วิชา การสร้าง Web Application ม.4/10

อินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet)

หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ทาง อาทิ อีเมล เว็บบอร์ด และ โซเชียลเน็ตเวริ์ค

แนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ต คือการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างเครือข่ายสังคม ซึ่งพบว่าปัจจุบันเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดังกล่าวกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเช่น Facebook (เฟซบุ๊ก). Twitter (ทวิตเตอร์) Instragram (อินสตราแกรม) และการใช้เริ่มมีการแพร่ขยายเข้าไปสู่การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Internet) มากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีปัจจุบันสนับสนุนให้การเข้าถึงเครือข่ายผ่านโทรศัพท์มือถือทำได้ง่ายขึ้นมาก และเป็นผลสืบเนื่องมาจากเทคโนโนยี 3 จี และ 4 จี

Intranet คืออะไร

Intranet คือ ระบบเครือข่ายภายในองค์กร เป็นบริการ และการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหมือนกับInternet แต่จะเปิดให้ใช้เฉพาะสมาชิกในองค์กรเท่านั้น เป็นการจำกัดขอบเขตการใช้งาน ดังนั้นระบบอินเทอร์เน็ตในองค์กร ก็คือ "อินทราเน็ต" นั่นเอง บางครั้งถูกเรียกว่า Campus network, Local internet, Enterprise network เป็นต้น

ความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างเครือข่ายอินทราเน็ต กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ครอบคลุมทั้งโลก อินเทอร์เน็ตไม่มีใครเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง และไม่มีใครสามารถควบคุมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ แต่สำหรับเครือข่ายอินทราเน็ตมีเจ้าของแน่นอน และถูกควบคุมโดยองค์กรหรือบุคคลผู้เป็นเจ้าของ

ในการใช้งานเราสามารถเชื่อมต่ออินทราเน็ตของเรากับอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถใช้ได้ทั้ง อินเทอร์เน็ต และ อินทราเน็ต ไปพร้อม ๆ กัน แต่ในการใช้งานนั้น จะแตกต่างกันด้านความเร็ว ในการโหลดไฟล์ใหญ่ ๆ จากเว็บไซต์ในอินทราเน็ต จะรวดเร็วกว่าการโหลดจากอินเทอร์เน็ตมาก ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับจากอินทราเน็ต สำหรับองค์กรหนึ่ง คือ สามารถใช้ความสามารถต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

World Wide Web คืออะไร

World Wide Web หรือที่เรามักเรียกสั้นๆว่า Web หรือ W3 (WWW) คือ คอมพิวเตอร์ส่วนหนึ่งบนอินเตอร์เน็ต ที่ถูกเชื่อมต่อกันในแบบพิเศษที่ทำให้คอมพิวเตอร์เหล่านั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลเนื้อหาที่เก็บไว้ภายในของแต่ละเครื่องได้

World Wide Web เป็นซอฟต์แวร์ประเภทหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้อ่านและตอบโต้ข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ใน World Wide Web โดยเฉพาะ บราวเซอร์ที่พบเห็นได้มากที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ Firefox และ Google Chrome การนำเสนอข้อมูลในระบบ WWW (World Wide Web) พัฒนาขึ้นมาในช่วงปลายปี 1989 โดยทีมงานจาก ห้องปฏิบัติการทางจุลภาคฟิสิกส์แห่งยุโรป (European Particle Physics Labs) หรือที่รู้จักกัน ในนาม CERN (Conseil European pour la Recherche Nucleaire) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้มี การพัฒนา ภาษาที่ใช้สนับสนุน การเผยแพร่เอกสารของนักวิจัย หรือเอกสารเว็บ (Web Document) จากเครื่องแม่ข่าย (Server) ไปยังสถานที่ต่างๆ ในระบบ WWW เรียกว่า ภาษา HTMLGoogle Chrome

การเผยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ผ่านสื่อประเภทเว็บเพจ (WebPage) เป็นที่นิยมกันอย่างสูงในปัจจุบัน ไม่เฉพาะข้อมูลโฆษณาสินค้า ยังรวมไปถึงข้อมูลทางการแพทย์ การเรียน งานวิจัยต่างๆ เพราะเข้าถึงกลุ่มผู้สนใจได้ทั่วโลก ตลอดจนข้อมูลที่นำเสนอออกไป สามารถเผยแพร่ ได้ทั้งข้อมูลตัวอักษร ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง และภาพเคลื่อนไหว มีลูกเล่นและเทคนิคการนำเสนอ ที่หลากหลาย อันส่งผลให้ระบบ WWW เติบโตเป็นหนึ่ง ในรูปแบบบริการ ที่ได้รับความนิยมสูงสุดของ ระบบอิน

