การอ่านค่าว

นายประเวศน์ เจนประชากร (การอ่านค่าว)

“ค่าว” เป็นชื่อของลักษณะการเรียบเรียงถ้อยคำที่ให้เป็นระเบียบเหมือนห่วงโซ่ คือ มีสัมผัสคล้องจองกันไป ทางภาคเหนือเรียกเชือกเส้นโต ๆ ว่าค่าว หรือเชือกค่าว เพราะลักษณะเป็นค่าวเป็นเครือต่อเนื่องกันลักษณะคล้ายกลอนแปดของภาคกลาง ทั้งในด้านสัมผัสและลีลากลอน ค่าวหรือค่าวซอเป็นวรรณกรรมที่สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นในช่วงระหว่าง พ.ศ.2300-2470 เพราะเป็นช่วงที่บ้านเมืองพ้นจากอำนาจการปกครองของพม่า วัฒนธรรมหลายอย่างรวมทั้งวรรณกรรมค่าวจึงได้รับการฟื้นฟูขึ้น ค่าวหรือค่าวซอเป็นวรรณกรรมที่สืบเนื่องมาจากธรรมค่าว โดยธรรมค่าวนั้นแต่งขึ้นเพื่อใช้เทศน์ให้ชาวบ้านฟังที่วัด ผู้ที่ฟังธรรมค่าวก็ได้ข้อคิด ปรัชญาหรือหลักธรรม สำหรับผู้ที่ไม่ได้ฟังธรรมค่าวก็ได้อาศัยฟังค่าวซอแทนเพราะค่าวซอมีเนื้อเรื่องทำนองเดียวกับธรรมค่าว จะต่างกันในรูปแบบของการประพันธ์ เท่านั้น

ค่าวซอ แสดงถึงวัฒนธรรมของชาวภาคเหนือโดยเฉพาะล้านนาในด้านต่าง ๆ เช่น ประเพณี การละเล่น สุภาษิต การแต่งกาย ตลอดจนสภาพความเป็นอยู่ของชาวภาคเหนือ นอกจากนี้ค่าวซอยังแต่งขึ้นด้วยคำประพันธ์ที่มีลักษณะเฉพาะตัว แต่มีส่วนคล้ายกลอนแปดอยู่บ้างตรงที่มีสัมผัสรับกันไปโดยตลอด ค่าวจึงเป็นวรรณกรรมที่มีคุณค่าทางด้านภาษาของล้านนา มีความสุนทรียะ บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ แสดงออกถึงภูมิปัญญาและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของสังคมชนบทในอดีต สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมประเพณี แฝงด้วยคติธรรมและสุภาษิตสอนใจ นอกจากนี้ ค่าวยังแสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น

แต่ปัจจุบันการประพันธ์และการเล่าค่าวถูกละทิ้ง ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร และหากไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ค่าวก็อาจจะเลือนหายไป ดังนั้น ค่าวจึงกลายเป็นวัฒนธรรมของทางภูมิปัญญาของคนไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ดังเช่นนายประเวศน์ ที่เคยบวชเณรมาก่อน และได้เล่าเรียนในเรื่องของการอ่านค่าวตั้งแต่สมัยบวชเรียน ทำให้เกิดความสนใจและศึกษาหาความรู้ จึงทำให้มีความสามารถในการอ่านค่าวได้อย่างไพเราะ


จุดเด่นในการอ่านค่าวของคุณพ่อประเวศน์ คือเป็นการอ่านค่าวโดยเล่าเรื่องกิจกรรม วัฒนธรรม ประเพณีพื้นบ้านของตำบลห้วนลาน ออกมาเป็นกลอนได้อย่างไพเราะ และได้รับการเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับทางด้านการอ่านค่าว สามารถนำความรู้ที่ได้มาใช้ในการอ่านค่าวเพื่อให้เกิดความไพเราะเสนาะหู เป็นการใช้วิธีการถ่ายทอด หรือสื่อสารต่อกันด้วยภาษาพูด โดยการบอกเล่าสู่กันฟัง การสนทนาซักถาม การอบรมสั่งสอน รวมถึงการขับร้องเป็นท่วงท่าทำนองต่าง ๆ


ตําแหนงที่ตั้ง : ชื่อ นายประเวศน์ นามสกุล เจนประชากร วันเดือนปีเกิด 15 กรกฎาคม 2493 ที่อยู่ปัจจุบัน (ที่สามารถติดต่อได้) บ้านเลขที่ 51 หมู่ที่ 3 ตำบล/แขวง ห้วยลาน อำเภอ/เขต ดอกคำใต้ จังหวัด พะเยา รหัสไปรษณีย์ 56120


ขอมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางสาวดวงดาว อุปพรรณ์

ภาพถาย/ภาพประกอบ โดย นางสาวดวงดาว อุปพรรณ์