วันดินโลก

วันดินโลก (World Soil Day)

"วันดินโลก (World Soil Day)" คือ วันที่ 5 ธันวาคม เป็นวันสำคัญที่นักปฐพีวิทยาทั่วโลก 60,000 คน จะเฉลิมฉลองเป็นประจำทุกปี ซึ่งนักปฐพีวิทยาของไทยทุกคนภาคภูมิใจ เนื่องจากวงการปฐพีวิทยานานาชาติ มีฉันทานุมัติ เลือกวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช เป็นวันดินโลก และนักปฐพีวิทยาของไทยมีส่วนร่วมในการเชิดชูพระอัจฉริยภาพด้านการอนุรักษ์ และพัฒนา ทรัพยากรดินขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9


แนวความคิดของการจัดตั้งวันดินโลก

เริ่มต้นจากที่มีการประชุมวิทยาศาสตร์ทางดินของโลก ครั้งที่ 17 ณ กรุงเทพมหานคร ในปี 2545 มี นักวิทยาศาสตร์ทางดินจากทั่วโลกมาร่วมประชุม ภายในงานมีการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและพระราชกรณียกิจที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรดิน รวมถึงการจัดตั้งโครงการพระราชดำริ ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ.....

ซึ่งนิทรรศการดังกล่าว ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมประจักษ์ถึงพระวิสัยทัศน์ในการบริหารทรัพยากรดินอย่างยั่งยืน โดยทรงให้ความสำคัญกับทรัพยากรดิน ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่สนพระราชหฤทัยในวิทยาศาสตร์ทางดิน และ ผลสำเร็จจากการบริหารจัดการดินอย่างต่อเนื่องของพระองค์ เป็นที่ยอมรับอย่างเป็นรูปธรรมทั้งในประเทศและระดับ นานาชาติ.....

ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการหารือเรื่องการจัดตั้ง "วันดินโลก" โดยที่ประชุมคณะกรรมการสหภาพ วิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ มีมติให้วันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นวันดินโลก เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณของพระองค์ โดยใช้วันนี้เป็นวันรณรงค์ให้ชาวโลก ได้ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรดินที่มีต่อความอยู่รอดของมวลมนุษยชาติและสภาพแวดล้อม และความ จำเป็นต้องมีการจัดการทรัพยากรที่ดินอย่างยั่งยืน



การขอพระบรมราชานุญาต ให้วันที่ 5 ธันวาคม เป็นวันดินโลก

การเกิดขึ้นของ "วันดินโลก (World Soil Day)" มีความเกี่ยวข้องกับกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ (International Union of Soil Science : IUSS) องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization : FAO) และ องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) จึงควรบันทึกจุดเริ่มต้นและความเป็นมาของ "วันดินโลก" เพื่อให้คนรุ่น หลังได้รับทราบอย่างถูกต้อง เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2555 คณะผู้บริหารสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ ได้เข้า เฝ้าทูลละอองธุลีพรบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรมแด่พระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมกราบบังคมทูลเชิญให้ดำรงตำแหน่ง A life membership และยังได้กราบทูลขอ พระบรมราชานุญาต ให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีเป้นวันดินโลก




การประกาศรับรองวันดินโลก โดยสหประชาชาติ

องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ประกาศสนับสนุนให้มีการจัดตั้งวันดินโลก โดยนำข้อเสนอเข้า บรรจุในวาระการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ประจ าปี 2556 ซึ่งสหประชาชาติได้ประกาศรับรองอย่างเป้นทางการให้ วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันดินโลก และปี 2558 เป็น "ปีดินสากล (International Year of Soils 2015)" ใน วันที่ 20 ธันวาคม 2556.

ดังนั้น ในวันที่ 5 ธันวาคม 2557 นอกจากเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดชแล้วนั้น ยังถือว่าเป็นวันดินโลกอย่างเป็นทางการในระดับสากลครั้งแรกอีกด้วย ประเทศไทย โดย กรมพัฒนาที่ดินจึงมีการจัดงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่พร้อมกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก





ทำไมต้องมี “วันดินโลก”

1. เพื่อสร้างความตระหนักถึง...ความสำคัญของดิน

2. ดินนับวันจะเสื่อมโทรมลง...หากขาดการอนุรักษ์และพัฒนาที่ดินอย่างยั่งยืน

3. วันดินโลก...วันสำคัญเพื่อการรณรงค์เกี่ยวกับดิน

4. การเฉลิมฉลอง “วันดินโลก”

5. พระราชกรณียกิจด้านดิน



โครงการในพระราชดำริเกี่ยวกับดินของในหลวง รัชกาลที่ 9 ดังนี้

1. โครงการศึกษาฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม (อันเนื่องมาจากพระราชดำริ)

ตั้งอยู่ที่บ้านเขาชะงุ้ม หมู่ที่ 2 ตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เป็นศูนย์ศึกษาวิจัยและสาธิตวิธีการฟื้นฟูปรับปรุงดินเสื่อมโทรมให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. โครงการทดลองแก้ปัญหาดินเปรี้ยว

ด้วยพระปรีชาสามารถของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่มีพระราชดำริแก้ปัญหาดินเปรี้ยวในจังหวัดนครนายก ด้วยการใช้วิธีธรรมชาติอย่างการเปลี่ยนถ่ายดินจากแปลงหนึ่งสู่แปลงหนึ่ง เพื่อลดความเปรี้ยวของดิน

3. โครงการหญ้าแฝก

4. โครงการแกล้งดิน

5. โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อ

ตั้งอยู่ที่อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพื้นที่ที่ราษฎรน้อมเกล้าฯ ถวายที่ดิน จำนวน 216 ไร่ และครั้นพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทอดพระเนตรเห็นสภาพความทุรกันดารของผืนดิน จึงมีพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งดิน น้ำ ป่าไม้

6. โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย

หนึ่งในโครงการพระราชดำริที่ตั้งอยู่ ณ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งพื้นที่แห่งนี้เคยอุดมสมบูรณ์ แต่ได้ถูกราษฎรเข้าบุกรุกทำลายป่าเพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรม จนไม่เหลือป่าไม้และสัตว์ป่า ทำให้พื้นที่แห้งแล้ง ฝนไม่ตกตามฤดูกาล และสภาพพื้นดินเสื่อมโทรมอย่างหนัก ทำการเกษตรกรรมไม่ได้ผล พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้พัฒนาพื้นที่บริเวณห้วยทราย เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาด้านป่าไม้อเนกประสงค์

7. โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ แห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชดำริให้พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติทั้งด้านทรัพยากรต้นน้ำ ด้านเกษตรกรรม ด้านปศุสัตว์และโคนม รวมทั้งด้านอุตสาหกรรม เนื่องมาจากมีพระราชประสงค์ที่จะให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ ทำหน้าที่เสมือนพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต ที่ประชาชนจะเข้าไปเรียนรู้และนำไปปฏิบัติได้