วัดป่าผาเจริญ 

แหล่งเรียนรู้ชุมชน

ประเภท (ข้อมูลเฉพาะ) แหล่งเรียนรู้

    แหล่งเรียนรู้ที่เป็นแหล่งวิชาการ/สถานที่

ชื่อแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ในชุมชน (ตำบล)  วัดป่าผาเจริญ

    วัดป่าผาเจริญ

ประวัติความเป็นมาของแหล่งเรียนรู้   

โลกปัจจุบันเป็นโลกแห่งข้อมูลข่าวสารที่แพร่หลายทั่วถึงกันได้อย่างรวดเร็ว ไร้อาณาเขตขวางกั้น สภาพดังกล่าวมีส่วนกระทบถึงวิถีชีวิตของผู้คนพลเมืองโดยทั่วไป เพราะเป็นสภาพที่เอื้ออำนวยในการรับและถ่ายโยงเอาศาสตร์หรือภูมิปัญญาตะวันตกเข้ามาในการพัฒนาประเทศและพัฒนาผลผลิต ตลอดจนการดำเนินชีวิต อย่างมิได้มีการปรับปนกับภูมิปัญญาไทยที่มีความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นที่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ทำให้ชุมชนชนบทประสบปัญหาดังที่กล่าวว่าชุมชนล่มสลายอันมีผลรวมไปถึงความทรุดโทรมของสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง การพยายามใช้กลไกลทางการศึกษาจากเงื่อนไขที่เปิดโอกาสให้มีการพัฒนาหลักสูตร ตามความต้องการของท้องถิ่น เป็นช่องทางในการประยุกต์เอาภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีจุดเด่นที่สามารถพิสูจน์ตัวเองในการยืนหยัดอยู่รอดได้ ท่ามกลางกระแสการล่มสลายของชุมชนและการทรุดโทรมของสิ่งแวดล้อม ดังกล่าว มาสู่หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ในแนวทางของการคิดปฏิบัติจริง จากการประยุกต์ปรับเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านหรือภูมิปัญญาไทยกับปัญญาสากล เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบคุณค่าภูมิปัญญาที่มีในท้องถิ่นที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของชุมชน และสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดนำมาซึ่งดุลยภาพที่สงบสันติสุขของบุคคล ชุมชนและชาติ

ความสำคัญของแหล่งเรียนรู้

1. เป็นแหล่งเสริมสร้างจินตนาการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

2. เป็นแหล่งศึกษาตามอัธยาศัย

3. เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต

4. เป็นแหล่งสร้างความรู้ ความคิด วิชาการและประสบการณ์

5. เป็นแหล่งปลูกฝังค่านิยมรักการอ่านและแหล่งศึกษาค้นคว้าแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

6. เป็นแหล่งสร้างความคิดเกิดอาชีพใหม่สู่ความเป็นสากล     

7. เป็นแหล่งเสริมประสบการณ์ตรง

8. เป็นแหล่งส่งเสริมมิตรภาพความสัมพันธ์ระหว่าคนในชุมชนหรือผู้เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น

อัตโนประวัติ ที่บันทึกไว้ในหนังสือมุทิตานุสรณ์ เมื่อปี 2548 กล่าวโดยย่อว่าเกิดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2476 ที่บ้านน้ำอ้อม ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เดิมนั้นท่านชื่อสมภาร บุญปั้น โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายใบและนางทา บุญปั้น ช่วงวัยเยาว์ศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนบ้านเล้า จบชั้น ป.4 ต่อมาครอบครัวได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านเล้า ในปี พ.ศ.2493 ขณะอายุ 17 ปี ได้มีพระธุดงค์รูปหนึ่งเดินทางจาริกบุญผ่านมายังบ้านเล้า คือ หลวงปู่เง้า ถาวโร ซึ่งออกธุดงค์ไปทั่ว ท่านได้มาปักกลดอยู่ที่บ้านเล้า นายใบและนางทาได้ใส่บาตรและเกิดความศรัทธาต่อหลวงปู่เง้า พร้อมกันนี้ได้ให้บุตรชายเป็นผู้อุปัฏฐากติดตามหลวงปู่เง้าจึงติดตาม     หลวงปู่เหง้า  เป็นเวลา 1 ปี ก่อนไปบรรพชาที่วัดสิริจันทรนิมิต ตำบลเขาพระราม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี สามเณรสมพรมีความเคร่งครัด ถือปฏิบัติมากขึ้น ท่านได้เดินธุดงค์ตามหลวงปู่เง้าไปตามภาคต่างๆ โดยเฉพาะภาคกลาง และภาคเหนือ หลวงปู่เง้าจึงนำพระสมพรไปฝากเรียนพระปริยัติธรรม โดยฝากกับ พระศีลวรคุณ (อ่ำ) วัดมณีชลขัณฑ์ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ครั้นอายุครบบวช ได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 9 เม.ย.2496 ณ อุโบสถวัดรัมภาราม ตำบลท่าวุ้ง อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี หลังอุปสมบทจึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม จำพรรษาอยู่ที่วัดอาวุธ วิสิกตาราม เขตบางพลัด กรุงเทพฯ

