FAQ คำถามที่พบบ่อย

ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ตามประกาศมหาวิทยาลัยค่าเดินทางไปปฏิบัติงาน 23 กันยายน 2563)

คำตอบ   :  สิทธิที่จะได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบติงานเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ได้รับอนุมัติให้เดินทาง โดยให้ผู้มีอำนาจอนุมัติให้เดินทางไปปฏิบัติ
                งานได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม ดังนั้น ผู้ขออนุมัติเดินทางจะต้องขออนุมัติเดินทางให้ครอบคลุมระยะเวลาตั้งแต่เดินทางไปและเดิน
                ทางกลับถึงที่พัก

คำตอบ :  ได้ ซึ่งผู้ขออนุมัติต้องขออนุมัติระยะเวลาในการเดินทางครอบคลุมตั้งแต่ออกจากที่พัก จนกลับถึงที่พัก หากเป็นการลากิจหรือลาพักร้อนให้แนบใบลากิจหรือลาพักร้อนประกอบด้วย ยกตัวอย่างเช่น  งานจัดฝึกอบรมวันที่จัดงาน วันจันทร์ที่ 19 ถึงวันอังคารที่ 20 ม.ค. 65 แต่มีความประสงค์จะลาพักร้อนตั้งแต่วันศุกร์ 16 ม.ค. 65 ดังนั้น การขออนุมัติจะต้องขออนุมัติเดินทางตั้งแต่วันที่ 16-21 ม.ค. 65 พร้อมแนบใบลาพักร้อนประกอบ

คำตอบ : หากเดินทางไปก่อน สิทธิได้รับค่าใช้จ่ายจะได้ตั้งแต่เริ่มปฏิบัติงานเป็นต้นไป  และ กลับหลังสิทธิในการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทงสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นสุดเวลาการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ยกเว้นในกรณีที่ผู้เดินทางไปปฏิบติงานมีเหตุจำเป็นหรือเหตุสุดวิสัย เช่นสถานการณ์ไม่ปลอดภัย เกิดภัยธรรมชาติหรืออื่น ๆ ให้อยู่ในดุลพินิจผู้มีอำนาจอนุมัติ

คำตอบ : ให้หักค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางในอัตรามื้อละ 1 ใน 3 ของอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงต่อวัน ค่าเบี้ยเลี้ยงได้วันละ 300 บาท หัก  1/3  คือ มื้อละ 100 บาท 

คำตอบ : หากเดินทางคนเดียว จะเลือกเบิกค่าเช่าที่พักในลักษณะจ่ายจริงหรือเหมาจ่ายก็ได้  แต่หากเดินทางเป็นหมู่คณะฯ กำหนดให้พักรวมกันสองคนขึ้นไปต่อหนึ่งห้อง  ให้เบิกค่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินอัตราค่าเช่าห้องพักคู่ เว้นแต่กรณีไม่เหมาะสมหรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรงโดยมีใบรับรองแพทย์ให้เบิกเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญขึ้นไปรวมทั้งบุคคลภายนอกที่คณบดีเห็นสมควรจะเบิกในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียวหรือห้องพักคู่ก็ได้

คำตอบ : ได้  ให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง ในกรณีส่วนราชการหรือหน่วยงานเป็นเหตุ กรณีเกิดสถานการณ์ไม่ปกติ ภัยธรรมชาติ หรือกรณีเจ็บป่วยที่ไม่สามารถเดินทางได้โดยมีใบรับรองแพทย์ประกอบการเบิกจ่าย

คำตอบ : ทุกประเภท/ตำแหน่งเบิกในลักษณะเหมาจ่าย ได้ในอัตราวันละ 300บาท/วัน

คำตอบ : ให้นับตั้งแต่เวลาออกจากสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติงานตามปกติจนกลับถึงสถานที่อยุ่หรือสถานที่ปฏิบัติงานตามปกติแล้วแต่กรณีดังนี้
              1. กรณีที่มีการพักแรมให้นับ 24 ชม. เป็น 1 วัน ถ้าไม่ถึง 24 ชม. หรือเกิน 24 ชม. และส่วนที่ไม่ถึงหรือเกิน 24 ชม. นั้นนับได้เกิน 12 ชม.
                  ให้ถือเป็น 1 วัน
      2. กรณีมิได้มีการพักแรม หากนับได้ไม่ถึง 24 ชม. และส่วนที่ไม่ถึงนับได้เกิน 12 ชม. ให้ถือเป็น 1 วัน หากนับได้ไม่เกิน 12 ชม. แต่เกิน
                  6 ชม. ให้ถือเป็นครึ่งวัน

