การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง คุณธรรมจริยธรรมแนวใหม่

สำนักงานเขตพื้นทีการศึกษามัธยมศึกษาแพร่

วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์แนวใหม่ ที่เชื่อมโยงกับท้องถิ่นรวมทั้งจัดกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับหน้าที่พลเมือง คุณธรรมจริยธรรม ที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองให้เหมาะสมตามวัยของผู้เรียน

2. เพื่อส่งเสริมพัฒนาครูผู้สอนประวัติศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และคุณธรรมจริยธรรม

3. เพื่อพัฒนาสถานศึกษาต้นแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และคุณธรรมจริยธรรม รวมทั้งส่งเสริมการถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้และรวบรวมนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เป็นตัวอย่างได้

เปิดโลกนวัตกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์วิถีใหม่ วิถีอนาคต

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

จุดประสงค์เพื่อให้ครูได้สร้างแนวคิดปรับเปลี่ยนวิธีการสอน หรือประยุกต์ใช้นวัตกรรมจัดการเรียนการสอน ที่สามารถบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายบูรณาการ และสร้างแนวทางการสนับสนุนโรงเรียน สำหรับจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามบริบท เชื่อมต่อความรู้ของครูสู่ชุมชน

4 นโยบาย 10 จุดเน้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่ ได้เห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ จึงได้กำหนดเป็นนโยบายสำคัญ นโยบายที่ 3 ด้านคุณภาพ จุดเน้นที่ 5  โดยมุ่งหวังให้ครูปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนกระตุ้นความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับมนุษยชาติ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน สนองความอยากรู้อยากเห็นส่งผลให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน ในเรื่องราวของชนชาติต่าง ๆ เกี่ยวกับวิธีการดำรงชีวิตบุคลิกภาพ และลักษณะนิสัย ตลอดจนความคิด และการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ของคนชาตินั้น ๆ ให้จงรักภักดีต่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และความเข้าใจในด้านขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม การประกอบอาชีพชนชาติต่าง ๆ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดเชิงวิพากษ์ วิจารณ์ และพินิจพิจารณาเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ ปัญหาของชุมชนสมัยใหม่ในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ตลอดจนแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยการอภิปราย และการหาข้อสรุปโดยการประนีประนอมเข้าหากัน

การประชุมสื่อสารสร้างความเข้าใจการบริหารจัดการโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้  และ  1  รายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ มีจุดเน้นและนโยบายที่กําหนดให้สถานศึกษาจัดโครงสร้างหลักสูตร สถานศึกษา 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 1 รายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุด ต่อผู้เรียน รวมทั้งบ่มเพาะให้ผู้เรียนภาคภูมิใจ รักความเป็นไทย หวงแหนในสิ่งที่บรรพชนให้ไว้เป็นมรดก ทางปัญญา รักษา สืบสานและต่อยอด และนํามาปรับประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน และได้ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การบริหารจัดการโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 1 รายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ขอบข่ายเนื้อหาการประชุมประกอบด้วย การเรียนการสอนประวัติศาสตร์ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) บทบาทของหน่วยงานแต่ละระดับในการขับเคลื่อนการเรียนการสอน ประวัติศาสตร์ การจัดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์วิถีใหม่และการใช้ สื่อแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผลกับการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ และบทบาทของการนิเทศ กํากับ ติดตาม และสนับสนุนช่วยเหลือครูในการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ผ่านระบบการถ่ายทอดสด OBEC Channel ในวันที่ 11 มกราคม 2566

สื่อการสอนประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ

การ์ตูนแอนิเมชั่น เมืองนิรมิตแห่งจิตตนคร 

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระทัยอย่างมากในธรรมะ และหลายครั้งที่พระองค์ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ผู้เคยทรงเป็นพระอภิบาลของพระองค์ โดยมักเป็นพระราชวินิจฉัยเรื่องพระธรรม และพระพุทธศาสนา เช่น มีตอนหนึ่งทรงรับสั่งถึงหนังสือคำสอนทางพระพุทธศาสนาว่า “หนังสือสอนพระพุทธศาสนายากเกินไปแก่สมองเด็ก ให้เด็กเล็กๆ จำประวัติมากเกินไป...อย่างสอนอริยสัจแก่เด็กเล็กๆ เหมือนจะให้เด็กเป็นพระอรหันต์ จะทำให้เด็กเข้าใจได้อย่างไร น่าจะสอนบทธรรมง่ายๆ ที่เป็นประโยชน์ในการอบรมเด็กด้วย เช่น ความเพียร และน่าจะจัดเป็นหลักสูตรสูงขึ้นไปโดยลำดับ แทรกพุทธประวัติ นิทานชาดก บทสอนพุทธศาสนา ได้มีจัดไว้ทำนองนี้ น่าจะทำแจกหรือมีจำหน่ายถูกๆ”

ซึ่ง เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชฯ ทูลว่า “จะนำกระแสพระราชดำรินี้ไปจัดทำ แต่การเขียนเรื่องให้เด็กอ่านนั้น เขียนแล้วคิดว่าง่าย เด็กเข้าใจ ครั้งไปลองสอนกับเด็ก คือ ให้เด็กอ่าน เด็กก็ไม่เข้าใจ” และความที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร        มหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงคุ้นเคยกับงานพระนิพนธ์ของเจ้าพระคุณสมเด็จพระ สังฆราชฯ ทรงได้คัดเลือกและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดพิมพ์เรื่อง “จิตตนคร นครหลวงของโลก” ในวาระอภิลักขิตสมัยมหามงคลที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระชนมายุครบ ๕๐ พรรษา

ต่อมาได้มีการจัดทำการ์ตูนแอนิเมชันชุด “เมืองนิรมิตแห่งจิตตนคร” เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งการจะนำเสนอพระนิพนธ์ของสมเด็จพระสังฆราชฯ ต้องดึงตัวตนของท่านออกมา โดยเฉพาะในยุคเทคโนโลยีดิจิทัล

สนใจ คลิก 

เดอะไดอารี่ บันทึกประวัติศาสตร์ชาติไทยกับสถาบันพระมหากษัตริย์

🚉 การผจญภัยครั้งยิ่งใหญ่ ของเมฆ ตะวัน และผองเพื่อน🧒👧🐈‍⬛️ 👉👉ออกอากาศทางช่อง DLTV และดิจิตอลทีวี

The Diary เป็นแอนิเมชั่นตอนละ 6 นาที เล่าเรื่องราวของเมฆและตะวัน เด็กวัย 7 ขวบที่ต้องมาอยู่บ้านคุณปู่ที่เพชรบุรีในตอนปิดเทอม คุณปู่เป็นทหารเก่าและใส่เสื้อเหลืองทุกวัน โดยปู่มักจะคอยเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ให้หลานทั้งสองคนฟังเสมอ และระหว่างนั้นเมฆกับตะวันก็เจอปากกาขนนกวิเศษที่สามารถเปิดประตูมิติท่องไปในอดีตได้ ซึ่งประตูมิตินี้ก็จะพาทั้งคู่ย้อนไปในอดีตตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนถึงรัตนโกสินทร์ ได้ไปเห็นยูโทเปียของยุคโบราณที่น่าอยู่เหลือเกินภายใต้ร่มเงาพระบารมีของสถาบันพระมหากษัตริย์ เมื่อกลับมาปัจจุบัน ทุกครั้งก่อนนอนเมฆก็จะต้องเขียนไดอารี่บรรยายความซาบซึ้งที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ก่อนถึงจะนอนหลับได้ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ The Diary

สนใจ คลิก 

ชุดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์