ลักษณะเด่นของการนำเสนอข้อมูลเว็บเพจ

สามารถเชื่อมโยงข้อมูลไปยังจุดอื่นๆ บนหน้าเว็บได้ ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บอื่นๆ ในระบบเครือข่าย ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า HyperText หรือข้อความที่มีความสามารถ มากกว่าข้อความปกตินั่นเอง จึงมีลักษณะคล้ายกับว่าผู้อ่านเอกสารเว็บ สามารถโต้ตอบกับเอกสารนั้นๆ ด้วยตนเอง ตลอดเวลาที่มีการใช้งานนั่นเอง

โดเมนเนม คืออะไร?

โดเมนเนม (domain name) คือ ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ เพื่อไปค้นหาในระบบ โดเมนเนมซีสเทม (Domain Name System) เพื่อระบุถึง ไอพีแอดเดรส ของชื่อนั้นๆ เป็นชื่อที่ผู้จดทะเบียนระบุให้กับผู้ใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของตน บางครั้ง เราอาจจะใช้ "ที่อยู่เว็บไซต์" หรือ "Web Address" แทนก็ได้

โดเมนเนม หรือ ชื่อโดเมน เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เนื่องจากไอพีแอดเดรสนั้นจดจำได้ยาก และเมื่อเจ้าของเว็บไซต์มีการเปลี่ยนแปลงไอพีแอดเดรส ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสใหม่ ยังคงใช้โดเมนเนมเดิมได้ต่อไป

การใช้งานโดเมน โดยทั่วไป โดเมนจะใช้งาน 2 จุดประสงค์ คือ

  1. เว็บไซต์ : ให้ชื่อโดเมนเป็นทางเข้าเว็บไซต์

  2. อีเมล : ใช้เป็นที่อยู่อีเมล ตัวอย่างเช่น example@domain-name.com


ภาษา HTML คืออะไร?

ความหมายของ HTML ย่อมาจากภาษาอังกฤษในคำว่า Hypertext Markup Language ซึ่งถ้าแปลความหมายให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้นนั่นก็คือ เป็นภาษาที่ไว้สำหรับการสร้างเพจหรือเว็บไซต์ ภาษาตรงนี้จะไว้สำหรับการกำหนดรูปแบบของเว็บไซต์ว่าควรจะมีหน้าตาหรือควรจะมีลักษณะจุดเด่นอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น บางครั้งเราอาจจะเห็นในเรื่องของหน้าเว็บไซต์บางเว็บไซต์ที่มีตัวหนังสือ ที่สวยงามหรือมีลูกเล่น และสีสันต่างๆ หรือมีการใช้ในส่วนของทำภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ซึ่งภาษาในการเขียนเว็บอย่าง HTML เหล่านี้นี่แหละที่จะเป็นตัวบ่งบอกถึงคำสั่งในการจัดรูปแบบหน้าเพจหรือข้อความต่างๆ หน้าเว็บไซต์ได้เป็นอย่างดี

ไม่ใช่นักทำเว็บไซต์ จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ภาษา HTML ไหม?

สำหรับผู้ที่จะต้องการสร้างเพจหรือเว็บไซต์ควรจะเรียนรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษา HTML เอาไว้บ้างเพื่อเอาไว้ทำการเชื่อมโยง tag ข้อมูลต่างๆ บนหน้าเว็บไซต์ของเราให้มีการลิงค์ข้อมูลหากัน

Tag คืออะไร?

