9.1 โมลเดลการมองเห็นสีทั่วไป

9.1 โมลเดลการมองเห็นสีทั่วไป

โดยทั่วไปแล้วสีต่าง ๆ ในธรรมชาติและสีที่ถูกสร้างขึ้น จะมีรูปแบบการมองเห็นสีที่แตกต่างกัน ซึ่งรูปแบบการ
         มองเห็นสีเรียกว่า “โมเดล (Model)” ดังนั้น จึงทำให้มีโมเดลหลายแบบดังที่เราจะได้ศึกษาต่อไปนี้
- โมเดล HSB        ตามหลักการมองเห็นสีของสายตามนุษย์
- โมเดล RGB         ตามหลักการแสดงสีของเครื่องคอมพิวเตอร์
- โมเดล CMYK     ตามหลักการแสดงสีของเครื่องพิมพ์
- โมเดล Lab          ตามมาตรฐานของ CIE
               
 โมเดล HSBตามหลักการมองเห็นสีของสายตามนุษย์ 
 เป็นลักษณะพื้นฐานการมองเห็นสีด้วยสายตาของมนุษย์ โมเดล HSB จะประกอบด้วยลักษณะของสี 3 ลักษณะ
ค่า Hue จะบอกค่าสีเป็นองศา จาก 0 องศา หมุนไปถึง 360 องศา
1.Hue เป็นสีของวัตถุที่สะท้อนเข้ามายังตาของเราทำให้เราสามารถมองเห็นเป็นวัตถุสีได้ซึ่งแต่ละสีจะแตกต่างกันตามความยาวของคลื่นแสงที่มากระทบวัตถุและสะท้อนกลับมาที่ตาของเรา Hue ถูกวัดโดยตำแหน่งการแสดงสีบน Standard Color Wheel ซึ่งถูกแทนด้วยองศา คือ 0 ถึง 360 องศา แต่โดยทั่วๆ ไปแล้ว มักเรียกการแสดงสีนั้นๆเป็นชื่อของสีเลย เช่น สีแดง สีม่วง สีเหลือง 
ค่า Saturation เริ่มตั้งแต่ 0% ที่จุดกึ่งกลางไล่ไปเรื่อยๆ จนถึง 100% ที่ชอบ
2. Saturation  คือสัดส่วนของสีเทาที่มีอยู่ในสีนั้น โดยวัดค่าสีเทาในสีหลักเป็นเปอร์เซ็นต์ดังนี้คือ จาก 0% (สีเทาผสมอยู่มาก) จนถึง 100% (สีเทาไม่มีเลย หรือเรียกว่า “Full Saturation” คือสีมีความอิ่มตัวเต็มที่) โดยค่า Saturation นี้จะบ่งบอกถึงความเข้มข้นและความจางของสี ถ้าถูกวัดโดยตำแหน่งบน Standard Color Wheel ค่า Saturationจะเพิ่มขึ้นจากจุดกึ่งกลางจนถึงเส้นขอบ โดยค่าที่เส้นขอบจะมีสีที่ชัดเจน และอิ่มตัวที่สุด
        
H+S แทนค่าสีทั้งหมดที่เกิดจาก Hue +Saturation และ B แทนค่าความสว่างตั้งแต่ 0% ถึง 100%
3.Brightness  เป็นเรื่องราวของความสว่างและความมืดของสี ซึ่งถูกกำหนดค่าเป็นเปอร์เซ็นต์จาก 0 % (สีดำ) ถึง 100% (สีขาว) ยิ่งมีเปอร์เซ็นต์มากจะทำให้สีนั้นสว่างมากขึ้น     
    

รูปแสดงแสงสีแดง เขียว และ น้ำเงินที่ผสมกันเป็นสีต่าง ๆ 
โมเดล RGB  ตามหลักการแสดงสีของเครื่องคอมพิวเตอร์
โมเดล RGB เกิดจากการรวมกันของสเปกตรัมของแสงสีแดง (Red) , เขียว (green) , และน้ำเงิน (Blue) ในสัดส่วนความเข้มข้นที่แตกต่างกัน โดยจุดที่แสงทั้งสามสีรวมกันจะเป็นสีขาว นิยมเรียกการผสมสีแบบนี้ว่า “Additive Color”แสงสี RGB มักจะถูกใช้สำหรับการส่องแสงทั้งบนจอภาพทีวีและจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งสร้างจากสารที่ทำให้เกิดแสงสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ทำให้สีดูสว่างกว่าความเป็นจริง
 โมเดล CMYK  ตามหลักการแสดงสีของเครื่องพิมพ์
รูปแสดงหมึกพิมพ์ ฟ้า บานเย็น เหลือง และสีดำ
โมเดล CMYK มีแหล่งกำเนิดสีอยู่ที่การซึมซับ (Absorb) ของหมึกพิมพ์บนกระดาษ โดยมีสีพื้นฐานคือ 
         สีฟ้า (Cyan) 
         สีบานเย็น (Magenta) 
         สีเหลือง (Yellow) 
โดยเรียกการผสมสีทั้ง 3 สีข้างต้นว่า “Subtractive color” แต่สี CMY  ก็ไม่สามารถผสมรวมกันให้ได้สีบางสี เช่น สีน้ำตาล จึงต้องมีการเพิ่มสีดำ (Black) ลงไปฉะนั้นเมื่อรวมกันทั้ง 4 สี คือ CMYK สีที่ได้จากการพิมพ์ จึงจะครอบคลุมทุกสี
 โมเดล Lab ตามมาตรฐานของ CIE
โมเดล Lab เป็นค่าสีที่กำหนดขึ้นโดย CIE (commission Internationale d ́ Eclairage)ให้เป็นมาตรฐานกลางของการวัดสีทุกรูปแบบครอบคลุมทุกสีใน RGB และ CMYK และใช้ได้กับสีที่เกิดจากอุปกรณ์ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นจอคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนและอื่น ๆ ส่วนประกอบของโหมดสีนี้ได้แก่
L   หมายถึง ค่าความสว่าง (Luminance) 
a   หมายถึง ส่วนประกอบที่แสดงการไล่สีจากสีเขียวไปยังสีแดง          
b   หมายถึง ส่วนประกอบที่แสดงการไล่สีจากสีน้ำเงินถึงสีเหลือง