ท่านเล่าเรียนบาลีที่สำนักเรียนแห่งนี้  ก่อนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ครั้นเมื่อโยมมารดาป่วยและเสียชีวิต ท่านเดินทางกลับบ้านเกิด   เพื่อประกอบพิธีฌาปนกิจศพในครั้งนั้น หลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ หรือพระธรรมวราลังการ ได้เข้ามาหา พร้อมทั้งกล่าวปรารภว่า "จังหวัดเลย นั้นยังขาดพระผู้บริหารคณะสงฆ์ที่มีความรู้ความสามารถ" ตอนนั้นท่านจึงตัดสินใจอยู่ช่วยงานของหลวงปู่ศรีจันทร์ ที่วัดเวฬุวัน ต่อไป หลวงปู่ศรีจันทร์ได้แต่งตั้งให้หลวงพ่อสมพรเป็นเจ้าคณะตำบลวังสะพุงเขต 2 ที่ว่างลง  ท่านยังได้รับการแต่งตั้งเป็นพระธรรมทูต จังหวัดเลย เดินทางไปเผยแผ่ธรรมในพื้นที่ต่างๆ ของจังหวัดเลย พ.ศ.2508 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดจันทรังสี ตำบลศรีสงคราม อำเภอวังสะพุง สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้วัดเป็นอันมาก

ก่อนที่จะมาเป็นวัดป่าผาเจริญ

          พระปิยทัสสี มีความเคารพครูบาอาจารย์และพระสังฆาธิการชั้นผู้ใหญ่ ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในด้านการศึกษาของคณะสงฆ์ ทั้งนี้ท่านให้ความสำคัญด้านการศึกษา รวมทั้งในเรื่องการปฏิบัติธรรมควบคู่กันไป อีกทั้ง ใช้วัดจันทรังสี เป็นสถานที่จัดสอบธรรมสนามหลวง ต่อมา      พระปิยทัสสี  ได้สร้างวัดป่านาอีเลิศ ตำบลวังสะพุง และตั้งโรงเรียนโกวิทยา สอนในสายสามัญและพระปริยัติธรรม โดยเป็นผู้จัดการโรงเรียน ส่วนครูอาจารย์ที่สอนก็เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ทั้งสิ้น เนื่องจากวัดป่านาอีเลิศเป็นสถานที่ร่มรื่น เหมาะในทางปฏิบัติธรรม แม้จะตั้งเป็นโรงเรียนสายสามัญและโรงเรียนพระปริยัติธรรม นอกจากนี้ ท่านยังได้สร้างวัดอีกแห่ง คือ วัดป่าผาเจริญ ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

 ลำดับการปกครองคณะสงฆ์

          พ.ศ.2516 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2550 แต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะจังหวัด  ฝ่ายธรรมยุตพ.ศ.2555 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดเลย     ฝ่ายธรรมยุต พระปิยทัสสี มีความเคารพครูบาอาจารย์และพระสังฆาธิการชั้นผู้ใหญ่ ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในด้านการศึกษาของคณะสงฆ์ ทั้งนี้ ท่านให้ความสำคัญด้านการศึกษา รวมทั้งในเรื่องการปฏิบัติธรรมควบคู่กันไป อีกทั้ง ใช้วัดจันทรังสี เป็นสถานที่จัดสอบธรรมสนามหลวง ต่อมาพระปิยทัสสีได้สร้างวัดป่านาอีเลิศ ตำบลวังสะพุง และตั้งโรงเรียนโกวิทยา สอนในสายสามัญและพระปริยัติธรรม โดยเป็นผู้จัดการโรงเรียน ส่วนครูอาจารย์ที่สอนก็เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ทั้งสิ้น เนื่องจากวัดป่านาอีเลิศเป็นสถานที่ร่มรื่น เหมาะในทางปฏิบัติธรรม แม้จะตั้งเป็นโรงเรียนสายสามัญและโรงเรียนพระปริยัติธรรม นอกจากนี้ ท่านยังได้สร้างวัดอีกแห่ง คือ วัดป่าผาเจริญ ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