Tag คือ การเชื่อมโยงทุกอย่างเข้าหากันอย่างง่ายดาย ความสัมพันธ์ตรงนี้จะส่งผลไปถึงผู้ที่เข้ามาดูที่หน้าเว็บไซต์ การเชื่อมข้อมูลให้กับทุกคนที่เข้ามาที่หน้าเว็บไซต์จะสามารถเป็นตัวดึงดูดลูกค้า หรือดึงดูดคนทั่วไปให้อยู่กับเว็บไซต์ของเราได้มากยิ่งขึ้น

ภาษา HTML ทำให้คอมพิวเตอร์เชื่อมโยงหากัน

การใช้ภาษา HTML อาจจะไม่ได้ทำให้กับผู้คนโดยทั่วไปนั้นอ่านทำความเข้าใจ แต่จะเป็นภาษาพื้นฐานในการใช้งานที่หน้าเว็บไซต์และหน้าเพจ การเขียน HTML นั้นเราจะเขียนขึ้นมาเพื่อให้คอมพิวเตอร์นั้นอ่านแล้วเข้าใจวิธีการเชื่อมโยงคำสั่งต่างๆ ทั้งหมด HTML จึงเคยจำเป็นอย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการจะเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการสร้างเว็บไซต์หรือการสร้างเพจ เรียกว่าเป็นภาษาแรกที่มือใหม่สามารถหัดเรียนรู้ได้ง่ายๆ ว่าจะใช้คำสั่งไหนเพื่อให้เว็บไซต์หรือหน้าเพจออกมาตามที่เรากำหนด


Web Browser คืออะไร?

Web Browser (เว็บเบราว์เซอร์) คือ โปรแกรมที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลและติดต่อสื่อสารในรูปแบบ Webpage (เว็บเพจ) โดยโปรแกรมจะแปลงภาษาคอมพิวเตอร์ HTML ให้เป็นภาษาที่คนทั่วไปสามารถอ่านและเข้าใจได้บนหน้าเว็บ

การใช้งาน Web Browser ในการเข้าชมเว็บไซต์นั้น ผู้ใช้งานจะต้องกรอก Domain Name (โดเมนเนม) ลงไปเวลาต้องการเข้าไปยังเว็บไซต์ต่างๆ โดย Domain Name จะนำมาใช้แทน IP Address (ไอพี แอดเดรส) หรือที่อยู่ของเว็บไซต์ที่เป็นตัวเลขซึ่งจดจำได้ยาก

ตัวอย่าง Web Browser ที่นิยมใช้

Google Chrome

Chrome พัฒนาโดย Google เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2008 สามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการทั้ง Windows, Linux, McOS, iOS และ Android และเคยได้รับความนิยมมากที่สุด แต่ปัจจุบันจัดเป็นหนึ่งในโปรแกรมที่ใช้ทรัพยากรพื้นที่บนคอมพิวเตอร์เปลืองที่สุด แต่ข้อดีคือเชื่อมโยงกับบัญชีต่างๆ ของ Google ทำให้ใช้งานสะดวก

Mozilla Firefox

Firefox เป็น Web Browser ที่โดดเด่นด้วยไอคอน จิ้งจอกไฟ พัฒนาขึ้นโดยมูลนิธิ Mozilla และอาสาสมัครอีกหลาย 100 คน สามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการได้หลายแบบ ตั้งแต่ Windows, McOS10, Linux ครั้งหนึ่งเคยเป็น Web Browser ที่ดีที่สุดเลยทีเดียว โดยมีแถบเครื่องมือใช้งานและแท็บหน้าต่างอินเทอร์เน็ตที่เรียบง่าย ไม่รกสายตา เวอร์ชั่นล่าสุดยังรองรับผลการแสดงเว็บไซต์ในรูปแบบ 3 มิติด้วย

Safari

Safari พัฒนาโดยบริษัท Apple เพื่อทำงานบนระบบปฏิบัติการ iOS โดยเคยมี Safari ที่ใช้งานบนระบบ Windows ได้ แต่ปัจจุบันปิดตัวไปแล้ว หน้าตาของซาฟารีจะมีสีเงินวาว หรือที่เรียกว่า Brush Metal เหมือนกับ iTunes ซอฟต์แวร์เล่นเพลงของ iOS ส่วนความเร็วของ Browser ทางแอปเปิลได้กล่าวว่า Safari นั้นมีความเร็วที่สุดเมื่อเทียบกับตัวอื่นๆ

