ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนของผู้จัดทำข้อตกลงซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ การปรับประยุกต์ การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน   ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น 

    ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้กระบวนการ GPAS 5 Steps         เรื่อง อัตราส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 

1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้ 

  จากการจัดการเรียนการสอน ในรายวิชาคณิตศาสตร์ ค 21101 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ  หอวัง นนทบุรี พบว่า เรื่อง อัตราส่วน เป็นเนื้อหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  จัดอยู่ในสาระที่ 1 จำนวนและพีชคณิต  ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) เป็นเนื้อหาที่นักเรียนสามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายสินค้า กำไรขาดทุน ดอกเบี้ยเงินฝาก ภาษี สิ่งของปริมาณต่าง ๆ ซึ่งล้วนเป็นเรื่องใกล้ตัวของนักเรียนทั้งสิ้นอีกทั้งยังเป็นเนื้อหาที่สอดแทรกอยู่ในการประเมินผลนักเรียนในระดับนานาชาติ(PISA) (Program for International Students Assessment: PISA) เรื่อง อัตราส่วน  นักเรียนยังขาดความรู้ ความเข้าใจ บกพร่องในการตีความแปลความหมาย         ไม่เข้าใจหลักการคิดคำนวณ ขาดทักษะและขั้นตอนการหาจุดสำคัญจากปัญหาที่ได้รับ และขาดทักษะในการใช้หลักการในการ        แก้สมการ ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์และอาจส่งผลต่อเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

1.  ศึกษา วิเคราะห์หลักสูตรของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิเคราะห์และตั้งประเด็นปัญหา

2. จัดทำหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ และออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ GPAS 5 Steps               เรื่อง อัตราส่วน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566    

3.  พัฒนาสื่อที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้และช่วยเสริมสร้างความเข้าใจทักษะกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน

4.  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ วัดและประเมินผลการเรียนรู้ และบันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียน

5.  นำผลการประเมินมาจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนานักเรียนต่อไป

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

         3.1 เชิงปริมาณ

  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ GPAS 5 Steps มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์เรื่อง อัตราส่วน ผ่านเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 60 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด    

     3.2 เชิงคุณภาพ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการ GPAS 5 Steps มีผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน ผ่านเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 60

ผลลัพธ์จากการเรียนรู้ของนักเรียน 

แผนภูมิ.pdf

ภาพกิจกรรม