วิชางานเกษตร (ม.1) ภาคเรียนที่2

เศรษฐกิจพอเพียง


หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข

 เป็นบทสรุปของเศรษฐกิจพอเพียง นั่นเอง คือ สรุปให้เข้าใจได้ง่ายๆ ดังต่อไปนี้


 3 ห่วง คือ ทางสายกลาง ประกอบไปด้วย ดังนี้

           ห่วงที่ 1 คือ พอประมาณ หมายถึง พอประมาณในทุกอย่าง ความพอดีไม่มากหรือว่าน้อยจนเกินไปโดยต้องไม่เบียดเบียนตนเอง หรือผู้อื่นให้เดือดร้อน

           ห่วงที่ 2 คือ มีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ

           ห่วงที่ 3 คือ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล


  2 เงื่อนไข ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่

            เงื่อนไขที่ 1 เงื่อนไขความรู้ คือ มีความรอบรู้เกี่ยวกับ วิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการ วางแผน และความระมัดระวังในขั้นตอนปฏิบัติ คุณธรรมประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

            เงื่อนไขที่ 2 เงื่อนไขคุณธรรม คือ มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต


  “เศรษฐกิจพอเพียงจริงๆ คือ หลักการดำเนินชีวิตที่จริงแท้ที่สุด กรอบแนวคิดของหลักปรัชญามุ่งเน้นความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา อันมีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ สามารถประยุกต์ใช้ในทุกระดับ ตลอดจนให้ความสำคัญกับคำว่าความพอเพียง ที่ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ภายใต้เงื่อนไขของการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมที่ต้องอาศัยเงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม”


  “หากทุกฝ่ายเข้าใจกรอบแนวคิด คุณลักษณะ คำนิยามของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแจ่มชัดแล้ว ก็จะง่ายขึ้นในการนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ และจะนำไปสู่ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี”


เครื่องมือการเกษตรน่ารู้ Care And Living


เครื่องมือการเกษตร หรืออุปกรณ์การเกษตร (Agricultural Tools) เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการเพาะปลูก เป็นอุปกรณ์ช่วยในการลดแรงในการทำการเกษตร โดยจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเพาะปลูกตั้งแต่การเตรียมดินเพื่อเพาะปลูกไปจนถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งหากจะแยกประเภทของเครื่องมือการเกษตรแล้วก็สามารถแยกตามประเภทของการใช้งาน โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่


ดิน


คุณสมบัติของดินซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช มี 3 ชนิด ได้แก่

ดินเหนียว เป็นดินมีความละเอียดมากที่สุด ยืดหยุ่นได้ดีเมื่อเปียกน้ำ เหนียวติดมือ สามารถปั้นเป็นก้อนได้ จากความเหนียวจึงทำให้พังได้ยาก อุ้มน้ำดี รวมทั้งการจับยึดและดูดธาตุอาหารของพืช ทำได้ค่อนข้างสูง จึงมีแร่ธาตุอาหารของพืชอยู่มาก เหมาะสำหรับใช้ปลูกข้าวเนื่องจากกักเก็บน้ำได้นาน

ดินทราย เป็นดินร่วน เกาะตัวกันไม่แน่น จึงทำให้ระบายทั้งน้ำและอากาศได้อย่างดีเยี่ยม แต่อุ้มน้ำได้น้อย พังทลายได้ง่าย มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เนื่องจากความสามารถในการจับธาตุอาหารมีน้อย ทำให้พืชที่ขึ้นอยู่ในบริเวณดินทรายขาดน้ำและธาตุอาหารได้ง่าย

ดินร่วน เป็นดินค่อนข้างละเอียด จับแล้วนุ่ม มีความยืดหยุ่นพอสมควร ระบายน้ำได้ดีปานกลาง มีแร่ธาตุอาหารของพืชมากกว่าดินทราย เหมาะสำหรับใช้เพาะปลูกเป็นอย่างมาก แต่ดินร่วนแบบของแท้มักไม่ค่อยพบในธรรมชาติ แต่ก็จะพบดินซึ่งมีเนื้อดินใกล้เคียงกันเสียมากกว่า

มีดินที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืชแล้ว ก็ต้องมาดูกันว่าดินแบบไหนที่ไม่เหมาะแก่การปลูกพืช ดินที่พืชไม่ชอบคือ ดินแบบมีน้ำขังหรือดินลักษณะแน่นทึบ พืชจะไม่สามารถเติบโตได้ดีเท่าที่ควร เนื่องจากรากพืชขาดอากาศสำหรับใช้หายใจ ทำให้ไม่อาจดูดธาตุอาหารไปใช้ได้ พืชกินอาหารแบบสารละลาย ดังนั้นถ้าปราศจากความชื้นในดิน ถึงแม้จะมีธาตุอาหารอยู่มากแค่ไหน แต่พืชก็ไม่สามารถดูดขึ้นไปใช้ได้ จำเป็นต้องมีน้ำไปหล่อเลี้ยงนั่นเอง


ปลูกพืชผักสวนครัว ม.1/1 กลุ่มที่1

ปลูกพืชผักสวนครัว ม.1/1 กลุ่มที่ 2 


ปลูกพืชผักสวนครัว ม1/1 กลุ่มที่ 3


ปลูกพืชผักสวนครัว ม.1/1 กลุ่มที่4


ปลูกพืชผักสวนครัว 1/1กลุมที่5


ปลูกพืชผักสวนครัว ม.1/1 กลุ่มที่6


ปลูกพืชผักสวนครัว ม.1/3

ปลูกพืชผักสวนครัว ม.1/3