Internet Explorer

Internet Explorer หรือ IE เป็น Web Browser ที่มีความเก่าแก่ที่สุด เพราะเป็นโปรแกรมพื้นฐานที่มีมาพร้อมระบบปฏิบัติการ Windows 3.11 และยังคงมีอยู่ถึงปัจจุบัน รุ่นล่าสุดของ Internet Explorer (ปี 2022) คือ Internet Explorer 11 รองรับการใช้งานสำหรับ Windows 7, Windows Server 2008, Windows 8, Windows Server 2012, Windows 8.1, Windows Server 2012 R2 และ Windows 10 ซึ่งมีประสิทธิภาพในการเข้าอินเทอร์เน็ตสูงขึ้น และการันตีว่าใช้ Ram และ CPU น้อยกว่า Firefox และ Chrome ทีเดียว

หมายเหตุ: Microsoft ได้ประกาศเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2021 ว่า Internet Explorer 11 จะเป็นเวอร์ชันสุดท้ายของเบราว์เซอร์ Internet Explorer บน Desktop และจะหยุดสนับสนุนตั้งแต่ 15 มิถุนายน 2022 เป็นต้นไป นอกจากนี้ยังได้ประกาศว่า อนาคตของ Internet Explorer บน Windows 10 นั้นก็คือ Microsoft Edge

Microsoft Edge

Microsoft Edge เป็น Web Browser ตัวใหม่ของ Microsoft ที่มาใช้งานแทน Internet Explorer โดยสามารถทำงานได้เร็วกว่า ปลอดภัยกว่า และยังรองการใช้งานกับเว็บสมัยใหม่ นอกจากนี้ก็ยังมี Internet Explorer mode (IE mode) สำหรับใช้งานเว็บไซต์รุ่นเก่าๆ อีกด้วย

Web Browser (เว็บเบราว์เซอร์) ที่ดีนั้น จำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ มีความเร็ว และไม่กินพื้นที่บนคอมพิวเตอร์ ทว่าแต่ละแบบก็มีข้อจำกัดแตกต่างกันไป หรืออาจเหมาะกับระบบปฏิบัติการที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นการเลือกใช้ Web Browser แบบไหนจึงขึ้นอยู่กับการใช้งานของเรานั่นเอง



หน่วยการเรียนรู้


หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ปฐมนิเทศ

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

- ปฐมนิเทศรายวิชา เนื้อหา ข้อตกลง 1


หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 พื้นฐานการสร้างเว็บไซต์

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 2

- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต

- กระบวนการพัฒนาเว็บไซด์

- หลักการออกแบบเว็บไซด์


หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 โปรแกรมออกแบบและสร้างเว็บไซต์

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 2

- ความหมายของ โปรแกรมออกแบบและสร้างเว็บไซต์

- วิธีการเปิด-ปิด โปรแกรมออกแบบและสร้างเว็บไซต์

- ส่วนประกอบของ โปรแกรมออกแบบและสร้างเว็บไซต์

- แถบเครื่องมือต่าง ๆของโปรแกรมออกแบบและสร้าง เว็บไซต์


หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การสร้างเว็บเพจเว็บไซต์ และการจัดตกแต่ง

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 2

- การสร้างเว็บเพจและเว็บไซต์

- การสร้างข้อความ

- การใส่ลูกเล่นข้อความบนเว็บเพจ

- การจัดรูปแบบข้อความ


หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การตกแต่งเว็บเพจด้วยรูปภาพ

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 2

- ความแตกต่างระหว่างรูปภาพแต่ละประเภท

- การแทรกรูปภาพ

- ขั้นตอนเกี่ยวกับการกหนดคุณสมบัติของรูปภาพการ จัดการรูปภาพ


หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การสร้างตาราง

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 1

- การสร้างตาราง

- การปรับแต่งตาราง



หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 การสร้างจุดเชื่อมโยง

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 2

- การเชื่อมโยงในเว็บเพจเดียวกัน

- การเชื่อมโยงภายในเว็บไซต์เดียวกัน

- การเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่น

- การเชื่อมโยงไปยังอีเมล์

- การเชื่อมโยงโดย Map Link

- การเชื่อมโยงด้วย Rollover Image


หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 การสร้างเฟรมเซต

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 2

- ลักษณะของเฟรม

- การสร้างเฟรมเซตและเฟรมย่อย

- การปรับแต่งเฟรม

- การก˚าหนดคุณลักษณะของเฟรม

- การแทรกเนื้อหาลงในเฟรม

- การบันทึกหน้าเว็บและเฟรมเซต

- การเชื่องโยงหน้าเว็บในเฟรมเซต


หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 การตกแต่งเว็บเพจด้วยแบนเนอร์ (Banner) และฟุตเตอร์ (Footer)