คำตอบ : ได้  โดยผู้เดินทางต้องชี้แจงเหตุผลประกอบนำเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติโดยให้อยู่ในดุลพินิจ ซึ่งจะสามารถเบิกค่าเช่าที่พักเพิ่มได้อีกไม่เกินร้อยละ 25 ของอัตราค่าที่พักที่กำหนด

คำตอบ :  1. โดยปกติให้เดินทางโดยยานพาหนะประจำทางและเบิกได้โดยประหยัด
                2. เดินทางโดยรถไฟและรถทัวร์ เบิกเท่าที่จ่ายจริงโดยแนบหลักฐานการจ่ายประกอบ
3. เดินทางโดยเครื่องบิน ระดับคณบดี ให้โดยสารชั้นธุรกิจ สำหรับผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งอื่น ๆ ให้โดยสารชั้นประหยัด หากจำเป็นต้อง
                    นั่งสูงกว่าสิทธิเพื่อประโยชน์ของมหาวิทยาลัยและส่วนงานให้ชี้แจงเหตุผลให้อยู่ในดุลพินิจผู้มีอำนาจอนุมัติ

คำตอบ : 1. เดินทางไปกลับระหว่างที่พักกับสถานที่ปฏิบัติงานหรือสถานียานพาหนะประจำทาง ภายในเขตจังหวัดเดียวกัน
              2. เดินทางไปกลับระหว่างที่พักกับสถานที่ปฏิบัติงานภายในเขตจังหวัดเดียวกันวันละสองเที่ยว
              3. เดินทางไปปฏิบัติงานในเขตกรุงเทพฯ
              4. ไปในพื้นที่ไม่มียานพาหนะประจำหรือมีแต่ต้องการความรวดเร็วเพื่อประโยชน์ของมหาวิทยาลัย หรือนำสิ่งของทางที่จำเป็นต้องเอา
                  เดินทางไปด้วยทำให้ไม่สะดวก จึงจำเป็นต้องนั่งรถรับจ้าง ให้ผู้เดินทางชี้แจงเหตุผลประกอบ

คำตอบ : เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินอัตรา 600 บาทต่อเที่ยว

คำตอบ : ได้  โดยให้แนบเส้นทางของกรมทางหลวงในทางสั้นและตรง หรือระยะทางของหน่วยงานอื่นที่ตัดผ่าน หากไม่มีผู้เดินทางเป็นผู้รับรองระยะทาง หลักฐานที่ใช้ประกอบคือใบรับรองแทนใบเสร็จ โดยผู้เดินทางเขียนรายละเอียดการเดินทางจากจุดใดไปจุดใด ระยะทางเท่าไหร่ โดยมีอัตราเงินชดเชยค่าพาหนะรถส่วนบุคคลดังนี้
                      1) รถยนต์ กิโลเมตรละ 4 บาท
                      2) รถจักรยานยนต์ กิโลเมตรละ 2 บาท 

คำตอบ :  แนบใบเสร็จรับเงินหรือใบแจ้งรายการค่าเช่าที่พัก ซึ่งต้องมีรายละเอียดวันที่เข้า-ออก จากที่พัก อัตราค่าห้องพัก 

16.คำถาม : กรณีเบิกค่าเช่าที่พักโดยผ่านตัวแทนจำหน่าย ต้องทำอย่างไร

คำตอบ :  แนบใบเสร็จรับเงินของตัวแทนจำหน่ายเป็นหลักฐานประกอบการเบิกค่าเช่าที่พักได้

