ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์แฟ้มผลงานอิเล็กทรอนิกส์  (E-Portfolio)  ของนายประวิทย์  ศรีดาพันธ์

1 ข้อมูลทั่วไป

1.1 ข้อมูลพื้นฐาน


1.2 ข้อมูลเกี่ยวกับเวลาการปฏิบัติหน้าที่ราชการ (1 ตุลาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2567)

1.4 ข้อมูลการปฏิบัติหน้าที่ (1 ตุลาคม 2566 – 30 กันยายน 2567)

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566

2. รายละเอียดประกอบการประเมินองค์ประกอบที่ 1 

การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการ ปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง


ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด

ภาระงานภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566

ชั่วโมงการสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 20 ชั่วโมง 10 นาที/สัปดาห์ ดังนี้

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

รายวิชาวิทยาศาสตร์ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1-5  จำนวน 9 ชั่วโมง 10 นาที/สัปดาห์

รายวิชาชีววิทยา 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4-5  จำนวน 5 ชั่วโมง 30 นาที/สัปดาห์

รายวิชาชีววิทยา 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4  จำนวน 2 ชั่วโมง 45 นาที/สัปดาห์

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน - ชั่วโมง 55 นาที/สัปดาห์

กิจกรรม ชุมนุม                                  จำนวน  55 นาที/สัปดาห์

งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 2 ชั่วโมง 10 นาที/สัปดาห์

กิจกรรม จริยธรรม                              จำนวน  55 นาที/สัปดาห์

กิจกรรม โฮมรูม                                 จำนวน 1 ชั่วโมง 15 นาที/สัปดาห์

งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน                 จำนวน 3  ชั่วโมง/สัปดาห์


งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู 

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน


ประเด็นที่ท้าทาย 

ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (5E) ร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐาน    

1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้

     การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ คือการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ทักษะทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการคิดอย่างเป็นวิทยาศาสตร์โดยใช้เหตุและผลในการคิด ดังนั้นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จะต้องมุ่งเน้นให้เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ มีการตั้งคำถามทางวิทยาศาสตร์ ใช้กระบวนการสืบเสาะในการหาความรู้และคำอธิบาย จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยาที่ผ่านมา พบว่านักเรียนขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ และกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ครูผู้สอนจึงริเริ่มหาวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (5E) ร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ เช่นเดียวกับการทำงานของนักวิทยาศาสตร์ มีทักษะการคิดวิเคราะห์ การค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง โดยเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้มีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ที่คงทน  

2. รายงานความสำเร็จจากวิธีการดำเนินให้บรรลุผล 

วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2560) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนแก่งหางแมวพิทยาคาร ในเรื่องของมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด

จัดทำโครงร่างของหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ เนื้อหาการเรียนวิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (5E) ร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐาน 

ให้คุณครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง ในเนื้อหา 

ครูผู้สอนนำหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้มาปรับปรุง แก้ไขตามคำแนะนำ และแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (5E) ร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐาน

พัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ และนำแบบประเมินไปใช้ในการประเมินผู้เรียน และพัฒนาผู้เรียนที่ไม่ผ่านการประเมิน 

บันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียน ที่เกิดขึ้นจากการกิจกรรมการเรียนรู้ และสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบเป็นระยะ หากมีนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินในเรื่องใด ให้ใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน และการสอนซ่อมเสริม เพื่อแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ให้นักเรียน

3. รายงานผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

เชิงปริมาณ

นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมจำนวนผู้เรียน 42 คน ได้รับการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (5E) ร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยมีคะแนนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด 

เชิงคุณภาพ

นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมจำนวนผู้เรียน 42 คน มีทักษะการคิดวิเคราะห์  

3. รายละเอียดประกอบการประเมินองค์ประกอบที่ 2

การประเมินการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา

3.1 งานที่ได้รับมอบหมายจากทางโรงเรียน

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566

3.2 งานที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานภายนอก

4. รายละเอียดประกอบการประเมินองค์ประกอบที่ 3

การประเมินการปฏิบัติตนในการรักษาวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