ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์แฟ้มผลงานอิเล็กทรอนิกส์  (E-Portfolio)  

นายจักรกฤษ วงษ์วานเจริญ

1. ข้อมูลทั่วไป

1.1 ข้อมูลพื้นฐาน

คติประจำใจ : เวลาผมมีผมให้ เวลาผมป่วยไข้ดูแลผมด้วย



1.2 ข้อมูลเกี่ยวกับเวลาการปฏิบัติหน้าที่ราชการ

1.4 ข้อมูลการปฏิบัติหน้าที่ (1 ตุลาคม 2565 – 30 กันยายน 2566)

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566

2. รายละเอียดประกอบการประเมินองค์ประกอบที่ 1 

การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการ ปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง


ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด

ภาระงานภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565

1.1 ชั่วโมงการสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 16 ชั่วโมง 30 นาที/สัปดาห์ ดังนี้

  รายวิชา     คณิตศาสตร์ 6 จำนวน 8 ชั่วโมง 15 นาที/สัปดาห์

รายวิชา คณิตศาสตร์เพื่อการศึกษาต่อ     จำนวน 5 ชั่วโมง 30 นาที/สัปดาห์

รายวิชา ชุมนุมหมากเกมนี้      จำนวน 55 นาที/สัปดาห์

  รายวิชา     ลูกเสือ - เนตรนารี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 55 นาที/สัปดาห์

รายวิชา แนะแนว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4     จำนวน 55 นาที / สัปดาห์

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้    จำนวน 2 ชั่วโมง 20 นาที/สัปดาห์

                            กิจกรรมจริยธรรม                                        จำนวน  55 นาที/สัปดาห์

                            กิจกรรมโฮมรูม                               จำนวน 1 ชั่วโมง 25 นาที/สัปดาห์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา    จำนวน  3  ชั่วโมง/สัปดาห์

                            หัวหน้างานธนาคารโรงเรียน                จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น                     จำนวน 1 ชั่วโมง 50 นาที/สัปดาห์

                            กิจกรรมลดเวลาเรียน-เพิ่มเวลารู้           จำนวน 55 นาที/สัปดาห์

   เศรษฐกิจพอเพียง   จำนวน 55 นาที/สัปดาห์



ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด

ภาระงานภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566

1.1 ชั่วโมงการสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 17 ชั่วโมง 25 นาที ดังนี้

  รายวิชา     คณิตศาสตร์ 3 จำนวน 7 ชั่วโมง 20 นาที

รายวิชา     คณิตศาสตร์เชิงคาดการณ์ จำนวน 5 ชั่วโมง 30 นาที

รายวิชา คณิตศาสตร์วิเคราะห์     จำนวน 2 ชั่วโมง 45 นาที

รายวิชา ชุมนุมหมากเกมนี้      จำนวน 55 นาที

  รายวิชา     ลูกเสือ - เนตรนารี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 55 นาที

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้    จำนวน 2 ชั่วโมง 20 นาที/สัปดาห์

                            กิจกรรมจริยธรรม                                        จำนวน  55 นาที/สัปดาห์

                            กิจกรรมโฮมรูม                               จำนวน 1 ชั่วโมง 25 นาที/สัปดาห์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา    จำนวน  3  ชั่วโมง/สัปดาห์

                            หัวหน้างานธนาคารโรงเรียน                จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น                     จำนวน 1 ชั่วโมง 50 นาที/สัปดาห์

                            กิจกรรม Project 



ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด

ภาระงานภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566

1.1 ชั่วโมงการสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 15 ชั่วโมง 35 นาที ดังนี้

  รายวิชา     คณิตศาสตร์ 4 จำนวน 5 ชั่วโมง 30 นาที

รายวิชา คณิตศาสตร์ 4     จำนวน 1 ชั่วโมง 50 นาที

รายวิชา     คณิตศาสตร์เพื่อการศึกษาต่อ จำนวน 5 ชั่วโมง 30 นาที

รายวิชา     แนะแนว จำนวน 55 นาที

รายวิชา ชุมนุมหมากเกมนี้      จำนวน 55 นาที

  รายวิชา     ลูกเสือ - เนตรนารี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 55 นาที

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้    จำนวน 2 ชั่วโมง 20 นาที/สัปดาห์

                            กิจกรรมจริยธรรม                                        จำนวน  55 นาที/สัปดาห์

                            กิจกรรมโฮมรูม                               จำนวน 1 ชั่วโมง 25 นาที/สัปดาห์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา    จำนวน  3  ชั่วโมง/สัปดาห์

                            หัวหน้างานธนาคารโรงเรียน                จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น                     จำนวน 1 ชั่วโมง 50 นาที/สัปดาห์

                            กิจกรรม Project 


ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน


ประเด็นที่ท้าทาย ปีการศึกษา 2565

ประเด็นท้าทาย 

เรื่องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 5 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับใช้ แบบฝึกหัดเสริมทักษะคณิตศาสตร์ ในรายวิชาคณิตศาสตร์ 