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 2

- การแทรกแบนเนอร์ (Banner) และ ฟุตเตอร์ (Footer)

- การเปลี่ยนชื่อที่แสดงของเว็บเพจบนอินเทอร์เน็ต


หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 การใช้มัลติมีเดียในเว็บเพจ

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10 2

- การแทรกมัลติมีเดียในเว็บเพจ

- การแทรกไฟล์ Shockwave ในเว็บเพจ

- การแทรกไฟล์ FLV ในเว็บเพจ

- การแทรกไฟล์เพลงและการแทรกไฟล์เสียงในเว็บเพจ

- การกำหนดคุณสมบัติของ Flash Movie ในเว็บเพจ


หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 การอัพโหลดเว็บไซต์



แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 11

- การจดทะเบียนโดเมนเนม 2

- การจัดหาพื้นที่ฝากเว็บไซต์บนเว็บเซิร์ฟเวอร์

- การอัพโหลดเว็บไซต์เข้าสู่เว็บเซิร์ฟเวอร์

สมาชิกในกลุ่ม 1

28241 น.ส. ปุณยาพร ธรรมวะสา

28421 น.ส. ปริยากร ม่วงศิริ

28428 น.ส. ภูริชญา วันดี

28430 น.ส. เมวิยาภรณ์ มะลิหน


★★★★

#1__0664 พื้นฐานโปรแกรมสาหรับพัฒนาเว็บไซต์ adebe Dreamweaver

สมาชิกในกลุ่ม 2

28242 น.ส. พริม จีนเสวก

28252 นาย สิทธิกานต์ มาสุข

28285 นาย ยุทธะพงษ์ คงน้ำ

30476 น.ส. สุพิตา ปิ่นแก้ว


★★★★

#1__0664 พื้นฐานโปรแกรมสาหรับพัฒนาเว็บไซต์ adebe Dreamweaver


สมาชิกในกลุ่ม 3

28283 นาย ณัฏฐพร แก้วสว่าง

28377 น.ส. นันท์นภัส เภาพาน

28446 น.ส. กุลชญา จูเจียม

30471 น.ส. กุลพัชร แก่นโพธิ์


★★★★

#1_230664 พื้นฐานโปรแกรมสาหรับพัฒนาเว็บไซต์ adebe Dreamweaver

สมาชิกในกลุ่ม 4

28258 น.ส. ชมธนัท เสนาอินทร์

28301 น.ส. ปพิชญานันท์ มีเฉย

28398 น.ส. สุพรรษา ครุฑอินทร์


★★★★

#1__0664 พื้นฐานโปรแกรมสาหรับพัฒนาเว็บไซต์ adebe Dreamweave

สมาชิกในกลุ่ม 5

28445 น.ส. กัลยกร รุจิฉาย

28449 น.ส. ชนิกานต์ เทพณรงค์

28451 น.ส. ณตนภา จินดาอินทร์


★★★★

#1__0664 พื้นฐานโปรแกรมสาหรับพัฒนาเว็บไซต์ adebe Dreamweave

สมาชิกในกลุ่ม 6

28330 น.ส. ณภษภร ดีจริง

28334 น.ส. ณัฐวรรณ อิศรางกูร ณ อยุธยา

28480 น.ส. สุพิชชา จานแบบ

30477 นาย ณัฏฐชัย แก้วกระจ่าง


★★★★

#1__0664 พื้นฐานโปรแกรมสาหรับพัฒนาเว็บไซต์ adebe Dreamweaver

สมาชิกในกลุ่ม 7

28499 น.ส. ณาณุพร จินดาอินทร์

30472 น.ส. ชนัญญา ขำสุด

30473 น.ส. ฐาปนี ละมั่งทอง

30474 น.ส. ปิ่นสุดา เดชขนาด


★★★★

#1__0664 พื้นฐานโปรแกรมสาหรับพัฒนาเว็บไซต์ adebe Dreamweave

สมาชิกในกลุ่ม 8

28279 นาย ก่อบุญ คงศรี

28280 นาย การัณยภาส ฮกเจริญ

28288 นาย สุทธภัทธ์ กถาไชย


★★★★

#1__0664 พื้นฐานโปรแกรมสาหรับพัฒนาเว็บไซต์ adebe Dreamweave

สมาชิกในกลุ่ม 9

28394 น.ส. วีรยา เหลืองสมบูรณ์

30475 น.ส. พิมพ์กัญญพร จ้อยทรัพย์

