คอมพิวเตอร์กับแอปพลิเคชัน

ครูสุทัศน์ สัตย์ประเสริฐ

ระบบการใช้งาน Cloud Computing (CC) ในปัจจุบัน

เราจะเห็นว่าทั้งหมดมี 4 แบบ ได้แก่

1. Public Cloud

เป็นระบบ Cloud ที่ให้บริการแบบสาธารณะหรือจะบอกว่าใครๆ ก็สามารถเข้าไปใช้ Resource ในระบบได้ ระบบถูกสร้าง ออกแบบและดูแลโดยผู้บริการ Cloud ทั้งสิ้น ตัวอย่าง Public Cloud เช่น Microsoft Azure, Amazon AWS, GoGrid, RackSpace, Saleforce.com, Google App Engine และ DeepOcean เป็นต้น สังเกตได้ว่าคุณเองก็สามารถเรียกใช้บริการได้ทันที ด้วยตัวเองเพียงเข้าไปที่เว็บไซด์ของผู้ให้บริการ

ข้อเด่น

- Resource มีขนาดใหญ่มาก สามารถตอบสนองได้ทุกความต้องการได้ทันทีและปรับลดขยายได้ตามความต้องการ

- จ่ายเงินเท่าที่จำเป็นต้องใช้ เริ่มต้นตั้งแต่ 500 - 100,000 บ.ต่อเดือนหรือสูงกว่า

- การลงทุนเริ่มต้นต่ำ

- มี Features อื่นๆ อีกมากมายรองรับการใช้งานในรูปแบบที่หลากหลาย และถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

- มีมืออาชีพเป็นผู้ดูแลระบบให้ ความเสี่ยงที่ระบบจะล่มด้วยปัจจัยต่างๆ จึงต่ำกว่า

- มี Data Center กระจายอยู่หลายแห่งตามภูมิภาค ทำให้รองรับกับผู้ใช้งานที่กระจายอยู่ทั่วโลก

ข้อด้อย

- อำนาจการควบคุมส่วนใหญ่อยู่ที่ผู้ให้บริการ ทำให้ขาดความหยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ

- ความเร็วให้การรับส่งข้อมูล เนื่องจาก Data Center ของผู้ให้บริการส่วนใหญ่จะวางอยู่ที่ต่างประเทศ หรือจะเลือกใช้ Local Public Cloud ในประเทศไทยเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้

- การใช้งานในระยะยาวอาจจะไม่คุ้มค่า หากขาดการวางแผนที่ดี

- และสิ่งที่เป็นที่กังวลมากที่สุดคือ ความปลอดภัยของข้อมูลที่จะถูกเก็บอยู่ใน Public Cloud ทีเดียวกันร่วมกันคนอื่น หรือแม้แต่ความเชื่อต่อของผู้ให้บริการเอง

2. Private Cloud

ระบบ Cloud ที่ฟังก์ชั่นหลักๆ เหมือนกับ Public Cloud แต่จะต่างกันตรงที่ Private Cloud หนึ่งอันจะถูกใช้โดยหนึ่งองค์กรเท่านั้น โดยมีการบริหารจัดการ Resource ให้กับหน่วยงานภายในกันเอง ผู้ใช้ทั่วไปไม่สามารถเข้าไปใช้ Resource เหล่านั้นได้โดยตรง (ไม่นับเป็นพวก public website/application) การบริหารจัดการระบบถูกกระทำโดยบุคลากรที่เป็นขององค์กรโดยตรงหรือจะจ้างให้ผู้รับผิดชอบภายนอกก็ได้ สำหรับตัว Data Center จะตั้งอยู่ภายในหรือภายนอกองค์กรก็ได้ แต่ต้องยังคงเป็นระบบปิดที่ Resource ทั้งหมดถูกใช้โดยหนึ่งองค์กรเท่านั้น ถึงจะเรียกว่า Private Cloud ได้

