ประวัติอำเภอวังสามหมอ

ในปี พ.ศ.2474–2477 ได้มีกลุ่มชาวบ้านจากบ้านเหล่าสีแก้ว ต.ภูแล่นช้าง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ อพยพเข้ามาเป็นชุดแรก ชาวบ้านจากบ้านกุดกอกส้มป่อย ต.คุ้มเก่า อ.กุฉินาราย จ.กาฬสินธุ์ ชาวบ้านจากบ้านดงสวาง อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ ชาวบ้านจาก บ้านหนองอีเมย อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด ชาวบ้านจากบ้านนาเกลี้ยงนาเวียง อ.เมือง จ.ยโสธร (สมัยนั้นขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานี) ชาวบ้านจากอำเภอเลิงนกทา จ.อุบลราชธานี ชาวบ้านจาก บ้านเก่ากลาง บ้านจุมจัง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ อพยพตามมาเป็นกลุ่มที่ 2 , 3 , 4 , 5 , 6 และ 7 ตามลำดับ

ในปี พ.ศ. 2477 ครอบครัวที่อพยพมานั้นลูกหลานได้แยกครอบครัวออกเป็นอิสระ นับได้จำนวนทั้งสิ้น 64 ครอบครัว ในสมัยนั้น ถือว่าเป็นหมู่บ้านที่ใหญ่โตมากที่เดียว ทางราชการ โดยนายอำเภอกุมภวาปี เห็นว่าหมู่บ้านแห่งนี้ สมควรจะได้ประกาศเป็นหมู่บ้าน ที่ถูกต้อง ตามกฎหมายได้แล้ว จึงได้สอบถามผู้นำหมู่บ้านว่า สมควรจะตั้งชื่อหมู่บ้านว่าอย่างไรถึงจะดี ผู้นำหมู่บ้านได้เล่าสภาพภูมิประเทศ ของหมู่บ้านให้นายอำเภอฟัง นายอำเภอจึงได้ให้ คำเสนอแนะ และเห็นว่าชุมชนแห่งนี้มีหนองน้ำขนาดใหญ่ อยู่กลางโคกจึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้าน แห่งนี้ว่า “บ้านหนองแวงโคก” ให้ขึ้นตรงกับ ต.นายูง อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวบ้านต่างช่วยกันพัฒนาหมู่บ้าน จนเกิดความเจริญ และขยายชุมชนขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึง ปี พ.ศ.2517 คณะกรรมการสภาตำบล หนองกุงทับม้า คณะกรรมการสภาตำบลหนองหญ้าไซ คณะกรรมการสภาตำบลบะยาว ได้มีมติขอตั้งกิ่งอำเภอขึ้นที่หมู่บ้านหนองแวงโคก ต.หนองกุงทับม้า จนถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2518 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศตั้ง กิ่งอำเภอสามหมอ แยกการปกครองออกจากอำเภอศรีธาตุ แต่ทางราชการ และหน่วยงานต่างๆ ได้ส่งข้าราชการมาปฏิบัติงานจริงๆ ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2519 เนื่องจากความไม่พร้อม ทั้งจากข้าราชการจากหน่วยงาน และเส้นทางที่เดินทางมาจาก อ.ศรีธาตุ มาที่บ้านหนองแวงโคก ทุรกันดานมาก จะต้องเดินเท้า หรือลงเรือ มาขึ้นฝั่งที่บ้านดงง่ามเท่านั้น

ในปี พ.ศ. 2520 สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทอุดรธานี (รพช.) ได้สร้างถนนจาก อ.ศรีธาตุ ถึงอ.วังสามหมอ ระยะทาง 25 กม. เป็นถนนลูกรัง ผิวถนนกว้าง 6 เมตร สร้างเสร็จเรียบร้อย และใช้เป็นเส้นทางสัญจรไปมาได้ เมื่อเดือน มีนาคม 2521คืนวันที่ 8 กรกฎาคม 2520 ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ประมาณ 60 คน พร้อมอาวุธครบมือ ได้เข้าโจมตีเจ้าหน้าที่ตำรวจ และอาสาสมัครของอำเภอวังสามหมอ เผาที่ว่าการอำเภอ และเอกสารต่างๆ กำลังส่วนหนึ่งได้เข้ายึดสถานีตำรวจที่เช่าอยู่ในตลาด และเผาเอกสารต่างๆ ทั้งหมด