1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้

สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้

                 ในการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ที่ผ่านมา พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความสับสน เข้าใจคาดเคลื่อนในโจทย์แต่ละรูปแบบ และไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นตรงไหนในการทำโจทย์ต่างๆ ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ดังนั้น ครูผู้สอนจึงจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานประเด็นท้าท้าย โดยการศึกษา ค้นคว้าและหาวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 5 ด้วยการใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับ แบบฝึกหัดเสริมทักษะคณิตศาสตร์ 

2. รายงานความสำเร็จจากวิธีการดำเนินให้บรรลุผล 

   2.1 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2561) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนแก่งหางแมวพิทยาคาร ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2564 ในเรื่องของ มาตรฐานการเรียน และตัวชี้วัดของเนื้อหา

                   2.2 จัดทำโครงร่างของหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และ แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์

                   2.3 ให้คุณครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง ของแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ ใบความรู้ ตัวอย่าง  แบบฝึกทักษะและเฉลย พร้อมทั้งเสนอแนะ เพื่อปรับปรุง แก้ไข

               2.4 ครูผู้สอนนำแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์มาปรับปรุง แก้ไขตามคำแนะนำของคณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โรงเรียนแก่งหางแมวพิทยาคาร

                   2.6 นำแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์ ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 5

                   2.7 บันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียน ที่เกิดขึ้นจากการกิจกรรมการเรียนรู้ และสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบเป็นระยะ หากมีนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินในเรื่องใด ให้ใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน และการสอนซ่อมเสริม สำหรับใช้แก้ไขปัญหาการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ศึกษา และทำการทดสอบใหม่ จนนักเรียนมีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด


3. รายงานผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

3.1 เชิงปริมาณนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 5 ได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คณิตศาสตร์ โดยมีคะแนนทดสอบหลังเรียนผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม) คิดเป็นร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด  และนักเรียนทั้งหมดมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมจัดการเรียนรู้ ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากขึ้นไป

3.2 เชิงคุณภาพ

นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 5  มีความรู้ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปเชื่อมโยงกับเนื้อหาในระดับชั้นที่     สูงขึ้น


ประเด็นที่ท้าทาย ปีการศึกษา 2566


การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการกลุ่มร่วมกับการใช้แบบฝึกทักษะ รายวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 

1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้


คณิตศาสตร์ถือว่าเป็นวิชาที่สำคัญในชีวิตประจำวัน แต่ในการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านมา พบว่า นักเรียนขาดทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ซึ่งจะส่งผลต่อการประยุกต์ใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาต่าง ๆ ดังนั้น ครูผู้สอนจึงจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานประเด็นท้าท้าย โดยการศึกษา ค้นคว้า และหาวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ช่วยแก้ปัญหาทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการกลุ่มร่วมกับการใช้แบบฝึกทักษะ รายวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 

2. รายงานความสำเร็จจากวิธีการดำเนินให้บรรลุผล 


2.1 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2560) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนแก่งหางแมวพิทยาคาร ในเรื่องของมาตรฐาน

การเรียนรู้ และตัวชี้วัด

                           2.2 จัดทำโครงร่างของหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ เนื้อหาการเรียนคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการกลุ่มร่วมกับการใช้แบบฝึกทักษะ

                           2.3 ให้คุณครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง

ของแผนการจัดการเรียนรู้และแบบฝึกทักษะ พร้อมทั้งเสนอแนะ เพื่อปรับปรุง แก้ไข

                           2.4 ครูผู้สอนนำหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้และแบบฝึกทักษะมาปรับปรุง แก้ไขตามคำแนะนำ จากนั้นนำแผนการจัดการเรียนรู้และแบบฝึกทักษะที่ได้ปรับปรุงแก้ไขไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

                       2.6 บันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียน ที่เกิดขึ้นจากการกิจกรรมการเรียนรู้ และสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบเป็นระยะ หากมีนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินในเรื่องใด ให้ใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน และการสอนซ่อมเสริม เพื่อแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ให้นักเรียน


3. รายงานผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง


ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

                           3.1 เชิงปริมาณ

                           นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ โดยมีคะแนนผ่านเกณฑ์ค่าเป้าหมายของโรงเรียน (นักเรียนร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ในระดับ 2 ขึ้นไป)

                           3.2 เชิงคุณภาพ

                           มีความรู้ความเข้าใจในเกี่ยวกับการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และสามารถนำ

องค์ความรู้ที่ได้มาใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน


3. รายละเอียดประกอบการประเมินองค์ประกอบที่ 2

การประเมินการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา

3.1 งานที่ได้รับมอบหมายจากทางโรงเรียน

ประธานกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ผู้กำกับลูกเสือ-เนตรนารี ชั้น ม.3

ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์

ครูประจำชั้น ม.2/4

3.2 งานที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานภายนอก

4. รายละเอียดประกอบการประเมินองค์ประกอบที่ 3

การประเมินการปฏิบัติตนในการรักษาวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