วันชาติไทย

ความเป็นมาของวันชาติไทย

ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งรัฐไทที่เรียกว่า “สยาม” มาตั้งแต่โบราณนั้น สยามประเทศปกครองโดยพ่อขุนและพระมหากษัตริย์มาตลอด จึงเกิดความผูกพันระหว่างประชาชนกับพระมหากษัตริย์อย่างแนบแน่น ดังนั้น

วันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ จึงเป็นวันสำคัญของคนไทย (แม้เปลี่ยนนามประเทศมาเป็น “ประเทศไทย” ตั้งแต่ พ.ศ.2482 ก็ยังให้ความสำคัญกับวันดังกล่าว) ต่อมาเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาลงมติให้ถือว่า วันที่ 24 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันที่คณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครองสำเร็จเป็นวันชาติ โดยประกาศมา ณ วันที่ 28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2481

การเปลี่ยนวันชาติเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งใน พ.ศ.2503 เมื่อมีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องให้ถือ วันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย

วันชาติในประเทศไทย เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย เดิมกำหนดเป็นวันที่ 24 มิถุนายน อันเป็นวันที่คณะราษฎรก่อการปฏิวัติสยามใน พ.ศ. 2475 โดยเริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2481 และเริ่มงานฉลองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482ต่อมาใน พ.ศ. 2503 รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ประกาศยกเลิกวันชาติ 24 มิถุนายน และให้ถือเอาวันพระบรมราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันชาติแทน โดยให้เหตุผลว่า "เพื่อให้เป็นไปตามขนบประเพณีของประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข"


ในปัจจุบัน

วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร


วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสำคัญของชาติไทย ดังนี้

1. เป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ

ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 - 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เป็นพระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงครองราชสมบัติยาวนานที่สุดในประเทศไทย

2. เป็นวันชาติ

เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย เดิมกำหนดให้วันที่ ๒๔ มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันชาติ เนื่องจากเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ต่อมาใน พ.ศ. 2503 ได้เปลี่ยนมาเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระมหากษัตริย์ไทย ตามขนบธรรมเนียมประเพณีอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของชาติ และเป็นวันศูนย์รวมจิตใจความสมัครสมานสามัคคีของคนในชาติ ปัจจุบันจึงตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี

3. เป็นวันพ่อแห่งชาติ

วันพ่อแห่งชาติ มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่มหลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อแห่งชาติ เพราะพ่อเป็นผู้มีพระคุณที่มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกให้ความเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา เป็น “วันพ่อแห่งชาติ” ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.9) ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และให้ดอกพุทธรักษาเป็นสัญลักษณ์ของวันพ่อแห่งชาติ