   อีกหนึ่งสิ่งที่ยึดเหนี่ยวของชาวบ้านเล้าและชาวบ้านใกล้เคียง เชื่อเรื่องปาฎิหารการขอพรจากพระสีหไสยาสน์เป็นพระประจำท่านที่เกิดวันอังคาร กว้าง 6 เมตร ยกจากพท้นเดิม 4 เมตร     ยาว 39 เมตร อยู่บนเนินหลังเต่าสูง 9 เมตร

 

สถานที่ตั้ง (พิกัด) ของผู้ประกอบอาชีพหรือของชุมชน

วัดป่าผาเจริญ  บ้านเล้า  ตำบลวังสะพุง  อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย

พิกัด  17.263967, 101.738054

https://goo.gl/maps/nXQ2hmrQZCm36TTP6

ความสัมพันธ์ของชุมชนกับการส่งเสริมความยั่งยืนของแหล่งเรียนรู้

ปัจจุบันการมีส่วนร่วมระหว่างวัดและชุมชนในการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเพื่อศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมกับชุมชนในการจัดกิจกรรมวันสำคัญทาง พระพุทธศาสนาและเพื่อประเมินแนวทางการมีส่วนร่วมระหว่างวัดและชุมชนในการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน การมีส่วนร่วมระหว่างวัดและ ชุมชนในการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

ระยะที่ 2 การร่างแนวทางการมีส่วนร่วมระหว่างวัดและ ชุมชนในการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

ระยะที่ 3 ตรวจสอบร่างแนวทางการมีส่วนร่วมระหว่างวัด และชุมชนในการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

ระยะที่ 4 การนำเสนอแนวทางการมีส่วนร่วม ระหว่างวัดและชุมชนในการจัดกิจกรรมวันสำคัญ ทางพระพุทธศาสนาต่อสาธารณะ ประชากรในการศึกษา ครั้งนี้ ได้แก่ พุทธศาสนิกชนที่เข้าร่วมกิจกรรม วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา กำหนดกลุ่มตัวอย่างจากการคำนวณได้ เท่ากับ 386 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า ตรวจสอบค่าความเที่ยงรวมทั้งฉบับ เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการมีส่วนร่วมระหว่างวัดและชุมชนในการจัดกิจกรรมวัน สำคัญทางพระพุทธศาสนาโดยอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านการริเริ่มการดำเนินการ ด้านการ ดำเนินงาน ด้านการวางแผนการดำเนินการ และด้านการประเมินผล ส่วนความต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมในการัดกิจกรรม     วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาโดยภาพรวมอยู่ในระดับการเข้าร่วมดำเนินงาน  2) แนวทางการมีส่วนร่วมระหว่างวัดและชุมชนในการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 

ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการ คือ พระสงฆ์ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี พระสงฆ์ต้องสร้างเครือข่ายทางชุมชน ใช้ช่องทาง การสื่อสารโดยวิธีการประชาสัมพันธ์โดยเลือกใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ 

ขั้นตอนที่ 2 การริเริ่ม คือ วัดและชุมชน ต้องจัดตั้งทีมงานจากอาสาสมัครที่มีความศรัทธาและการสรรหา 

ขั้นตอนที่ 3 การวางแผน คือ มีการประชุม วางแผนงาน   ทำหนังสืออย่างเป็นทางการ และประชาสัมพันธ์ 

ขั้นตอนที่ 4 การดำเนินการ คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานตามแผนที่ได้วางไว้ และควรมีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานเก็บรายละเอียดการดำเนินงานเพื่อเตรียมการประเมินผลการดำเนินงาน 

ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผล คือ การพัฒนาจุดเด่นและแก้ไขจุดบกพร่องใน ครั้งต่อไป และ 3) ผลการประเมินความเหมาะสมในการนำแนวทางการมี     ส่วนร่วมระหว่างวัดและชุมชนในการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาไปปฏิบัติ

                                                                ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย  นางดวงเดือน  สุขบัว

                                                                ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย  นายฐาปกรณ์  ลีกระจ่าง