แพทย์ประจำบ้านต่อยอดอนุสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

หลักสูตรแพทย์ประจำบ้านต่อยอดอนุสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

1. ชื่อหลักสูตร

(ภาษาไทย)     เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

(ภาษาอังกฤษ)  Maternal and Fetal Medicine

2. ชื่อวุฒิบัตร


ชื่อเต็ม

วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมอนุสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

Diploma of the Thai Subspecialty Board of Maternal and Fetal Medicine

    

ชื่อย่อ

วว. อนุสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

Dip., Thai Subspecialty Board of Maternal and Fetal Medicine

    

คำแสดงวุฒิการฝึกอบรมท้ายชื่อ

วว. อนุสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์    

Diplomate, Thai Subspecialty Board of Maternal and Fetal Medicine 

หรือ 

Dip., Thai Subspecialty Board of Maternal and Fetal Medicine

3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

หน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

4. พันธกิจในการฝึกอบรม

การฝึกอบรมหลักสูตรเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ของหน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีพันธกิจ ดังนี้

1.   จัดการฝึกอบรมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอนุสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์เพื่อตอบสนองความต้องการของระบบบริการสุขภาพของชุมชน สังคม และประเทศไทย

2. จัดการฝึกอบรมให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะ และมีความสามารถในการทำหัตถการตามมาตรฐานที่กำหนดโดยแพทยสภาและราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย โดยมุ่งเน้นให้มีอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้ (education is growth) มีความสามารถในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง สามารถถ่ายทอดความรู้ความสามารถ และสื่อสารต่อไปยังบุคลากรทางการแพทย์ ผู้รับบริการทางการแพทย์ ชุมชนและสังคม

3. ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสร้างงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ และสามารถค้นคว้างานวิจัยเพื่อการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถบริหารจัดการ ให้บริการผู้รับบริการแบบองค์รวม สามารถทำงานเป็นทีมแบบสหวิชาชีพ สอดคล้องกับการบริบาลสุขภาพอนามัยแก่มารดาและทารกตามมาตรฐานสากล เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย และมีคุณธรรมจริยธรรม โดยมุ่งเน้นให้ผู้ฝึกอบรมมีโอกาสร่วมศึกษา วิเคราะห์ และวางแผนแก้ไขปัญหาอนามัยแม่และเด็กทั้งระดับสถานพยาบาล จังหวัดนครนายก ระดับเขตสุขภาพที่ 4 เขตสุขภาพที่ 6 และระดับชาติ

5. ผลสัมฤทธิ์ของแผนงานฝึกอบรม

แพทย์ประจำบ้านที่จบการฝึกอบรมในหลักสูตรนี้ ต้องมีคุณสมบัติ ความรู้และทักษะขั้นต่ำตามสมรรถนะหลัก 6 ด้าน ดังนี้

1. การบริบาลผู้ป่วย (Patient Care)

2. ความรู้และทักษะหัตถการทางเวชกรรม (Medical Knowledge and Procedural Skills)

3. ทักษะระหว่างบุคคลและการสื่อสาร (Interpersonal and Communication Skills)

4. การเรียนรู้และการพัฒนาจากฐานการปฏิบัติ (Practice-based Learning and Improvement)

5. ความสามารถในการทำงานตามหลักวิชาชีพนิยม (Professionalism)

6. การทำเวชปฏิบัติให้สอดคล้องกับระบบสุขภาพ (System-based Practice)


แพทย์ประจำบ้านที่จบการฝึกอบรมในหลักสูตรนี้ต้องมีคุณสมบัติ ความรู้และทักษะขั้นต่ำตามสมรรถนะเสริมตามพันธกิจการฝึกอบรมหัวข้อ “มีอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้” ดังนี้

1) ความสำคัญ บทบาท หน้าที่ ทัศนคติที่ดี ของการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และการเป็นผู้นำทางวิชาการสุขภาพมารดาและทารกในครรภ์

2) ทักษะการออกแบบการเรียนรู้ พัฒนาสื่อและอุปกรณ์ส่งเสริมการเรียนรู้ จำแนกระดับการเรียนรู้ของผู้เรียนและการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน

3) หลักจิตวิทยาสำหรับผู้ถ่ายทอดความรู้ เช่น การเข้าใจธรรมชาติของผู้เรียน ให้คำแนะนำช่วยเหลือผู้เรียนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นต้น

4) สามารถนำผลการวิจัยไปพัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียนมีความเข้าใจบริบท สามารถร่วมวิเคราะห์และวางแผนแก้ปัญหาเกี่ยวกับอนามัยแม่และเด็กระดับสถานพยาบาล จังหวัด เขตสุขภาพ และประเทศ 

6. แผนการฝึกอบรม

7. การรับและคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรม

คณะกรรมการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านอนุสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ และที่ประชุมหน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดำเนินการรับสมัครและคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรม ตามขั้นตอนดังนี้

1. ประกาศรับสมัครและคุณสมบัติผู้เข้ารับการคัดเลือกอย่างเปิดเผย

2. คณะกรรมการตัดสินประกอบด้วย อาจารย์ทั้งหมดของหน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