17. คำถาม : การยืมเงินและการส่งใช้เงินยืมค่าเดินทางไปปฏิบัติงาน ทำอย่างไร

คำตอบ :  ก่อนเดินทาง ให้ผู้เดินทางส่งหนังสือขออนุมัติเดินทางล่วงหน้า 1-2 สัปดาห์ หากมีความจำเป็นต้องจ่ายค่าลงทะเบียนก่อนเนื่องจากจะได้รับ
                                    ส่วนลดสามารถระบุในใบยืมเพื่อขอให้โอนเงินยืมก่อนได้
                หลังเดินทาง ให้เร่งส่งรายงานการเดินทางและหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายภายใน 15 วัน นับจากเดินทางเสร็จสิ้น พร้อมคืนเงินเหลือจ่าย
                                    (ถ้ามี) 

18. คำถาม : แบบฟอร์มที่ใช้ในการเบิกค่าใช้จ่ายเดินทางมีแบบฟอร์มอะไรบ้าง
      คำตอบ :  เดินทางไปปฏิบัติงานคนเดียว แนบ ใบเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน และหลักฐานการจ่าย
                      เดินทางไปปฏิบัติงานเป็นหมู่คณะฯ  หลักฐานการจ่ายเงินค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน ส่วนที่ 2 ประกอบเพิ่มเติม

19. คำถาม : ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องจ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติคืออะไร

        คำตอบ :  ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานเช่น ค่าผ่านทางด่วน หรือค่าปะยาง ให้เฉพาะรถราชการ ค่าผ่านทางด่วน เป็นต้น

20.  คำถาม : เดินทางไปฝึกอบรม ทางผู้จัดการฝึกอบรมได้เก็บเงินค่าลงทะเบียนโดยทางหลักสูตรจัดที่พักห้องพักเดี่ยวและค่าอาหารทุกมื้อรวมอาหารเย็นตลอดการฝึกอบรม ผู้เดินทางจะเบิกจ่ายได้อย่างไร

คำตอบ :  เบิกจากใบเสร็จค่าลงทะเบียน สำหรับค่าอาหารที่ผู้จัดเลี้ยงให้หักจากค่าเบี้ยเลี้ยง

ค่าใช้จ่ายในการจัดอบรม ตามประกาศมหาวิทยาลัยวันที่ 17 ส.ค.64 เรื่องการเบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม 2564

คำตอบ : ต้องดำเนินการดังนี้
          1. ศึกษาประกาศของมหาวิทยาลัย  เรื่องการเบิกค่าใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรม การจัดงาน และการจัดประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2564
          2. เขียนโครงการจัดสัมมนา และนำเสนอโครงการให้ผู้มีอำนาจอนุมัติ สำหรับคณะวิศวฯ ได้มอบอำนาจให้รองคณบดีฝ่ายพัฒนาบุคลากร
          3. ขออนุมัติใช้เงินพร้อมยืมเงิน เพื่อนำไปจัดโครงการ ให้ส่งมาล่วงหน้า 2 สัปดาห์ และค่าใช้จ่ายใดที่จำเป็นต้องขอยืมเงินก่อนสามารถทำได้โดยเข้าระบบใบยืมและเขียนวันที่ ที่จำเป็นต้องใช้เงิน โดยคณะจะโอนเงินตามวันที่แจ้ง
          4. จัดงานตามโครงการ
          5.  หลังงานเสร์จ เก็บหลักฐานการจ่ายเพื่อนำมาจัดทำเอกสารเบิกจ่าย ให้เป็นไปตามโครงการที่ขอประมาณการไว้ หากจำเป็นต้องเบิกเกินให้ชี้แจงเหตุผลที่ขอเพิ่มเติม

คำตอบ : เบิกให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัย เพียงแต่โครงการจัดฝึกอบรมจะต้องนำเสนอคณบดีอนุมัติโครงการและเบิกค่าใช้จ่ายเนื่องจากประกาศ ฉบับดังกล่าวเป็นการฝึกอบรมให้เฉพาะบุคลากรโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลากรเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ซึ่งจะไม่มีการให้ปริญญา ทั้งนี้โครงการฝึกอบรมที่จัดให้กับนักศึกษาปลายทางเมื่อนักศึกษาจบการศึกษาไปจะได้รับปริญญา ดังนั้นการอนุมัติจึงเป็นอำนาจของคณบดี