30478 นาย ณัฐนนท์ มณีจันสุข

30481 นาย สหรัฐ พรหมพงษ์


★★★★

#1_230664 พื้นฐานโปรแกรมสาหรับพัฒนาเว็บไซต์ adebe Dreamweaver


สมาชิกในกลุ่ม 10

28500 น.ส. ดารินทร์ โพธิ์ทอง

28504 น.ส. นิตย์ธีรา ปุ่มเกวียน

28505 น.ส. ปวีณา เอี่ยมสำอาง

28506 น.ส. พัชรพร สอนแสง


★★★★

#1__0664 พื้นฐานโปรแกรมสาหรับพัฒนาเว็บไซต์ adebe Dreamweave

สมาชิกในกลุ่ม 11

28244 น.ส. สุรดา ธรรมผล

28427 น.ส. พิมพ์พิสุทธิ์ สอนเพ็ชร์

28534 น.ส. ธวัลรัตน์ ลิ่มเกิด

28543 น.ส. พลอยชล ชาญสิทธิ์สุวรรณ


★★★★

#1__0664 พื้นฐานโปรแกรมสาหรับพัฒนาเว็บไซต์ adebe Dreamweave

สมาชิกในกลุ่ม 12

28501 น.ส. ธัญญารัตน์ เบี้ยเลี่ยม

30479 นาย ตรีวิทย์ เเจ้งเจริญ

30480 นาย วรพล สีหะอำไพ



★★★★

#1__0664 พื้นฐานโปรแกรมสาหรับพัฒนาเว็บไซต์ adebe Dreamweave


รหัสวิชา ง30233การสร้าง WEB Application กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เวลา 20 ชั่วโมง จำนวน 0.5 หน่วยกิต

คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาเกี่ยวกับหลักการสร้างเว็บเพจด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป Adebe Dreamweaver การประยุกต์การสร้างเว็บไซต์ การจัดและการตกแต่งข้อความ การแทรกรูปภาพลงในเว็บเพจ การสร้างตาราง การสร้างการเชื่อมโยงในแต่ละหน้าเว็บเพจ เว็บไซต์ การแบ่งหน้าเว็บเพจเป็นส่วน ๆ การสร้างฟอร์มเพื่อรองรับข้อมูลจากผู้ใช้ การประยุกต์สร้างเลเยอร์ในการตกแต่งเอกสารเว็บเพจ การแทรกมัลติมีเดียสื่อต่างๆ ลงในเว็บเพจ การจัดการเว็บไซต์ เช่น การขอพื้นที่เพื่อรองรับเว็บไซต์ของเรา การขอใช้บริการเสริมต่างๆ การนำเว็บไซต์ขึ้นสู่อินเทอร์เน็ต ปฏิบัติและประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Adobe Dreamweaver ในการสร้างเว็บเพจ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ความเข้าใจ กระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการแก้ปัญหา ความสามารถในการคิด การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และเกิดเจตคติที่ดีทำให้สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในทางสร้างสรรค์ได้

ตัวชี้วัด

1.สามารถบอกความหมายและความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตได้

2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นของโปรแกรม Adobe Dreamweaver

3. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์ การจัดการเว็บไซต์ได้

4. เข้าใจการทํางานต่าง ๆ ของการเริ่มต้นการทํางาน สามารถติดตั้ง App Server และใช้งานได้



การสร้างหน้า login ใน Dreamweaver CS6โดยใช้Appserv

พื้นฐานที่ควรรู้ก่อนสร้างเว็บ ! | พื้นฐาน HTML5&CSS3 ใน 3 ชั่วโมง Ep.0

มาเรียนเขียนเว็บด้วย HTML 5 !! ฉบับที่เร็วที่สุด !

