แพทย์ประจำบ้านสาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

หลักสูตรแพทย์ประจำบ้านสาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

1. ชื่อหลักสูตร

(ภาษาไทย) หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

(ภาษาอังกฤษ)      Residency training in Obstetrics and Gynaecology

2. ชื่อวุฒิบัตร

ชื่อเต็ม

(ภาษาไทย)        วุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

(ภาษาอังกฤษ)      Diploma of the Thai Board of Obstetrics and Gynaecology

ชื่อย่อ

(ภาษาไทย)          ว.ว.สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

(ภาษาอังกฤษ)      Dip. Obstetrics and Gynaecology

3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

4. พันธกิจในการฝึกอบรม

การฝึกอบรมวิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ของภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีพันธกิจ ดังนี้

5. ผลสัมฤทธิ์ของแผนงานฝึกอบรม

แพทย์ประจำบ้านที่จบการฝึกอบรมในหลักสูตรนี้ต้องมีคุณสมบัติความรู้และทักษะขั้นต่ำตามผลสัมฤทธิ์/ระดับความสามารถระหว่างการฝึกอบรมที่พึงประสงค์ (Intended learning outcome/milestones) ที่ครอบคลุมประเด็น 6 ด้าน ดังนี้


1) การดูแลสุขภาพสตรี (Women’s health)

ก.   มีทักษะในการดูแลด้านสูติศาสตร์ตั้งแต่ระยะก่อนตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอดและหลังคลอด

ข.   มีทักษะในการดูแลด้านนรีเวชวิทยาตั้งแต่ระยะก่อนวัยเจริญพันธุ์ วัยเจริญพันธุ์และวัยหมดระดู


2) ความรู้และทักษะหัตถการทางเวชกรรม (Medical knowledge and procedural skills)

ก.   เข้าใจวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานของร่างกายและจิตใจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพสตรี

ข.   มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพ และเชี่ยวชาญในสาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

 

3) ทักษะระหว่างบุคคลและการสื่อสาร (Interpersonal and communication skills)

ก.   นำเสนอข้อมูลผู้ป่วย และอภิปรายปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ

ข.   ถ่ายทอดความรู้และทักษะ ให้แพทย์นักศึกษาแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์

ค.   สื่อสารให้ข้อมูลแก่ญาติ และผู้ป่วย ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยเคารพการตัดสินใจและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

ง.    มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี  ทำงานกับผู้ร่วมงานทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ

จ.   เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่แพทย์และบุคคลากรอื่น โดยเฉพาะทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา


4) การเรียนรู้และพัฒนาจากฐานการปฏิบัติ (Practice-based learning and improvement)

ก.   มีการพัฒนาตนเองและการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Practice-based) ความคิดสร้างสรรค์ตามหลักวิทยาศาสตร์ในการสร้างความรู้ใหม่และพัฒนาระบบบริการสุขภาพ

ข.   ดำเนินการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขได้

ค.   วิพากษ์บทความและงานวิจัยทางการแพทย์

ง.    เรียนรู้และเพิ่มประสบการณ์ได้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติ


5) ความสามารถในการทำงานตามหลักวิชาชีพนิยม (Professionalism)

ก.   มีคุณธรรมจริยธรรมและเจตคติอันดีต่อผู้ป่วย ญาติ ผู้ร่วมงาน เพื่อนร่วมวิชาชีพ และชุมชน

ข.   มีทักษะด้านที่ไม่ใช่เทคนิค (Non-technical skills)

ค. มีความสนใจใฝ่รู้และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต (Continuous professional development)

ง. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย

จ.   คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม


6)   การทำเวชปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับระบบสุขภาพ (System-based practice)

ก.   มีความรู้เกี่ยวกับระบบสุขภาพของประเทศ 

ข. มีความรู้และมีส่วนร่วมในระบบพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย โดยสามารถอธิบายกระบวนการคุณภาพและความปลอดภัยทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

ค.   ใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสม (Cost consciousness medicine) และสามารถปรับเปลี่ยนการดูแลรักษาผู้ป่วยให้เข้ากับบริบทของการบริการสาธารณสุขได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ และสามารถจัดการสถานการณ์วิกฤตทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาได้


แพทย์ประจำบ้านที่จบการฝึกอบรมในหลักสูตรนี้ต้องมีคุณสมบัติตามสมรรถนะเสริมโดยมุ่งเน้นให้ตรงตามปรัชญาของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ “Education is growth” ดังนี้

6. การรับและคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรม

คณะกรรมการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านและที่ประชุมภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดำเนินการรับสมัครและคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรม ตามขั้นตอนดังนี้

1. ประกาศรับสมัครและคุณสมบัติผู้เข้ารับการคัดเลือกอย่างเปิดเผย 

2. คณะกรรมการตัดสินประกอบด้วย อาจารย์ทั้งหมดของภาควิชา ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 