คำตอบ : 1)ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวการใช้และการตกแต่งสถานที่ฯ 2) ค่าใช้จ่ายในพิธีเปิด-ปิด การฝึกอบรม 3)ค่าวัสดุ เครื่องเขียนและอุปกรณ์ 4) ค่าประกาศนียบัตร 5) ค่าถ่ายเอกสาร ค่าพิมพ์เอกสารและสิ่งพิมพ์ 6) ค่าหนังสือสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม 7) ค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร 8)ค่าเช่าอุปกรณ์ต่าง ๆ 9) ค่าธรรมเนียมธนาคาร 10) ค่าเลี้ยงรับรอง 11) ค่าล่วงเวลา/เงินช่วยเหลือฯ 12) ค่ากระเป๋า 13) ค่าของที่ระลึก 14) ค่าตอบแทนวิทยากร 15) ค่าอาหาร 16)ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 17)ค่าเช่าที่พัก 18)ค่ายานพาหนะ  ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายตาม 1-9 เบิกตามจ่ายจริง จำเป็น เหมาะสม และประหยัด 14-18 เบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนด

คำตอบ : ให้ดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

คำตอบ : 1)ประธานในพิธีเปิด - ปิด แขกผู้มีเกียรติและผู้ติดตาม 2) เจ้าหน้าที่ 3)วิทยากร 4) ผู้เข้ารับการฝึกอบรม 5) ผู้สังเกตการณ์ ทั้งนี้ ในใบปะหน้า
                  ของเอกสารเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ให้ระบุให้ชัดเจน เช่น จำนวนเจ้าหน้าที่ ...คน ผู้เข้าร่วมฝึกอบรม...คน

คำตอบ : ในโครงการให้ระบุสถานภาพของบุคคลให้ชัดเจน เช่น ชื่อ สถานที่ทำงาน สถานภาพเป็นบุคลากร หรือเป็นบุคคลภายนอก และกรณีจำเป็น
              ต้องจ่ายค่าตอบแทนวิทยากรสูงกว่าอัตราที่กำหนดข้างต้นให้ผู้จัดชี้แจงเหตุผลความจำเป็น เช่น วิทยากรมีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์
              เป็นพิเศษ

คำตอบ :ไม่ได้ การเบิกค่าอาหารในการประชุมจะเบิกได้ถ้ามีช่วงระยะเวลาการประชุมคาบเกี่ยวในมื้ออาหารนั้น ดังนั้น หากมีการประชุมถึงเวลาประมาณ 13.30 น. ก็สามารถเบิกอาหารกลางวันได้ 

คำตอบ :ไม่ได้ การเบิกค่าอาหารในการประชุมจะเบิกได้ถ้ามีช่วงระยะเวลาการประชุมคาบเกี่ยวในมื้ออาหารนั้น ดังนั้น หากมีการประชุมถึงเวลาประมาณ 13.30 น. ก็สามารถเบิกอาหารกลางวันได้

 

เงินสวัสดิการพนักงานมหาวิทยาลัย

ตอบ :    ตนเอง เบิกค่าบริการและค่าใช้จ่ายทางทันตกรรมเพื่อการรักษาพยาบาลได้ทุกประเภท

ญาติสายตรง  เบิกค่าบริการและค่าใช้จ่ายทางทันตกรรมได้เฉพาะ อุดฟัน, ขูดหินปูน, ถอนฟัน, ผ่าฟันคุด, รักษารากฟัน 

ตอบ : เบิกจ่ายไม่หมดในปีงบประมาณ สามารถสะสมได้จำนวนร้อยละ 40 ของเงินที่เหลือ สะสมได้ไม่เกิน 250,000 บาท เพื่อนำมาใช้หลังเกษียณอายุงาน สามารถเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองและญาติสายตรงได้ไม่เกินวงเงินสะสมและสวัสดิการแบบยืดหยุ่นสำหรับตนเอง

ตอบ : https://fund.psu.ac.th/Login.aspx?ReturnUrl=%2fHistoryStaff.aspx ลงชื่อเข้าใช้ PSU Passport

ตอบ : ต้องรักษาที่ โรงพยาบาลของรัฐ ยกเว้นรักษาคลินิคผิวหนังและใบเสร็จเวชสำอางค์ 

ตอบ : ค่าตรวจสุขภาพของตนเอง ค่าฉีดวัคซีนทุกประเภท ค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการทางการแพทย์เพื่อการตรวจและรักษา ทันตกรรม ค่ารักษาเฉพาะตนเองกรณีผู้ป่วยนอก 