ข้อเด่น

- สบายใจได้ว่าข้อมูลนั้นถูกเก็บไว้ภายในระบบขององค์กรเท่านั้น

- สามารถควบคุมระบบได้เต็ม 100%

- ควบคุมค่าใช้จ่ายได้ที่เกิดขึ้นจากระบบ Cloud ได้แน่นอน

- ช่วยลดภาระต้นทุนการค่าใช้จ่ายที่เกิดจาก Physical Hardware เดิมที่มีอยู่จำนวนมาก เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าเช่าพื้นที่ เป็นต้น

- ใช้ Feature ทุกอย่างได้เต็มที่โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

- ช่วยเพิ่มศักยภาพด้านบุคลากรและระบบ IT ภายในองค์กร เพราะมีผู้ที่รับผิดชอบดูแลระบบโดยตรง ทำให้มีความคุ้มค่าในการใช้งานได้สูงสุด

- ความเร็วในการใช้งาน Application ที่อยู่ภายในทำได้เร็วกว่ารวมถึงการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการภายในประเทศเดียวกันหรือใกล้เคียง

- ไม่เปลื่อง Internet Bandwidth หากการใช้งานส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากบุคคลภายในองค์กรเอง

ข้อด้อย

- หากขาดการดูแลที่ดี ข้อมูลที่อยู่ใน Private Cloud ก็ไม่ได้แปลว่าจะปลอดภัยเสมอไป

- จำเป็นต้องมีผู้ดูแลระบบที่มีความรู้ความสามารถ และความรับผิดชอบสูงมากในการบริหารจัดการ

- การลงทุนแรกเริ่มสูง

- การวางแผนเพื่อย้ายระบบที่เป็น Physical เดิมมายัง Cloud ไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งอาจเกิด Cost ที่จำเป็นต้องจ่ายเพิ่มอย่างไม่คาดคิด เช่น ค่าที่ปรึกษา ค่าย้ายระบบ และระบบอาจล่มได้

- ปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน เช่น ไฟฟ้าดับ ไฟไหม้ ภัยธรรมชาติต่างๆ

- ระบบ Cloud ยังคงต้องมีส่วนของ Security, Networking, Backup Solution และ Analytic ซึ่งจำเป็นต้องจ่ายเงินเพิ่มเพื่อให้ได้ระบบพวกนี้มาโดยสมบูรณ์

- ส่วนใหญ่จะรองรับเฉพาะการบริการ IaaS หากเป็น PaaS และ SaaS ก็ยังคงต้องไปใช้บริการ Public Cloud อยู่ดี

3. Community Cloud

คล้ายๆ กับ Private Cloud แต่จะต่างกันตรงที่มีมากกว่าหนึ่งองค์กรเข้ามาใช้ระบบ Cloud เดียวกัน โดยกลุ่มขององค์กรเหล่านั้นจะเป็นลักษณะที่ว่าข้อมูลสามารถแชร์ซึ่งกันและได้อยู่แล้ว หน่วยงานของรัฐบาล ข้อมูลด้านสุขภาพ หรือเป็นกลุ่มบริษัทในเครือเดียวกัน ส่วน Data Center อาจจะอยู่ภายในองค์กรใดองค์กรหนึ่งหรือไม่ก็ได้ ผู้รับผิดชอบก็ขึ้นอยู่จะตกลงกันว่าจะใช้บุคลากรภายในหรือภายนอกเป็นผู้ดูแล

ข้อเด่น

- เชื่อว่าจะช่วยลดต้นทุนในการสร้างและดูแลระบบได้ เพราะแทนที่จะสร้าง 10 Data Center แยกกัน ก็มาสร้างที่เดียวมีผู้ดูแลรับผิดชอบกลุ่มเดียวแบบองค์รวม

- องค์กรไม่ต้องแบกภาระเรื่องการบริหารจัดการและดูแลระบบทั้งหมด พูดง่ายๆ คือรวมเงินกันได้มาก ก็สร้างและจ้างบริษัทด้านนอกมาดูแลเลย

ข้อด้อย

- การที่แต่ละองค์กรจะตกลงร่วมกันเพื่อใช้ Central System ไม่ใช่เรื่องง่าย บางครั้งแค่ปัญหาภายในก็เกินที่จะแก้ไขแล้ว