3. มีหลักเกณฑ์การให้คะแนนอย่างชัดเจน โปร่งใส ชี้แจงได้

4. อาจารย์ทุกคนที่เข้าร่วมดำเนินการคัดเลือกทุกขั้นตอนมีการลงนามในหลักฐานยืนยันความโปร่งใส ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ


คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม

ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมและเป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย และ ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

1. เป็นผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรฯ หรือหนังสืออนุมัติฯ ในสาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา

2. เป็นแพทย์ประจำบ้านปีสุดท้ายในสาขาวิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา หรือ เป็นแพทย์ใช้ทุนปีสุดท้ายในสาขาวิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา หรือ กำลังเป็นผู้ปฏิบัติงานในสาขาสูตินรีเวชกรรมในปีที่ 5 ที่มีสิทธิสอบเพื่อวุฒิบัตรฯ หรือหนังสืออนุมัติฯ สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา สามารถสมัครเข้าฝึกอบรมได้ (แต่เมื่อเริ่มการฝึกอบรมแล้ว ต้องสอบได้วุฒิบัตรฯ หรือหนังสืออนุมัติฯ หากไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ ให้สิ้นสุดสภาพการฝึกอบรม)


เกณฑ์การคัดเลือก

พิจารณาจากคะแนนรวมจากส่วนต่างๆ ดังนี้

8. ระยะเวลาการฝึกอบรม 

ระยะเวลาในการฝึกอบรมทั้งหมดรวม 2 ปี 

9. เนื้อหาวิชาของการฝึกอบรม

1. วิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง (Basic medical and related sciences)

2. การบริบาลครรภ์เสี่ยงสูง (High-risk pregnancy management)

3. การประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ (Fetal surveillance)

4. การตรวจกรองและวินิจฉัยก่อนคลอด (Prenatal screening and diagnosis)

5. การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงทางสูติศาสตร์ (Obstetric ultrasound)

6. การรักษาทารกในครรภ์ (Fetal therapy)

7. จริยธรรมและกฎหมายในเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ (Ethico-legal aspect in Maternal and Fetal Medicine)

หลักสูตรแพทย์ประจำบ้านต่อยอดอนุสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

ข้อมูลสถาบันฝึกอบรม

โปรแกรมการเรียนการสอน

* จำกัดการเข้าถึงเฉพาะอาจารย์ ผู้เรียน และบุคลากรของ มศว เท่านั้น

กรอบเวลาและแนวทางในการทำวิจัยของแพทย์ประจำบ้าน

การประเมินแพทย์ประจำบ้าน

แบบฟอร์มการประเมินด้วยวิธี Entrustable Professional Activities (EPAs) & แบบฟอร์มการประเมินด้วยวิธี Direct Observation Procedural Skills (DOPS)

DOPs_EPAs F-2023

ขั้นขีดความสามารถ (Level of entrustment)

จำแนกผลการเรียนรู้และขีดความสามารถในกิจกรรมวิชาชีพที่เชื่อถือไว้ใจได้ (Entrustable professional activities: EPAs) ของสูตินรีแพทย์แต่ละอย่างเป็น 5 ขั้นดังนี้

การบันทึกการทำหัตถการและการบริบาลผู้ป่วย

การทำวิจัยของแพทย์ประจำบ้าน

การสอบปากเปล่า อนุสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

แนวทางการประเมินสมรรถนะ (Performance) ในด้านต่าง ๆ ของแพทย์ประจำบ้าน

การประเมินสมรรถนะมีการจัดทำตามรอบอย่างน้อยปีละ 2 ครั้งด้วย Google form ทำเป็นรายงานเพื่อพิจารณาในที่ประชุมภาควิชาและแจ้งให้แพทย์ประจำบ้านผู้ถูกประเมินรับทราบใน E-portfolio ของตนเอง

Monach Obstetrics Ultrasound Skill Assessment Form

Monach Obstetrics Ultrasound Skill Assessment Form

แฟ้มสะสมผลงานแพทย์ประจำบ้าน (E-Port Folio)

ระบบ E-Portfolio กำหนดให้ผู้ที่เข้าถึงและแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลได้คือเจ้าของข้อมูลใน E-Portfolio และอาจารย์ที่ปรึกษา รวมทั้งอาจารย์และเจ้าหน้าที่เป็น admin เท่านั้น บุคลากรท่านอื่นไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลนี้ได้เว้นแต่อาจารย์ท่านอื่นในภาควิชาฯ ที่สามารถเข้าถึงเพื่อติดตามความก้าวหน้าของการฝึกอบรมได้โดยไม่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลได้

ใช้ติดตามการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ของแพทย์ประจำบ้าน ทั้งด้านความรู้, ทักษะ, สมรรถนะ (Performance), ความก้าวหน้าของวิจัย, การทำหัตถการ และ การเข้าร่วมกิจกรรมวิชาการ เป็นต้น 

แบบฟอร์มการประเมินหลักสูตร

แบบฟอร์มการให้ข้อมูลป้อนกลับจากผู้เข้ารับการฝึกอบรม

แบบฟอร์มการให้ข้อมูลป้อนกลับจากผู้ใช้บัณฑิต

แบบประเมินโครงการฝึกอบรม (Program evaluation)

เอกสารอื่น ๆ