ตอบ : 1.ใช้ใบเสร็จรับเงินพร้อมใบรับรองแพทย์เบิกจากสิทธิ์ข้าราชการก่อน ได้ตามสิทธิที่กรมบัญชีกลางกำหนด

          2. นำส่วนต่างมาเบิกจากกองทุนพนักงาน แนบสำเนาใบเสร็จรับเงินพร้อมใบรับรองแพทย์ รับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมระบุในสำเนาใบเสร็จรับเงินว่า"ต้นฉบับใช้เบิกจ่ายจากงบกลาง จำนวนกี่บาท"

ตอบ : ต้องดูใบเสร็จและใบรับรองแพทย์ประกอบถึงจะสามารถบอกได้ว่าเบิกได้ไหม

ตอบ : เบิกกรณีรักษาผู้ป่วยนอก เบิกค่าตรวจสุขภาพ ที่มีแพทย์ปฏิบัติหน้าที่ ได้ไม่เกิน 20 ครั้งต่อปีงบประมาณ

ตอบ : ดูจากวันที่ในใบเสร็จรับเงินนับไป 1 ปี

ตอบ : เบิกได้จากวงเงินสะสมที่ตนเองมี ไม่เกิน 3000 บาท/ปี

ตอบ : ต้องแนบรายละเอียดคุณสมบัติของสินค้าและบริการควบคู่การเบิกจ่ายทุกครั้ง

ตอบ : ชื่อ สถานที่ผู้ขาย/ให้บริการ วันเดือนปี รายการสินค้าหรือบริการ จำนวนเงินตัวเลขตัวหนังสือ ลายมือชื่อผู้รับเงิน ชื่อของพนักงานมหาวิทยาลัย

ตอบ : เช็คได้จาก https://drive.google.com/file/d/1gs-V4TCIkh6Z97_b3aqRS52LoxP2vEQG/view

ตอบ : 1. ใบเสร็จรับเงิน 2. ประกาศค่าธรรมเนียมการศึกษา

การเบิกเงินหลักสูตรพิเศษ/ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ก่อน 2565

ตอบ : เมื่อคณะฯได้รับเอกสารใบโอนจากกองคลัง และปลดล็อคระบบจัดสรรในระบบ SIS

ตอบ : ไม่มีระยะเวลากำหนด ขึ้นกับทางกองคลังจะจัดสรรและแจ้งให้คณะฯทราบ

ตอบ : เมื่อคณะฯได้รับจัดสรรค่าธรรมเนียมและปลดล็อคระบบจัดสรรในระบบ SIS

ตอบ : ไม่ ค่าธรรมเนียมการศึกษาจะรับโดยระบบทะเบียนฯ เงินที่นักศึกษาจ่ายค่าเทอมจะเข้าบัญชีของมหาวิทยาลัย ซึ่งกองคลังดูแล แล้วกองคลังจะจัดสรรให้คณะรับทราบเพียงตัวเลขทางเอกสารเพื่อให้รับทราบและบันทึกเท่านั้น

ตอบ : 3/63 ครั้งที่ 1 กองคลังจัดสรรและส่งเอกสารมาให้คณะฯวันที่ 30 พ.ค.65 คณะฯ ตรวจสอบกับกับระบบSIS แล้ว ข้อมูลยังไม่ถูกต้อง แจ้งทางกองคลังแล้ว (คุณรัตติยา 2142 ) แจ้งว่าได้ส่งเอกสารทดแทนฉบับวันที่ 30 พ.ค.65 มายังคณะวันที่ 28 มิ.ย.65 ตอนนี้เอกสารกำลังอยู่ระหว่างทาง ถ้าเจ้าหน้าที่การเงินได้รับเอกสารแล้วจะส่ง E-mail แจ้งเมื่อตรวจสอบเอกสารแล้วข้อมูลตรงกับในระบบ SIS ดังนั้น หากระบบยังไม่เปิดให้ตรวจสอบข้อมูล (เจ้าหน้าที่กองคลังเป็นผู้เปิดให้ดูรายงานในระบบ SIS)

