การเลี้ยงโคนม (ฟาร์มโคนมสาธิต)

         อาชีพท้องถิ่น


ชื่ออาชีพประจำถิ่นหรือท้องถิ่น 

     การเลี้ยงโคนม (ฟาร์มโคนมสาธิต) 

รายละเอียดผู้ประกอบอาชีพ (ข้อมูลส่วนตัว หรือของชุมชน)

             การเลี้ยงโคนมที่จะขอกล่าวต่อไปนี้เป็นประสบการณ์จริงของ นางประคอง บุญหนัก และ นายบุญมี บุญหนัก ที่เลี้ยงโคนมเพียง 40 ตัว แต่สามารถสร้างรายได้หลักเป็นกอบ   เป็นกำคือหลักแสนบาทต่อเดือน เกษตรกรท่านนี้เริ่มเลี้ยงโคนมจากการซื้อโคนมเพศผู้ เข้ามาเลี้ยงก่อนเพียง  5 ตัวเท่านั้น  ในเบื้องต้นซึ่งพันธุ์โคที่ได้นั้นซื้อมาจากสหกรณ์โคนมในจังหวัดเลย หลังจากเลี้ยงจนโตเต็มที่จึงทำการขายออกไป และนำเงินที่ได้นั้นมาซื้อแม่วัวนม 2 ตัว มาเลี้ยงต่อ และทำการเพาะขยายพันธุ์เรื่อยมาจนปัจจุบันในฟาร์มมีโคนมทั้งหมด  ราว 100 ตัว แบ่งเป็น วัวสาวทดแทน 10 ตัว วัวรีดนม  45 ตัว วัวตัวผู้ 5 ตัว และวัวพักท้องราว 40 ตัว

สถานที่ตั้ง (พิกัด) ของผู้ประกอบอาชีพหรือของชุมชน

     เลขที่ 143 หมู่ที่ 13 บ้านเขตอุดมศักดิ์ ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

     โทรศัพท์ 081-6706044 , 089-5761000

กระบวนการ ขั้นตอนการผลิต

          การเลี้ยงโคนมที่จะขอกล่าวต่อไปนี้เป็นประสบการณ์จริงของเกษตรกรโคนมที่เลี้ยงโคนมเพียง 40 ตัวแต่สามารถสร้างรายได้หลักเป็นกอบเป็นกำคือหลักแสนบาทต่อเดือน ซึ่งเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วจะเหลือกำไรต่อเดือนราว 60,000-70,000 บาท  เลยทีเดียว เกษตรกรท่านนี้เริ่มเลี้ยงโคนมจากการซื้อโคนมเพศผู้เข้ามาเลี้ยงก่อนเพียง  5 ตัวเท่านั้นในเบื้องต้น  ซึ่งพันธุ์โคที่ได้นั้นซื้อมาจากสหกรณ์โคนมในจังหวัดเลย  หลังจากเลี้ยงจนโตเต็มที่จึงทำการขายออกไป และนำเงินที่ได้นั้นมาซื้อแม่วัวนม 2 ตัวมาเลี้ยงต่อในราคาตัวละ 30,000 บาท และทำการเพาะขยายพันธุ์เรื่อยมา จนปัจจุบันในฟาร์มมีโคนมทั้งหมดราว 100 ตัว แบ่งเป็น วัวสาวทดแทน 10 ตัว วัวรีดนม 45 ตัว วัวตัวผู้ 5 ตัวและวัวพักท้องราว 40 ตัว น้ำนมที่ได้ในแต่ละวันจะอยู่ที่ประมาณ 250 กิโลกรัมต่อวัน ราคาที่ขายน้ำนมอยู่ที่กิโลกรัมละ 11 บาทกว่า ถือว่าพอใช้ได้ไม่ต่ำมาก โรงเรือนเน้นแบบสร้างง่าย ๆ ไม่เน้นวัสดุราคาสูงมากนัก    พันธุ์โคนมที่ทางฟาร์มเลือกมาเลี้ยงคือ พันธุ์ขาวดำ    โฮลสไตน์ ฟรีเชียส โดยช่วงแรกจะผสมแบบสายพันธุ์เลือดร้อย ต่อมาปรับน้ำเชื้อลงมาเป็น 93.75 เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่ให้น้ำนมมาก ทนต่อโรคด้วย ทางฟาร์มเลือกเลี้ยงแบบปล่อยอิสระ ซึ่งทางฟาร์มจะจัดสรรพื้นที่ในคอกออกเป็นสัดส่วน คือส่วนที่นอนพัก ส่วนลานสำหรับให้โคได้ออกกำลังกายบ้าง ซึ่งไม่มีหลังคา ส่วนกินอาหาร ซึ่งลานคอกนี้จะโปร่งโล่งแต่ล้อมรั้วด้วย จุดสำคัญคือ โรงเรือนที่สร้างจะเน้นเรื่องของการถ่ายเทอากาศที่ดี เย็นสบาย ไม่ร้อนเพราะโคไม่ชอบ และต้องไม่มีสิ่งรบกวน เสียงดัง แสงสะท้อนต่าง ๆ เพราะส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพน้ำนม อาหารทางฟาร์มจะให้อาหารสำเร็จรูปจากบริษัทนำมาผสมกับต้นข้าวโพดอ่อน และมีการปลูกหญ้ารูซี่ไว้ใช้ร่วมด้วยราว 3 ไร่ จากนั้นเสริมฟางให้โคด้วยเพื่อช่วยในการย่อยอาหาร ซึ่งโคนม 1 ตัวจะกินอาหาร 9-10 กระสอบได้สำหรับ 1 เดือน สำหรับวัว 40 ตัว จะเสียค่าใช้จ่ายประมาณ  27000 บาทต่อเดือน

        เรื่องปัญหาเกี่ยวกับอาหาร ทางฟาร์มจะประสบในหน้าฝนเนื่องจากพื้นที่ใกล้ฟาร์มที่ใช้เป็นอาหารของโคจะถูกน้ำท่วมทำให้ขาดแคลน วิธีการแก้ปัญหาเรื่องนี้ทางฟาร์มจะใช้วิธีการนำต้นข้าวโพดมาหมักไว้ก่อนช่วงหน้าฝน

 การเลี้ยงดูลูกโค

       ก่อนที่จะพูดถึงการเลี้ยงลูกโค ควรจะทำความรู้รู้จักกับนมน้ำเหลืองก่อน นมน้ำเหลือง คือน้ำนมที่ผลิต ออกมาจากแม่โคในระยะแรกคลอดจะผลิตออกมานานประมาณ 2-5 วัน ต่อจากนั้นก็จะเปลี่ยนเป็นนมธรรมดา  ลักษณะของนมน้ำเหลืองจะมีสีขาวปนเหลือง มีรสขม มีคุณสมบัติคือ จะมีภูมิคุ้มโรค อีกทั้งช่วยป้องกันโรคที่ เกิดกับระบบลำไส้และผิวหนังและยังเป็นยาระบายท้องอ่อนๆ ของลูกโคได้อีกด้วย มีคุณค่าทางอาหารสูงเมื่อ ลูกโคคลอดมาใหม่ ๆ ควรแยกลูกโคออกจากแม่โคทันที และควรจะให้กินนมน้ำเหลืองจากแม่โคภายใน 6 ชั่วโมงหลังคลอด เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงโดยเร็ว ลูกโคควรได้กินนมน้ำเหลืองราว 2-5 วัน ให้กินวันละ 2 เวลา เช้า, เย็น

 การเลี้ยงและดูแลโครีดนม

       แม่โคจะให้นมหรือมีน้ำนมให้รีดก็ต่อเมื่อหลังจากคลอดลูกในแต่ละครั้งซึ่งจะให้นมเป็นระยะยาว, สั้น มากน้อยต่างกันขึ้นกับความสามารถของแม่โคแต่ละตัว, พันธุ์และปัจจัยอื่น ๆ อีก แต่โดยทั่วไปจะรีดนม ได้ประมาณ 5-10 เดือน นมน้ำเหลืองควรจะรีดให้ลูกโคกินจนหมดไม่ควรนำส่งเข้าโรงงานเป็นอันขาด และควรให้อาหารแก่นมโคอย่างเพียงพอเพื่อแม่โคจะได้ไปสร้างน้ำนมและเสริมสร้างร่างกายส่วนอื่น ๆ ที่ยังไม่ สมบูรณ์ได้อย่างเพียงพอ ภายหลังจากคลอดลูกโดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 30-70 วันหลังจากคลอดมดลูกจะ เริ่มกลับเข้าสู่สภาพปกติ แม่โคจะเริ่มเป็นสัดอีกแต่อย่างไรก็ตามเมื่อแม่โคแสดงอาการเป็นสัดภายหลังคลอดน้อยกว่า 25 วัน ยังไม่ควรให้ผสม เพราะมดลูกและอวัยวะต่าง ๆ ในระบบสืบพันธุ์เพิ่งฟื้นตัวใหม่ ๆ ยังไม่เข้าสู่ สภาพปกติ ในทางปฏิบัติส่วนใหญ่ควรจะรอให้เป็นสัดครั้งที่ 2 เกิดขึ้นจึงค่อยผสมซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วจะใช้ เวลาประมาณ 45-72 วัน หลังจากคลอด