ต่อมา ทางราชการได้ออกพระราชกฤษฎีกา ยกฐานะ กิ่งอำเภอวังสามหมอให้เป็นอำเภอ วังสามหมอ ตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 2524 แต่กว่าหนังสือจากหน่วยเหนือจะมาถึงอำเภอวังสามหมอ ก็ล่วงเลยมาจนถึงเดือน กันยายน 2524 ประชาชนต่างดีใจกันถ้วนหน้า และ ได้ประชุมปรึกษาหารือกัน จัดงานฉลองอำเภอวังสามหมอกันอย่างยิ่งใหญ่ 5 วัน 5 คืน โดยเริ่มงานวันที่ 8 มกราคม 2525 และถือเป็นงานประจำปี ของอำเภอวังสามหมอ มาจนกระทั่งทุกวันนี้

& ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอวังสามหมอ สถานภาพ เป็นสถานศึกษา ในราชการบริหารส่วนกลาง สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอุดรธานี สำนักงานส่งเสริมการศึกษาอนกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งโดยกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศจัดตั้ง โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติ ปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2531 ข้อ 6 ประกาศ ณ วันที่ 27 สิงหาคม 2546 ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จัดตั้งศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ/กิ่งอำเภอ โดยนายปราโมทย์ สุขุม รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จากหนังสือกรมการศึกษานอกโรงเรียน ที่ ศธ 1103 / 1897 ลงวันที่ 6 กันยายน 2536 ซึ่งประกาศกระทรวงศึกษาธิการฉบับนี้ ทำให้ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ ซึ่งเป็นสถานศึกษาที่ให้บริการการศึกษานอกโรงเรียนแก่ประชาชนทั่วประเทศถึง 789 แห่ง ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอวังสามหมอ เป็นศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ ลำดับที่ 11 ของจังหวัดอุดรธานี ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ในการกระจายอำนาจสู่อำเภอ เพื่อให้ ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ เป็นสรรพกำลังในการขยายฐานการให้บริการด้านการศึกษานอกโรงเรียน ไปสู่ประชาชนผู้พลาดโอกาสอย่างทั่วถึง

ปี พ.ศ. 2546 ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอวังสามหมอ ได้เปลี่ยนสังกัด จากกรมการศึกษานอกโรงเรียน ตามนโยบายปฏิรูปการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 กรมการศึกษานอกโรงเรียน เปลี่ยนเป็น สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ

ปี พ.ศ. 2551 ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอวังสามหมอ ได้เปลี่ยนเป็นศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอวังสามหมอ สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอุดรธานี สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 ปัจจุบันมีอาคารเอกเทศในการบริหารจัดการ ดังนี้

1. อาคารห้องสมุดประชาชน อนาลโย (ภูค้อ)อุปถัมภ์ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2540 โดยพระครูวิชัยคุณวัตร

(พระอาจารย์ชาญยุทธ ชิตินฺทริโย) วัดอนาลโย(ภูค้อ) ตำบลผาสุก อ.วังสามหมอ จ.อุดรธานี บริจาคเงินสมทบกับเงินงบประมาณการศึกษานอกโรงเรียนเพื่อสร้างอาคารห้องสมุดประชาชนตามแบบมาตรฐานซึ่งนายเกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์ รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิดอาคาร ซึ่งปัจจุบันเป็นอาคารห้องสมุดที่จัดบริการการเรียนรู้

2. อาคารพระครูวิชัยคุณวัตร สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2546 โดยพระครูวิชัยคุณวัตร (พระอาจารย์ชาญยุทธ ชิตินฺทริโย) ร่วมกับเจ้าของร้านแชมป์เนื้อย่างเกาหลี จังหวัดขอนแก่น และประชาชนชาวอำเภอวังสามหมอ ก่อสร้างอาคาร โดยมี นายชาติชาตรี โยสีดา อธิบดีกรม การศึกษานอกโรงเรียนได้เป็นเกียรติเป็นประธานพิธีเปิดอาคาร วันที่ 4 เมษายน 2546 ปัจจุบัน เป็นอาคารสำนักงานศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอวังสามหมอ

3. อาคารสำนักงานการประถมศึกษาปี พ.ศ. 2546 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุดรธานี เขต 2 ได้มอบให้ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอวังสามหมอ ปัจจุบัน เป็น กศน.ตำบล

วังสามหมอ

4. อาคารเอนกประสงค์สำนักงานการประถมศึกษา ปัจจุบันศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอวังสามหมอ ได้ต่อเติมเป็นอาคารห้องพักครู ห้องฝ่ายทะเบียนวัดผลและประเมินผล

5. อาคารห้องประชุม บ้านวังไม้ ปัจจุบันจัดเป็นสถานที่ประชุม จัดกิจกรรม ของศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอวังสามหมอ และเป็นห้องประชุมบรรยายศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

6. บ้านวังไม้พอเพียง จำลองชีวิตความเป็นอยู่แบบพอเพียงตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

7. บ้านวังไม้ Learning การเรียนรู้ตามอัธยาศัย จัดเป็นศูนย์สาธิตการขายสินค้า