2565 เป็นต้นไป

ตอบ :  เดิมกองคลังส่งเอกสารใบโอนมายังงานการเงิน แต่นับแต่ ปีการศึกษา 1/2565 เป็นต้นไป กองคลังยกเลิกส่งเอกสารใบโอนและให้ผู้ดูแลระบบ MAS เป็นผู้ดูแลข้อมูลรายงานค่าธรรมเนียมการศึกษา โดยส่วนงานสามารถดึงข้อมูลรายงานค่าธรรมเนียมการศึกษาผ่านทางระบบ MAS และตรวจสอบยอดเงินจากระบบ MAS ได้ ซึ่งระบบ MAS สามารถดึงรายงานค่าธรรมเนียมการศึกษา 1/2565 ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2566 

ตอบ :  ส่วนงานสามารถดึงข้อมูลรายงานค่าธรรมเนียมการศึกษาผ่านทางระบบ MAS และตรวจสอบยอดเงินจากระบบ MAS ได้ ซึ่งระบบ MAS สามารถดึงรายงานค่าธรรมเนียมการศึกษา 1/2565 ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม2566 แต่เป็นยอดเงินที่ยังรับรู้รายได้ไม่ครบจำนวน

ตอบ :  จากการสอบถามกองคลังและผู้ดูแลระบบMASได้ความว่า ผู้สอบบัญชีทักท้วงการรับรู้รายได้ซึ่งต้องมีการทยอยรับรู้ ดังนั้นจึงมีการตัดยอดการรับรู้เป็นวัน ส่วนที่ยังไม่รับรู้เป็นรายได้จะเป็นรายได้รอการรับรู้ ซึ่งเป็นเงินรับฝากที่มหาวิทยาลัย และจะตัดการรับรู้เมื่อถึงวันปิดเทอม ได้แก่ 1/2565 เปิดเทอม 27 มิ.ย.65 - 28 ต.ค.65 ดังนั้นระบบจะเริ่มตัดเป็นรายได้วันที่ 27 มิ.ย.65 และรับรู้รายได้ครบจำนวนวันที่ 28 ต.ค.65 

    ซึ่ง 1/2565 ระบบ MAS ปรับระบบตามคำทักท้วงของผู้สอบ จึงเพิ่งทำระบบเสร็จให้คณะดึงได้วันที่ 13 มีนาคม  2566 และเพิ่งปรับยอดรับรู้เต็มจำนวน 17 เม.ย.66

ตอบ : PSU MAS > ส่วนงาน  > รายงาน > SR01 การจัดสรรค่าธรรมเนียมรับล่วงหน้าตามสังกัดของผู้รับเงิน

ทำบันทึกข้อความเบิกจ่าย แนบ รายงานSR01 การจัดสรรค่าธรรมเนียมรับล่วงหน้าตามสังกัดของผู้รับเงิน

การเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนนักเรียน นักศึกษาที่ช่วยปฏิบัติงานราชการ

ตอบ : เบิกจ่ายตามหนังสือกระทรวงการคลังที่ กค 0406.4/ว 30 ลงวันที่ 3 เมษายน 2558 เรื่องการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทน นักเรียน นักศึกษาที่ช่วยปฏิบัติงานราชการ

ตอบ :  อัตราค่าตอบแทน จ่ายดังนี้ -  ปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน โดยไม่รวมเวลาหยุดพัก ได้ค่าตอบแทนไม่เกินวันละ 300 บาทต่อคน และหากปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมงครึ่งต่อวัน ได้ค่าตอบแทน ไม่เกิน 150 บาทต่อคน ทั้งนี้ การเบิกจ่ายต้องปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมงครึ่งต่อวัน จึงจะเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนตามประกาศได้ สำหรับ การปฏิบัติงานหลายช่วงในเวลาเดียวกัน ไม่ให้นับเวลาเวลาปฏิบัติงานทุกช่วงเวลารวมกัน เพื่อเบิกเงินค่าตอบแทนในวันนั้น

ตอบ : คณะจะดำเนินการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของนักศึกษา โดยใช้หลักฐานการโอนเงินดังกล่าวเป็นหลักฐานประกอบการจ่ายเงิน