กระเป๋ารีไซเคิล

นางนงลักษณ์ ไชยวงค์ (การประดิษฐ์บายศรีสู่ขวัญ กระเป๋ารีไซเคิล)

งานฝีมือเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมของไทยไว้ในกระบวนการประดิษฐ์คิดค้น นวัตกรรมละเทคโนโลยีจากภูมิปัญญา การประดิษฐ์กระเป๋ารีไซเคิลจากซองกาแฟเป็นการนำเอาเศษวัสดุเหลือใช้มาประยุกต์ใช้ให้เป็นกระเป๋าที่สวยงามเพื่อให้มีรูปลักษณ์ที่สวยและทันสมัยแปลกใหม่และแตกต่างจากผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่แล้ว การประดิษฐ์กระเป๋ารีไซเคิลเป็นการสร้างงานสร้างรายได้เสริมและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์กระเป๋ารีไซเคิลจากซองกาแฟ คุณแม่นงลักษณ์ ไชยวงค์ ได้ตระหนักและเห็นคุณค่าของกระเป๋ารีไซเคิลจากซองกาแฟและควรที่จะได้อนุรักษ์งาน ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านของไทยประเภทนี้มิให้สูญหายไปและยังช่วยลดการทำลายขยะเผาขยะจากซอกาแฟ


การประดิษฐ์กระเป๋าจากพลาสติกรีไซเคิล เป็นการนำเอาวัสดุเหลือใช้มาประยุกต์ให้เป็นกระเป๋า เพื่อให้มีรูปลักษณ์ที่สวยงาม ทันสมัย แปลกตา เป็นการสร้างงานสร้างรายได้เสริมและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ตระหนักและเห็นคุณค่าของการรีไซเคิลชองกาแฟที่มีอยู่ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรด้วยความคุ้มค่าช่วบลดโลกร้อน ลดปริมาณขยะ เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านของไทยมิสูญหายไปอีกด้วย



คุณแม่นงลักษณ์ เป็นบุคคลที่มีความกระตือรือร้น ชอบศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา สั่งสมประสบการณ์ ลองผิด ลองถูก จนกลายมาเป็นบุคคลผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ สามารถถ่ายทอด ส่งต่อความรู้ให้แก่บุคคลอื่นได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการประดิษฐ์กระเป๋าจากพลาสติกรีไซเคิล กระเป๋ารีไซเคิลจากซองกาแฟ หรือการทำบายศรีสู่ขวัญ จากความสนใจใคร่รู้ กระตุ้นให้เกิดอยากรู้ อยากลอง สู่การลงมือปฏิบัติ การสานกระเป๋าจากพลาสติก รีไซเคิล เริ่มแรกคุณแม่นงลักษณ์ได้เห็นกระเป๋าจากพลาสติกรีไซเคิลที่ถูกทำเป็นสินค้าจำหน่าย จึงเกิดความสนใจอยากเรียนรู้ขั้นตอนวิธีการทำ จึงได้เข้าร่วมอบรมการทำกระเป๋าจากพลาสติกรีไซเคิล บ้านสันกลาง ตำบลดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา


ต่อจากนั้นจึงได้เรียนรู้เพิ่มเติมโดยการซื้อกระเป๋าลวดลายใหม่มาเป็นต้นแบบและทดลองค้นคว้าสร้างรูปแบบใหม่ด้วยตนเอง ต่อจากนั้นได้ถ่ายทอดความรู้ไปยังเพื่อนบ้านในชุมชน ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มช่วยกันผลิตกระเป๋าจากพลาสติกรีไซเคิลขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดขยะ ณ ปัจจุบันสมาชิกกลุ่มมีทั้งหมด 8 คน มีการออมในกลุ่ม นอกจากกลุ่มกระเป๋าจากพลาสติกรีไซเคิลแล้ว คุณแม่นงลักษณ์ยังมีความสามารถในการประดิษฐ์บายศรีสู่ขวัญอีกด้วย การทำบายศรีสู่ขวัญ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ บายศรี ทำด้วยใบตอง รูปคล้ายกระทง เป็นชั้น ๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลำดับ เป็น 3 ชั้น 5 ชั้น 7 ชั้น หรือ 9 ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่องสังเวยวางอยู่ในบายศรี และมีไข่ขวัญ (ไข่ต้ม) เสียบอยู่บนยอดบายศรี มีหลายประเภท เช่น บายศรีตอง บายศรีปากชาม บายศรีใหญ่ (ภาษาเขมร บาย = ข้าว + ศรี = สิริ หมายความว่า ข้าวอันเป็นสิริหรือข้าวขวัญ) มีการพันสายสิญจน์ไว้โดยรอบเพื่อใช้ผูกข้อมือผู้รับขวัญ ผู้นำทำพิธีเรียกว่า หมอขวัญ




ข้อมูลพื้นฐาน รายบุคคล เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น/บุคคลคลังปัญญา

ชื่อ......... นางนงลักษณ์ ..... นามสกุล..... ไชยวงค์ .......ที่อยู่ปัจจุบัน (ที่สามารถติดต่อได้) บ้านเลขที่ ...... 172 ..... หมู่ที่ ... 1 .... ตำบล/แขวง.. ห้วยลาน ... อำเภอ/เขต.......ดอกคำใต้..........จังหวัด.........พะเยา...........รหัสไปรษณีย์ .........56120...........

ภาพถ่ายโดย นางสาวเพชรรัตน์ ใชสงคราม

เรียบเรียงโดย นางสาวดวงดาว อุปพรรณ์