การจัดการศึกษาของ กศน.ตำบล

การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งจัดการศึกษาให้กับประชาชนและผู้ด้อยโอกาสที่อยู่นอกระบบโรงเรียนให้ได้รับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน รวมทั้งการจัดการศึกษาสายสามัญในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อยกระดับการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับกลุ่มเป้าหมาย

ลักษณะกิจกรรม

จัด ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับกลุ่มเป้าหมายนอกระบบโรงเรียนโดยปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนและการเรียนรู้ การทำงานของครูผู้สอนและผู้จัดการศึกษา พัฒนาหลักสูตร สื่อการศึกษาและสถานศึกษา ตลอดจนเร่งพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ เพื่อกลุ่มเป้าหมายได้รับการศึกษาที่เป็นพื้นฐานเพียงพอที่จะดำเนินชีวิตตามหลักสูตรกำหนดไม่น้อยกว่า 12 ปี ซึ่งแบ่งตามโครงสร้างหลักสูตร

การศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

โครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551


โครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วย 5 สาระการเรียนรู้ ได้แก่


1.ทักษะการเรียนรู้

2.ความรู้พื้นฐาน

3.การประกอบอาชีพ

4.ทักษะการดำเนินชีวิต

5.การพัฒนาสังคม


***แต่ละสาระประกอบด้วยรายวิชาบังคับและรายวิชาเลือก ตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในโครงสร้างรายวิชาที่เลือกนั้นผู้เรียนสามารถเลือกได้ตามความต้องการของตนเองและในการเรียนแต่ละระดับผู้เรียนต้องทำ กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต(กพช.) ไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง


ารจัดการศึกษาต่อเนื่อง

การจัดการศึกษาต่อเนื่อง เป็นการจัดการเรียนรู้เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายประชาชนทั่วไป ทุกกลุ่มวัยได้รับการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการ ด้านการพัฒนาอาชีพ พัฒนาทักษะชีวิต พัฒนาสังคมและชุมชน ตามหลักปรัชญาคิดเป็นและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีกรอบ การจัดการศึกษาต่อเนื่อง ดังนี้

วิธีและกำรจัดกำรศึกษำต่อเนื่อง 4 รูปแบบ

1. รูปแบบกลุ่มสนใจ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนที่มีการรวมกลุ่ม หรือไม่รวมกลุ่ม ดังนี้

1.1 จัดกิจกรรมตามความต้องการและความสนใจที่มีการรวมกลุ่มกัน ของผู้เรียน ตั้งแต่ 6 คนขึ้นไป หลักสูตรไม่เกิน 30 ชั่วโมง

1.2 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามภารกิจ เช่น อำเภอเคลื่อนที่ จังหวัดเคลื่อนที่ ฯลฯ ผู้เรียนไม่มีการรวมกลุ่ม สนใจสมัครเรียน ณ สถานที่จัดกิจกรรม หลักสูตรไม่เกิน 5 ชั่วโมง

2. รูปแบบชั้นเรียนวิชาชีพ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลักสูตรตั้งแต่ 31 ชั่วโมง ขึ้นไป ผู้เรียนตั้งแต่ 11 คนขึ้นไป

3. รูปแบบกิจกรรมฝึกอบรมประชาชน เป็นการอบรม การศึกษาดูงานการจัดเวที ประชาคม หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่มีลักษณะเป็นการฝึกอบรม มีเนื้อหาเกี่ยวกับกิจกรรมเพื่อพัฒนา ทักษะชีวิต กิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน การส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง และการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ มีเจตคติ และ ทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน โดยมีโครงการและหลักสูตรที่มีช่วงระยะเวลาจัด ที่แน่นอน ผู้เรียนกลุ่มละ 15 คนขึ้นไป หลักสูตร 1-3 วัน

4. รูปแบบการเรียนรู้รายบุคคล เป็นการเรียนรู้ของผู้เรียนบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ ต้องการจะเรียนรู้ในหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องในสถานศึกษาหรือภาคีเครือข่าย


การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย

การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยไม่มีรูปแบบการศึกษา หรือการเรียนรู้ที่ตายตัว ไม่มีหลักสูตรเป็นตัวกำหนดกรอบกิจกรรม หรือขอบข่ายสาระการเรียนรู้ การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับความต้องการ และแรงจูงใจใฝ่รู้ของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ดี เราสามารถจัดกิจกรรม เพื่อเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตามอัธยาศัยได้ ดังนี้

  1. จัดกิจกรรมในแหล่งการเรียนรู้ประเภทต่างๆ เช่นห้องสมุดประชาชน การเรียนรู้ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ พิพิธภัณฑ์ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากภูมิปัญญาชาวบ้าน การจัดกลุ่มเสวนา หรือการอภิปราย กิจกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรม กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน การเผยแพร่ข่าวสารข้อมูล และความรู้ต่างๆ ฯลฯ

  2. ส่งเสริมสนับสนุน และพัฒนาการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย ได้แก่ สนับสนุนสื่อแก่หน่วยงานและแหล่งความรู้ต่างๆ

  3. ส่งเสริมให้หน่วยงานเครือข่ายจัดการศึกษาตามอัธยาศัย เช่น ห้องสมุดในสถานที่ราชการ สถานประกอบการ ฯลฯ

  4. ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนากลุ่มต่างๆ ตามความต้องการ และความสนใจ เช่น กลุ่มดนตรี กลุ่มสิ่งแวดล้อม พัฒนาชุมชน ฯลฯ

หลักการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย

• จัดให้สนองกลุ่มเป้าหมาย ทุกเพศและวัย ตามความสนใจ และความต้องการ

• จัดให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต

• จัดโดยวิธีหลากหลายโดยใช้สื่อต่างๆ

• จัดให้ยืดหยุ่น โดยไม่ยึดรูปแบบใดๆ

• จัดให้ทันต่อเหตุการณ์

• จัดได้ทุกกาลเทศะ

• จัดบรรยากาศ สถานการณ์ และสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต