วัดถ้ำผาบิ้ง

วัดถ้ำผาบิ้ง  

ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี

ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี

    วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ เช่น ความเชื่อ ค่านิยม ประเพณี ขนมธรรมเนียม ฯลฯ

ชื่อของศิลปะ วัฒนธรรมและ(หรือ) ประเพณี

    วัดถ้ำผาบิ้ง 

ประวัติความเป็นมาของศิลปะ วัฒนธรรมหรือประเพณีที่เกี่ยวข้องกับชุมชน

วัดถ้ำผาบิ้ง ตั้งอยู่ที่  บ้านนาแก  หมู่ที่ 2 ต.ผาบิ้ง อ.วังสะพุง จ.เลย สิ่งสำคัญของวัดคือ รอยพระพุทธบาทบนเพดานถ้ำ ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถานในปี 2478  เป็นวัดที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเลย มีพื้นที่ทั้งหมด 49 ไร่ ได้รับการจดทะเบียน เป็นโบราณสถานแห่งแรกของจังหวัดเลยพร้อมกับพระธาตุ    ศรีสองรัก มีประวัติเล่าว่าเป็นสถานที่ ที่พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ พระอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงของภาคอีสาน ได้เคยมาบำเพ็ญธรรมอยู่ที่วัดนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2461 เพราะเป็นป่าวิเวกและยังไม่มีที่พักถาวรสำหรับพระภิกษุ มีเพียงแต่ที่พักที่สร้างชั่วคราวเท่านั้น ซึ่งต่อมาได้มีการสร้างวัดขึ้น สิ่งสำคัญในวัดนี้ก็คือ พระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่บนเพดานถ้ำ ขนาดกว้าง 2 ฟุต ยาว 3 ฟุต รวมทั้งพระพุทธรูปปางสมาธิ พระอาจารย์หลุยส์ จันทสาโร และพระอาจารย์วิปัสสนากรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ ก็เคยอยู่จำพรรษาที่วัดนี้

กรมศิลปากรจดทะเบียนเป็นโบราณสถานพร้อมกับพระธาตุศรีสองรัก เมื่อ พ.ศ. 2498   เมื่อนักท่องเที่ยวเดินเข้าไปในถ้ำจะมองเห็นพระพุทธบาทขนาดใหญ่อยู่บนเพดานถ้ำ ลวดลายและนิ้วพระบาทไม่ปรากฏเด่นชัด

ถ้ำผาบิ้ง อยู่บริเวณเชิงเขาในบริเวณวัดถ้ำผาบิ้ง เป็นรอยพระพุทธบาทขนาดใหญ่และแปลกกว่าทุกแห่งที่เคยเห็นมา คือรอยพระบาทประทับอยู่ที่ผนังถ้ำ   ด้านบนเหนือศีรษะ แทนที่จะประดิษฐานอยู่ที่พื้นเหมือนแห่งอื่น ๆ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เคยมาจำพรรษาที่นี่สองครั้ง คือในปี พ.ศ. 2454 และปี พ.ศ. 2461 พระอาจารย์เป็นผู้ชี้ว่าคือรอยพระพุทธบาท ที่ตั้งและการเดินทาง อยู่ในบริเวณวัดถ้ำผาบิ้ง ต.ผาบิ้ง อ.วังสะพุง รถยนต์ส่วนตัว จากตัว อำเภอวังสะพุง ใช้ทางหลวงหมายเลข 201 ไปทาง อำเภอหนองหิน จนถึงหลัก กม.180 พบทางแยกขวามือเข้าทางอหลวงหมายเลข 2250 ให้เลี้ยวเข้าไปประมาณ 7 กม. วัดถ้ำผาบิ้งอยู่ทางขวามือ ถ้ำอยู่ในบริเวณวัด รถประจำทาง ขึ้นรถสายวังสะพุง - นาแก ลงที่วัดถ้ำผาบิ้ง รถรับจ้าง เหมารถสองแถวจากตลาดวังสะพุง ราคา 150 บาท สิ่งน่าสนใจ   รอยพระพุทธบาท ปรากฏอยู่บนเพดานถ้ำบริเวณชะง่อนผาลึก ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปอยู่ ต้องเดินเข้าไปที่พระพุทธรูป แล้วกลับหลังเงยหน้ามองเพดานถ้ำ จึงจะเห็นรอยพระพุทธบาทอยู่สูงขึ้นไปประมาณ 4 กม. รอยพระบาทมีขนาดยาว 1 ม. กว้าง 0.5 ม. แต่ลวดลายและรอยนิ้วพระบาทไม่ปรากฏชัดกรมศิลปากร          จดทะเบียนเป็นโบราณวัตถุสถาน พร้อมกับพระธาตุศรีสองรัก เมื่อปี พ.ศ. 2498  อำเภอวังสะพุง  จัดให้มีงานฉลองเป็นประจำทุกปีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หรือเดือน 4 (ประมาณเดือน มี.ค.)