Adobe Dreamweaver CS6: ทำงานกับ web font ง่ายกว่าเดิม



URL คืออะไร

URL ย่อมาจากคำว่า Uniform Resource Locator คือ ที่อยู่ (Address) ของข้อมูลต่างๆในInternet เช่น ที่อยู่ของไฟล์หรือเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต


ในปัจจุบันเว็บไซต์ เป็นแหล่งที่อยู่ใหม่ของหลายๆธุรกิจช่องทางที่สามารถเข้าถึงได้อย่างง่าย และยังสามารถใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลาเว็บไซต์เป็นแหล่งที่รวมรวบข้อมูลต่างๆไว้และแสดงให้เห็นผ่านเว็บเบราว์เซอร์ ปกติแล้วเว็บไซต์จะมีชื่อและที่อยู่ของมันเองเพื่อให้ระบุได้ว่าเป็นเว็บไซต์ของใครโดยชื่อของเว็บไซต์หรือ Domain name(โดเมน เนม) จะไม่ซ้ำกันของแต่ละเว็บซึ่งการเปิดให็บริการเว็บไซต์จะมีการจดโดเมนเนมก่อนจึงจะสามารถให้บริการได้

ปัจจุบันได้มีการแบ่งกลุ่มของโดเมนออกเป็นแต่ละประเภท

การแบ่งกลุ่มโดเมนของสหรัฐอเมริกา

  • com : กลุ่มธุรกิจการค้า
    เช่น www.hotmail.com, www.clipmass.com

  • .org : หน่วยงานไม่หวังผลกำไร
    เช่น thai.tourismthailand.org, th.wikipedia.org

  • .net : หน่วยงานเกี่ยวกับเครือข่าย
    เช่น www.flashfly.net, www.thailand.net

  • .mil : หน่วยงานทหาร
    เช่น www.uscg.mil, www.dla.mil

  • .gov : หน่วยงานรัฐบาล
    เช่น www.cia.gov, www.state.gov

  • .edu : สถาบันการศึกษา
    เช่น www.bbc.th.edu, www.kasemptc.th.edu

การแบ่งกลุ่มของประเทศอื่นๆ

  • .co : ภาคเอกชน
    เช่น www.cointernet.co.th, www.pizza.co.th

  • .or : องค์กรไม่หวังผลกำไร
    เช่น www.redcross.or.th, www.bot.or.th

  • .go : หน่วยงานราชการ
    เช่น www.immigration.go.th, www.customs.go.th

  • .ac : สถาบันการศึกษา
    เช่น www.satriwit.ac.th, www.sg.ac.th


ทั้งหมดนี้ คือที่อยู่บนเว็บ หรือ ที่อยู่อินเทอร์เน็ต ซึ่งปกติแล้วเรามักพิมพ์ยูอาร์แอลในแถบที่อยู่ของเว็บเบราว์เซอร์เพื่อเรียกข้อมูลจากเว็บไซต์ เรียกโดยย่อว่า ยูอาร์แอล (URL)

รูปแบบของ URL จะประกอบด้วย

http://www.mindphp.com/support/urlfaq.htm

1. ชื่อโปรโตคอลที่ใช้ (http ซึ่งย่อมาจาก HyperText Transfer Protocol)

2. ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ และชื่อเครือข่ายย่อย (www.mindphp)

3. ประเภทของเวบไซต์ (.com) ซึ่งมีอยู่ หลาย ประเภท คือเช่น .com (Commercial),.edu (Educational),.org (Organizations),.net (Network), .co.th (บริษัทในประเทศไทย ดูเพิ่มเติมที่นี่) ฯลฯ

4. ไดเร็กทอรี่ (/support/)

5. ชื่อไฟล์และนามสกุล (urlfaq.htm)


ความสำคัญของ URL คือเวลาเราเข้าเว็บไซต์เราก็ต้องพิมพ์ URL ลงในช่อง url address ของ web browser เช่น จะเข้าเว็บ google.comก็ต้องพิมพ์ http://www.google.com หรือ จะพิมพ์ google.com ก็ได้ไม่ต้องมี http://www.ก็ได้เดี๋ยว Browser มันจะเติมให้เราเอง ดังนั้นการอ้างอิงของข้อมูลบนอินเตอร์เนตต้องระบุ URL ให้ถูกต้อง มิฉะนั้นจะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นได้


ข้อมูลอ้างอิง

http://www.bloggang.com

http://pirun.kps.ku.ac.th