3.  มีหลักเกณฑ์การให้คะแนนอย่างชัดเจน โปร่งใส ชี้แจงได้

4.  อาจารย์ทุกคนที่เข้าร่วมดำเนินการคัดเลือกทุกขั้นตอนมีการลงนามในหลักฐานยืนยันความโปร่งใส ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ 


คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม

แบ่งเป็น 2 ประเภท

1. แผน ก: ใช้เวลาฝึกอบรม 3 ปี (36 เดือน) และจัดลำดับอาวุโสตามปีของการฝึกอบรมเป็นแพทย์ประจำบ้าน ปีที่ 1, 2 และ 3

         คุณสมบัติของผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรมจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์แพทยสภาในการเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา และมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 

- ได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต หรือเทียบเท่าที่แพทยสภารับรองได้รับการขึ้นทะเบียนประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภาแล้ว

- ผ่านการอบรมแพทย์เพิ่มพูนทักษะเป็นเวลา 1 ปี

 

2. แผน ข: ใช้เวลาฝึกอบรม 4 ปี (ฝึกอบรมในส่วนสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา 42 เดือน) โดยถือเป็นแพทย์เพิ่มพูนทักษะในปีที่ 1 และจึงเป็นแพทย์ประจำบ้านปีที่ 1 ถึง 3  โดยจัดลำดับอาวุโสตามปีของการฝึกอบรมเป็นแพทย์ประจำบ้านปีที่ 1, 2 และ 3

คุณสมบัติของผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรมจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์แพทยสภาในการเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา และมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 

- เป็นนิสิต หรือ นักศึกษาแพทย์ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 6 และคาดว่าจะจบแพทยศาสตรบัณฑิตในสถาบันการศึกษาของรัฐในปีการศึกษานั้น ๆ

- ผ่านการประเมินและรับรองความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภาในขั้นตอนที่ 1 และ 2 แล้ว


เกณฑ์การคัดเลือก

พิจารณาจากคะแนนรวมจากส่วนต่างๆ ดังนี้ 



การอุทธรณ์ผลและกระบวนการคัดเลือก

ข้อมูลสถาบันฝึกอบรม

โปรแกรมการเรียนการสอน

การประเมินแพทย์ประจำบ้าน

งานวิจัย

แบบฟอร์มการประเมินด้วยวิธี Entrustable Professional Activities (EPAs)

EPAs 2023

ขั้นขีดความสามารถ (Level of entrustment)

จำแนกผลการเรียนรู้และขีดความสามารถในกิจกรรมวิชาชีพที่เชื่อถือไว้ใจได้ (Entrustable professional activities: EPAs) ของสูตินรีแพทย์แต่ละอย่างเป็น 5 ขั้นดังนี้

แบบฟอร์มการประเมินด้วยวิธี Direct Observation Procedural Skills (DOPS)

DOPs 2023

Monach Obstetrics Ultrasound Skill Assessment Form

Monach Obstetrics Ultrasound Skill Assessment Form

แบบฟอร์มประเมินการสอบ Objective Structural Long Examination Record (OSLER)

แบบฟอร์มตรวจประเมินเวชระเบียน

แนวทางการประเมินสมรรถนะ (Performance) ในด้านต่าง ๆ ของแพทย์ประจำบ้าน

การประเมินสมรรถนะมีการจัดทำตามรอบอย่างน้อยปีละ 2 ครั้งด้วย Google form ทำเป็นรายงานเพื่อพิจารณาในที่ประชุมภาควิชาและแจ้งให้แพทย์ประจำบ้านผู้ถูกประเมินรับทราบใน E-portfolio ของตนเอง

แฟ้มสะสมผลงานแพทย์ประจำบ้าน (E-Port Folio)

ระบบ E-Portfolio กำหนดให้ผู้ที่เข้าถึงและแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลได้คือเจ้าของข้อมูลใน E-Portfolio และอาจารย์ที่ปรึกษา รวมทั้งอาจารย์และเจ้าหน้าที่เป็น admin เท่านั้น บุคลากรท่านอื่นไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลนี้ได้เว้นแต่อาจารย์ท่านอื่นในภาควิชาฯ ที่สามารถเข้าถึงเพื่อติดตามความก้าวหน้าของการฝึกอบรมได้โดยไม่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลได้

ใช้ติดตามการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ของแพทย์ประจำบ้าน ทั้งด้านความรู้, ทักษะ, สมรรถนะ (Performance), ความก้าวหน้าของวิจัย, การทำหัตถการ และ การเข้าร่วมกิจกรรมวิชาการ เป็นต้น 

แบบฟอร์มการประเมินหลักสูตร

แบบฟอร์มการให้ข้อมูลป้อนกลับจากผู้เข้ารับการฝึกอบรม

แบบฟอร์มการให้ข้อมูลป้อนกลับจากผู้ใช้บัณฑิต

แบบประเมินโครงการฝึกอบรม (Program evaluation)

เอกสารอื่น ๆ