- การจะหาผู้ที่เข้ามารับผิดชอบบริหารจัดการระบบนั้นเป็นเรื่องยาก เนื่องจากจะต้องแบกรับหน้าที่และความรับผิดชอบสูงมาก เพราะจะต้องดูแลระบบที่มีหลายๆ องค์กรเข้ามาใช้งานในเวลาเดียวกัน ซึ่งถ้าหากขาดมาตรฐาน หรือทำข้อตกลงในการใช้งานไว้ไม่ดี ก็จะเกิดผลเสียมากกว่าผลดีในระยะยาวได้

- หากระบบเกิดปัญหาขึ้น ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม จะส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง

4. Hybrid Cloud

คือการผสมผสานการใช้งาน Private กับ Public Cloud ร่วมกัน โดยเป็นการนำข้อดีของแต่ละแบบมาช่วยเสริมกัน การที่จะเป็น Hybrid Cloud ได้นั้นระบบทั้ง 2 จะต้องมีการเชื่อมต่อกัน สามารถแบ่งหรือกระจาย Load ไปมาระหว่างกันได้ สามารถสั่งให้ application ไปทำงานบน Public หรือย้ายกลับมาทำใน Private ได้ โดยผ่านระบบการควบคุมบริหารจัดการที่สามารถทำงานร่วมกันได้

ข้อเด่น

- ต้นทุนในการลงทุนแรกเริ่มอาจไม่สูงเท่ากับ Private Cloud เพียวๆ

- เราสามารถเลือกได้ว่าข้อมูลหรือ application อะไรจะเก็บไว้ที่ไหน

- มีความหยืดหยุ่นในการขยายตัวของระบบสูง ในช่วงเวลาที่ต้องการ Resource มากเกินกว่าที่ Private จะรองรับได้ ก็สามารถปรับให้ Public Cloud ช่วยทำงานได้

- การรับ-ส่งข้อมูลระหว่าง Public และ Private จะถูกบังคับให้ทำการ Encryption ก่อนจึงปลอดภัยในเรื่องข้อมูล

- เราสามารถนำ Hybrid Cloud มาประยุกต์ใช้ให้เป็น Production และ DR system ได้โดยไม่ต้องไปตั้ง DC ของตัวเอง 2 ที่

ข้อด้อย

- ระบบมีความซับซ้อน จำเป็นต้องมีวางแผนและออกแบบโดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญสูง

- ระบบที่ซับซ้อน ย่อมส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ ผู้ดูแลระบบจึงต้องมีความรู้ความสามารถสูงตามไปด้วย

- ใครจะเป็นตัดสินใจว่าอะไรจะไปอยู่ใน Public หรือ Private เพราะแน่นอนว่าหน่วยงานภายในย่อมอยากให้ระบบของตัวเองอยู่ภายใน เพราะจะได้ประโยชน์และข้อดีในหลายๆ ด้านมากกว่า

- การ Integrate ของระบบทั้ง 2 จะต้องใช้ Software ที่มีประสิทธิภาพสูง หากทั้งสองฝั่งเป็นละ Platform ย่อมมีโอกาสที่จะเจอบัคที่ไม่คาดคิดและไม่มีใครเคยเจอได้ง่ายๆ

เราจะเห็นว่าแต่ละระบบแต่ละรูปแบบมีทั้งข้อเด่นข้อด้อยด้วยกันทั้งนั้น อีกทั้ง Technology Cloud ถือว่าใหม่สำหรับวงการ IT ยิ่งในประเทศไทยของเราด้วยแล้วน้อยคนนักที่จะมีความเข้าใจอย่างท่องแท้ จนถึงขั้นจะให้คำปรึกษาหรือจะเป็นผู้ช่วยอันทรงพลังที่จะทำให้เรามีความมั่นใจในการใช้ Cloud Computing

ที่มา ณัฐพล เทพเฉลิม http://pointit.blogspot.com/2015/02/cloud-computing_66.html