีประสิทธิภาพ
Mr.Renaud Meyer, UNDP President Representative in Thailand.
มีคำกล่าวที่ว่า อย่าพูดถึงเรื่องคนพิการ หากไม่เปิดให้คนพิการเข้ามาพูดคุยด้วย เช่นเดียวกับการรับมือกับความมั่นคงใหม่ ที่มีลักษณะเป็นความมั่นคงแบบองค์รวมและเกี่ยวข้องกับมิติต่างๆ ของชีวิตผู้คน จึงต้องส่งเสริมให้ประชาชนและภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการรับมือกับความท้าทายจากความมั่นคงใหม่ๆ เหล่านี้ เพื่อให้ได้ทางออกในการแก้ไขปัญหาที่รอบคอบและครอบคลุม
Prof. Jung Kim, University of North Koreans Studies, South Korea
แม้ประเทศต้องพบกับความท้าทายใหม่ที่เกิดขึ้นในอนาคต แต่หากสังคมหรือสถาบันทางการเมืองมีความเข้มแข็ง และมีความมุ่งมั่นที่จะการปลูกฝังหลักการประชาธิปไตยให้กับสังคม รวมถึง การเพิ่มขีดความสามารถของภาครัฐ ภาคประชาสังคม และฝ่ายการเมืองก็จะทำให้ประเทศสามารถก้าวข้ามความท้าทายเหล่านั้นได้
Mr.Christien Lechervy, The Ambassador of France to Myanmar
กรณีพม่าได้กลายเป็นความท้าทายในเรื่องความมั่นคงทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ความขัดแย้งภายในพม่าไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่จำเป็นต้องทำความเข้าใจใหม่ เพราะกลไกเดิมไม่สามารถทำงานได้แล้ว และการเปลี่ยนแปลงไม่สามารถคาดหวังให้เกิดจากในกลุ่มผู้นำทหารของพม่าได้เอง
Mely Cabellero-Anthony Nanyang Technological University, Singapore.
ลักษณะสำคัญของความมั่นคงรูปแบบใหม่คือเป็นประเด็นข้ามรัฐชาติ ไม่ใช่เรื่องภายในของประเทศใดประเทศหนึ่งอีกต่อไป ดังนั้น รัฐแต่ละรัฐจึงต้องร่วมมือกันเพื่อรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากความมั่นคงใหม่เหล่านี้