1.6 ศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้

       ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์งานวิจัย เพื่อ แก้ปัญหา พัฒนา การเรียนรู้กิจกรรมแนะแนวในการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สื่อการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบระดมสมองและนำผลการศึกษาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ มาใช้แก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการจัดการเรียนรู้ 

รายงานวิจัยในชั้นเรียน ๒๕๖๖

หัวข้อวิจัย    การศึกษาบุคลิกภาพของนักเรียนในรายวิชากิจกรรมแนะแนวด้วยแบบทดสอบ MBTI ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1, 2/2 และ 2/3 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวังนนทบุรี

ผู้วิจัย          นางสาวภัคพร  น้อยยม

ปีการศึกษา  2566

รายวิชา        กิจกรรมแนะแนว

สถานศึกษา  โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี

บทคัดย่อ


       การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการศึกษาบุคลิกภาพของนักเรียนในรายวิชากิจกรรมแนะแนวด้วยแบบทดสอบ MBTI ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1, 2/2 และ 2/3 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี 2) เพื่อศึกษาความสอดคล้องระหว่างบุคลิกภาพของนักเรียนที่เรียนในรายวิชากิจกรรมแนะแนว กับบุคลิกภาพที่นักเรียนพึงจะเป็น และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการปรับปรุง/พัฒนาตนเองของนักเรียน เพื่อให้สอดคล้องกับคุณลักษณะของครูแนะแนว กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1, 2/2 และ 2/3 ปีการศึกษา 2566 ซึ่งใช้วิธีแบบทดสอบ ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า 1) บุคลิกภาพของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีลักษณะบุคลิกภาพทั้ง 16 แบบ คือ INTJ, INTP, ENTJ, ENTP, INFJ, INFP, ENFJ, ENFP, ISTJ, ISFJ, ESTJ, ESFJ, ISTP, ISFP, ESTP และ ESFP 2) ผลการศึกษาความสอดคล้องระหว่างบุคลิกภาพของนักเรียนกับบุคลิกภาพที่ใกล้เคียงกับบุคลิกภาพที่นักเรียนพึงจะเป็น พบว่ามีนักเรียนที่มีบุคลิกภาพสอดคล้อง ร้อยละ 45.46 และไม่สอดคล้อง ร้อยละ 54.54 3) นักเรียนมีการนำเสนอแนวทางปรับปรุง/พัฒนาตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1, 2/2 และ 2/3 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี ที่เรียนในรายวิชากิจกรรมแนะแนวเพื่อให้สอดคล้องกับคุณลักษณะบุคลิกภาพที่นักเรียนพึงจะเป็นในอนาคต โดยมีแนวทางการพัฒนาบุคลิกภาพทั้งภายในเช่น ความไวต่อการรับรู้ การมีมนุษยสัมพันธ์และการพัฒนาบุคลิกภาพภายนอก เช่น ความกล้าแสดงออกและกล้าแสดงความคิดเห็น เป็นมิตร มีความกระตือรือร้น และน่าเชื่อถือ เป็นต้น

 

คำสำคัญ : บุคลิกภาพ แบบทดสอบ MBTI ความแตกต่างระหว่างบุคคล 

รายงานวิจัยในชั้นเรียน ๒๕๖๕

ชื่อวิจัย: การศึกษาความต้องการบริการแนะแนวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ 

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี

ผู้ทำวิจัย: นางสาวภัคพร  น้อยยม

ตำแหน่ง: ครู

สถาบัน: โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี

ปีการศึกษาที่: ๒๕๖๕

 

บทคัดย่อ

 

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความต้องการบริการแนะแนวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ จำนวน ๒๕๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสำรวจความต้องการบริการแนะแนวของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี ๓๗ ข้อเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ๕ ระดับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย(X) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

๑.นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ มีความต้องการบริการแนะแนวโดยรวมอยู่ในระดับสูงเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน นักเรียนมีความต้องกรบริการแนะแนวอยู่ในระดับสูงทุกข้อ แล้วเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ด้านบริการจัดวางตัวบุคคล ด้านบริการให้คำปรึกษา ด้านบริการติดตามผล ด้านบริการสนเทศ และด้านบริการเก็บรวบรวมข้อมูล ตามลำดับ

๒. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ มีความต้องการบริการแนะแนว เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อเรียงลำดับตามด้านดังต่อไปนี้

๑. ด้านบริการเก็บรวบรวมข้อมูล นักเรียนมีความต้องการบริการแนะแนวอยู่ในระดับสูงทุกข้อยกเว้นข้อ ๑ คือ ต้องการให้มีการออกเยี่ยมบ้านเก็บข้อมูลส่วนตัวของนักเรียนและครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง

๒. ด้านบริการสนเทศ นักเรียนมีความต้องการบริการแนะแนวอยู่ในระดับสูงทุกข้อยกเว้นข้อ ๑๐ คือต้องการให้โรงเรียนมีการจัดปฐมนิเทศเพื่อให้นักเรียน / ผู้ปกครองรับรู้เรื่องต่างๆ ภายในโรงเรียนอยู่ในระดับ

ปานกลาง

๓. ด้านบริการให้คำปรึกษา นักเรียนมีความต้องการบริการแนะแนวอยู่ในระดับสูงทุกข้อ

๔. ด้านบริการจัดวางตัวบุคคล นักเรียนมีความต้องการบริการแนะแนวอยู่ในระดับสูงทุกข้อ

๕. ด้านบริการติดตามผล นักเรียนมีความต้องการบริการแนะแนวอยู่ในระดับสูงทุกข้อ

รายงานวิจัยในชั้นเรียน น้ำ.pdf
วิจัยในชั้นเรียน ภัคพร.pdf