การสืบสาน การอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณี

วัดถ้ำผาบิ้ง  เป็นทั้งสถานที่ดำเนินกิจการในหมู่ของพระสงฆ์เอง และเป็นที่ประกอบกิจกรรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชน กิจการและกิจกรรมเหล่านี้ อิงอยู่กับหน้าที่ หรือศาสนกิจหลักของพระสงฆ์ คือ การศึกษา การปฏิบัติธรรม และการเผยแผ่สั่งสอนประชาชน

จากการปฏิบัติกิจหน้าที่และดำเนินกิจการเหล่านี้ บทบาทของวัดได้พัฒนาขึ้นโดยลำดับตามกาลเวลา จนในที่สุด วัดได้กลายเป็นศูนย์กลางของสังคม เป็นที่รวมจิตใจของประชาชน ทำหน้าที่ทั้งทางศาสนา ทางการศึกษา ทางวัฒนธรรม และทางสังคมโดยตรง มีบทบาทที่เป็นรายละเอียดมากมาย โดยมีการมีบทบาทร่วมกับชุมชนในการทำกิจกรรมต่างๆ เมื่อกล่าวโดยสรุป บทบาทเหล่านั้นมีดังนี้

1. เป็นสถานศึกษาและฝึกอบรมศีลธรรม สั่งสอนวิชาการต่างๆ เท่าที่มีในสมัยนั้นๆ ทั้งโดยตรง คือ แก่ผู้มาบวชตามประเพณี และแก่เด็กที่มาอยู่วัด และโดยอ้อมแก่ผู้มาทำกิจกรรมต่างๆ ในวัด หรือมาร่วมกิจกรรมในวัด ทั้งวิชาหนังสือและวิชาช่างต่างๆ

2. เป็นสถานก่อกำเนิดและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม เป็นที่สืบทอดวัฒนธรรม ที่รวบรวมศิลปกรรม ตลอดจนเป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์

3. เป็นสถานสงเคราะห์ ช่วยให้บุตรหลานชาวบ้านที่ยากจนได้มาอาศัยเลี้ยงชีพพร้อมไปกับได้ศึกษาเล่าเรียน เป็นที่รับเลี้ยงฝึกอบรมเด็กที่มีปัญหา เด็กอนาถา ตลอดจนผู้ใหญ่ซึ่งไร้ที่พักพิง

4. เป็นสถานที่ปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับปัญหาชีวิต เป็นที่ระบายความทุกข์ความเดือดร้อน ความรู้สึกคับแค้นข้องใจต่างๆ และ ปรึกษาหารือรับคำแนะนำสั่งสอนเกี่ยวกับวิธีแก้ปัญหา

5. เป็นสถานที่ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท โดยอาศัยความเคารพนับถือเชื่อฟัง ทำให้พระสงฆ์สามารถทำหน้าที่ประดุจศาลตัดสินความ แต่มุ่งในทางสมัครสมานสามัคคีเป็นสำคัญ

6. เป็นสถานบันเทิง ที่จัดงานเทศกาล งานสนุกสนานร่าเริง และมหรสพต่างๆ ของชุมชน รวมทั้งเป็นที่เล่นที่สนุกสนานของเด็กๆ

7. เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ที่ให้ความร่มรื่นสดชื่นของธรรมชาติ พร้อมให้บรรยากาศที่สงบเยือกเย็นทางจิตใจของพระศาสนา

8. เป็นสถานที่พบปะ ประดุจสโมสร ที่ชาวบ้านบางคนนัดพบ หรือบางคนมาพบปะกันเป็นประจำ บางคนได้มีโอกาสเจอะเจอกันเป็นครั้งคราว ทำให้ไม่ลืมกันไป โดยเฉพาะเป็นที่ชุมนุมสังสรรค์สนทนาปรึกษาหารือกันในกิจการที่เหมาะสม และผ่อนคลาย

9. เป็นสถานที่แจ้งข่าว แพร่ข่าว และสื่อสัมพันธ์เกี่ยวกับกิจการของชุมชน ข่าวภายในชุมชนก็ดี ข่าวจากภายนอกชุมชน เช่นข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์ของประเทศชาติบ้านเมืองก็ดี อาศัยวัดเป็นศูนย์เผยแพร่ที่สำคัญที่สุด และวัดหรือศาลาวัดเป็นที่สำหรับกำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน ตลอดจนนายอำเภอ เรียกชาวบ้านหรือลูกบ้านมาประชุม หรือถือโอกาสที่มีชุมนุมในงานวัด แจ้งข่าวคราวกิจการต่างๆ

10. เป็นสถานที่จัดกิจกรรมของชุมชน ตลอดจนดำเนินกิจการบางอย่างของบ้านเมือง เช่น เป็นที่กล่าวปราศรัยหาเสียงของนักการเมือง ที่จัดลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง หรือยามสงครามสมัย โบราณ เป็นที่ชุมนุมทหาร ก็มีบ่อยครั้ง

11. เป็นสถานพยาบาล ที่รวบรวมสืบทอดตำรายาแผนโบราณ ยากลางบ้าน ที่รักษาผู้ป่วยเจ็บตามภูมิรู้ซึ่งถ่ายทอดสืบๆ มา

12. เป็นสถานที่พักคนเดินทาง ทำหน้าที่ดุจโรงแรมฟรี สำหรับผู้เดินทางไกล โดยเฉพาะจากต่างถิ่น และไม่มีญาติเพื่อนพ้อง

13. เป็นคลังพัสดุ สำหรับเก็บอุปกรณ์และเครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งชาวบ้านจะได้ใช้ร่วมกันเมื่อมีงานที่วัด หรือยืมไปใช้เมื่อตนมีงาน

14. เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม หรือให้บริการด้านพิธีกรรม ซึ่งผูกพันกับชีวิตของทุกคนในระยะเวลาและเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต ตามวัฒนธรรมประเพณี

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย  นางดวงเดือน  สุขบัว

                                        ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย  นางดารนีนุช  รัตนมงคล