ก.ต.ป.น.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา

 ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 มาตรา 20 กำหนดให้กระทรวงศึกษาธิการ มีผู้ตรวจราชการของกระทรวงเพื่อทำหน้าที่ในการตรวจราชการศึกษาวิเคราะห์ วิจัย ติดตามและประเมินผลระดับนโยบายเพื่อนิเทศให้คำปรึกษาและแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนา

            ในระดับสำนักงานให้มีคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา ให้ทำหน้าที่ติดตามและประเมินผลโยบายตามภารกิจตลอดจนนิเทศให้คำปรึกษาและแนะนำเพื่อปรับปรุง พัฒนา

            ในระดับเขตพื้นที่การศึกษาให้มีคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัด การศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษามีหน้าที่ศึกษาวิเคราะห์ วิจัย นิเทศติดตามและประเมินผลการบริหาร และการดำเนินการโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเตรียมการรับการนิเทศติดตามและประเมินผลจากหน่วยงานภายนอก

            การดำเนินงานตามวรรคหนึ่งและวรรคสาม ให้มีคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล การจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาการและคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศ การศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ สำหรับกระทรวงศึกษาธิการหรือสำหรับแต่ละ เขตพื้นที่การศึกษา ทั้งนี้ จำนวน หลักเกณฑ์ และวิธีการได้มาของคณะกรรมการดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

            การดำเนินการในเรื่องการตรวจราชการและการดำเนินการของคณะกรรมการต่าง ๆ ที่กำหนดในมาตรานี้ให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎกระทรวง ระเบียบหรือข้อบังคับของกระทรวงหรือส่วนราชการหรือมติคณะรัฐมนตรี หรือคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้  จะต้องไม่กระทบกระเทือนต่อสาระการบริหารและการจัดการของสถานศึกษา ของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคลในสายบังคับบัญชาของสำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาที่สามารถดำเนินกิจการได้โดยอิสระพัฒนาระบบบริหารและการจัดการที่เป็นของตนเองมีความคล่องตัว มีเสรีภาพทางวิชาการและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภาสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษานั้น

             โดยสรุปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 มาตรา 20 วรรค 3 และวรรค 4 กำหนดว่า ในระดับเขตพื้นที่การศึกษาให้เป็นการศึกษา วิเคราะห์วิจัย นิเทศติดตาม และ ประเมินผลการบริหารและการดำเนินการ โดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่ การศึกษา เพื่อเตรียมการรับการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลจากหน่วยงานภายนอก

 

บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษาของ เขตพื้นที่การศึกษา ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการตรวจราชการ การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา พ.ศ. 2560

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการตรวจราชการ การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล การจัดการศึกษา พ.ศ. 2560 ส่วนที่การติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา ระดับเขต พื้นที่การศึกษา ข้อ 25 การติดตาม ประเมินผลและนิเทศการบริหารและการดำเนินการ โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของ หน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดพื้นที่การศึกษา เพื่อเตรียมการรับการนิเทศ ติดตามและประเมินผลจากหน่วยงานภายนอก และ ข้อ 26 ให้คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา  ของเขตพื้นที่การศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการ กำหนดจำนวน หลักเกณฑ์และวิธีการได้มาของคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้        

            1. ส่งเสริสนับสนุนให้มีการนำมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มากำหนดเป็นแนวทางในการติดตาม ประเมินผล และนิเทศการบริหารและการดำเนินการของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา

            2. กำหนดแนวทางการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย การบริหารและการดำเนินการของหน่วยงานและสถานศึกษา ในสังกัด

เขตพื้นที่การศึกษา

            3. พิจารณาแผนการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา โดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานและ

สถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา

            4. ติดตาม ประเมินผลและนิเทศการบริหารและการดำเนินการตามแผนที่กำหนด

            5. รับทราบผลการติดตาม ประเมินผล และนิเทศการบริหารและการดำเนินการตามแผน และให้ข้อเสนอแนะ เพื่อ

การปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

            6. ส่งเสริมให้มีการประสานการติดตาม ประเมินผลและนิเทศการศึกษากับคณะกรรมการและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

            7. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการจัดการศึกษาตามความจำเป็น

            8. ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมาย

แนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา

ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการตรวจราชการ การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล การจัดการศึกษา

พ.ศ. 2560 ส่วนที่ 4 การติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา ระดับเขต พื้นที่การศึกษา ข้อ 26 ให้คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการ กำหนด จำนวน

หลักเกณฑ์ และวิธีการได้มาของคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา

มีอำนาจหน้าที่ 8 ข้อ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ซึ่งเป็นปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ประสบความสำเร็จและ

เกิดการมีส่วนร่วม ของผู้ที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องใช้กระบวนการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการบริหารและ

การดำเนินการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในสังกัด ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานของคณะกรรมการติดตามตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา ประสบผลสำเร็จตาม มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

จึงกำหนดแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา ดังต่อไปนี้

            1. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ยุทธศาสตร์นโยบาย จุดเน้นของชาติของกระทรวงศึกษาธิการ ของสำนักงานคณะกรรมการ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน และมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อนำมาใช้เป็น แนวทางในการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา

            2. กำหนดแนวทางและเป้าหมายความสำเร็จในการทำงานของคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศ

การศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาให้สอดคล้องกับข้อ 1 ตามภารกิจของคณะกรรมการ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศ

การศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา

            3. กำหนดกลไกการทำงานในการขับเคลื่อนงานในภารกิจของคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา เช่น

               3.1 จัดทำแผนปฏิบัติการในการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา เสนอขออนุมัติจาก คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา

               3.2 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการจัดการศึกษา

               3.3 สร้างเครื่องมือในการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษาให้สอดคล้องกับข้อ 1 และ ข้อ 2

            4. สร้างความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูวิชาการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

            5. ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการในการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษาที่กำหนดไว้

            6. สรุป รวบรวมข้อมูล และประมวลผลที่ได้จากการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศ การศึกษา

            7. เสนอสรุปรายงานผลการติดตาม ประเมินผลและนิเทศการศึกษาต่อผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ

คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา

            8. รับทราบผลการดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษาการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ และ

ให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานำไปแก้ปัญหาและปรับปรุงพัฒนา การบริหารและการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

            9. ประสานงานการตรวจราชการ และติดตาม ตรวจสอบประเมินผลของคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล

การจัดการศึกษา ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ คณะติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลในทุกระดับ รวมทั้งแจ้งหน่วยงาน และ

สถานศึกษาในสังกัด

            10. ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย จากคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของระทรวงศึกษาธิการ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้ปฏิบัติในการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการจัดการศึกษาระดับส่วนราชการ และระดับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด

รูปแบบการบริหารจัดการสร้างความเข้มแข็งให้แก่คณะกรรมการ ก.ต.ป.น. โดยใช้หลักการมีส่วนร่วม (Participation) โมเดล 5 ร

            ร่วมคิด (Thinking Participation) หมายถึง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมคิดวางแผนการติดตามการกำหนดตัวชี้วัด

ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดพื้นที่การศึกษา เพื่อเตรียมการรับ

การนิเทศ ติดตามและประเมินผลจากหน่วยงานภายนอก

             ร่วมปฏิบัติ (Implementing Participation) หมายถึง ให้ทุกภาคส่วนที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษา 

มีส่วนร่วมในงานด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารงานทั่วไป ภายใต้ความร่วมมือ

ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา 

และคณะอนุกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการจัดการศึกษา

             ร่วมติดตาม นิเทศ (Supervision Participation) หมายถึง คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบประเมินผล และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษามีส่วนร่วมในการกำกับ นิเทศ และติดตามความก้าวหน้า ตามแผนเป็นระยะ ๆ โดยสร้าง

เครือข่ายเป็นกลไกในการติดตามและนิเทศการศึกษา

             ร่วมประเมินผล ( Evaluation Participation) หมายถึง คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบประเมินผล และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษามีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล ตามแผนปฏิบัติการที่กำหนดไว้

             ร่วมปรับปรุงและพัฒนา ( Improve and develop Participation) หมายถึง คณะกรรมการติดตาม

ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษามีส่วนร่วมในการสรุปผลและรายงานผลการดำเนินงาน

ต่อต้นสังกัดในด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคลและด้านการบริหารงานทั่วไป และนำผลการประเมิน

มาปรับปรุงและพัฒนางานของเขตพื้นที่การศึกษา

 แนวทางการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการตรวจราชการ การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา

พ.ศ.2560 ส่วนที่ 4 การติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ข้อ 27 ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ดำเนินการ ดังนี้

            1. มอบหมายศึกษานิเทศก์ หรือข้าราชการอื่นในสังกัด ทำหน้าที่ติดตาม ประเมินผลและนิเทศการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา

            2. จัดทำแผนการติดตาม ประเมินผลและนิเทศการศึกษาประจำปี ให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงานเสนอขออนุมัติจากคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา แล้วแจ้งให้สถานศึกษาในสังกัดทราบ

            3. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ดำเนินการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการศึกษา การบริหารการศึกษา  โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อการเตรียมรับการนิเทศติดตามและประเมินผลจากหน่วยงานภายในและภายนอก

            4. รายงานผลการติดตาม ประเมินผลและนิเทศการศึกษาเสนอผู้บังคับบัญชาและคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา

            5. ประสานให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ เพื่อชี้แจง ให้ถ้อยคำหรือส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน

            6. ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมาย

 

ùùùùùùùùùùùù