ห้องสมุดประชาชนอำเภอวังเหนือ

ห้องสมุดประชาชนอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง

ห้องสมุดประชาชน ได้เริ่มจัดตั้งครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2459 โดย กรมศึกษาธิการ (ในสมัยนั้น) มีชื่อเรียกว่า "ห้องสมุดหนังสือสำหรับประชาชน" เป็นที่รวบรวมหนังสือต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อประชาชนและเปิดบริการให้ ประชาชนทุกคนเข้าอ่านได้อยู่ในความรับผิดชอบของแผนกห้องสมุด และ ผู้มาใช้บริการไม่ต้องเสียเงิน ห้องสมุดหนังสือ สำหรับประชาชนได้รับการจัดตั้งขึ้น 3 แห่งคือ ที่โรงเรียน วัดสุทัศน์ โรงเรียนสามจีนใต้ จังหวัดพระนคร และโรงเรียน วัดประยูรวงศ์จังหวัดนนทบุรี ในปีต่อมาได้เปิดขึ้นอีก 2 แห่ง ที่โรงเรียนมหาวชิราวุธสงขลา และ ณ ที่ว่าการอำเภอชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ต่อมาในปี พ.ศ.2461 ได้เปิดเพิ่มอีก 4 แห่ง ในจังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ.2483 คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้ง กองการศึกษาผู้ใหญ่ขึ้น สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาการ ต่อมาในปี พ.ศ.2492 รัฐบาลมีนโยบายจัดการศึกษาผู้ใหญ่ ให้กว้างขวาง และเหมาะสมกับสถานการณ์จึงได้มีการขยายรูปงานใหม่ 4 ด้าน คือ การศึกษา ขั้นพื้นฐาน การอาชีวศึกษาผู้ใหญ่ การมัธยมศึกษาและการศึกษาประชาชน ในงานด้านการศึกษา ประชาชนรัฐบาลวางนโยบายให้จังหวัดต่าง ๆ เริ่มจัดห้องสมุด ประชาชนขึ้น เมื่อ พ.ศ.2494 และ กองการศึกษาผู้ใหญ่โอนมา สังกัดกรมประชาศึกษา

ใน พ.ศ. 2495 กรมประชาศึกษาเปลี่ยนชื่อเป็นกรมสามัญศึกษางานห้องสมุดประชาชนจึงมาสังกัดแผนก การศึกษาประชาชน กองการศึกษาผู้ใหญ่กรมสามัญศึกษาและในปีเดียวกันนี้เองคณะรัฐบาลได้มีมติให้จัดตั้งห้องสมุด ประชาชนอำเภอขึ้นตามอำเภอต่าง ๆ อำเภอละ 1 แห่ง มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทยร่วมกัน ดำเนินการ แต่มีอุปสรรคบางประการทำให้ไม่สามารถจัดตั้งห้องสมุดประชาชนได้ครบทุกอำเภอ ต่อมากระทรวง ศึกษาธิการได้ปรับปรุงระเบียบห้องสมุดประชานจำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ ห้องสมุดประชาชนจังหวัด ห้องสมุดประชาชนอำเภอ และ ห้องสมุดเคลื่อนที่

ในปี พ.ศ. 2516 รัฐบาลเห็นความสำคัญของกิจกรรมห้องสมุดประชาชนที่เป็นศูนย์กลางการให้การศึกษาของ ประชาชนจึงได้ประกาศให้ห้องสมุดประชาชนจังหวัด สถานศึกษา สังกัดกองการศึกษาผู้ใหญ่ กรมการสามัญศึกษา ต่อมาใน วันที่ 24 มีนาคม 2522 ได้มีการจัดตั้งกรมการศึกษานอกโรงเรียนขึ้นมาในกระทรวงศึกษาธิการ กิจกรรม

ห้องสมุด ประชาชนจึงโอนมาขึ้นอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของงานอุปกรณ์การศึกษาและสื่อมวลชน กองปฏิบัติการส่วนห้องสมุด ประชาชนภายในจังหวัดต่าง ๆ เป็นเพียงกิจกรรมหนึ่งของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดแต่ละจังหวัด ต่อมาได้มีการ ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานภายในกรมการศึกษานอกโรงเรียนงานห้องสมุดประชาชนจึงอยู่ในความดูแลรับผิดชอบ ของฝ่ายส่งเสริมปฏิบัติการ กองส่งเสริมปฏิบัติการ

ในปี พ.ศ. 2535 กรมการศึกษานอกโรงเรียน ได้ปรับบทบาทของห้องสมุด ประชาชนให้กว้างขวางโดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานทั้งการบริการและการจัดกิจกรรมให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดความรู้สึกการเป็นเจ้าของผลทำให้มีห้องสมุดประชาชนจังหวัด 73 แห่ง ห้องสมุดประชาชนอำเภอ 502 แห่งและห้องสมุดประชาชนตำบล 689 แห่ง

ห้องสมุดประชาชนอำเภอวังเหนือ ได้เริ่มครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2508 โดยพ่อค้าประชาชนชาวอำเภอวังเหนือ ได้ระดมทุนกันก่อสร้างขึ้นภายในพื้นที่บริเวณที่ว่าการอำเภอวังเหนือ เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว มุงสังกะสี ขนาด 20x50 ตารางเมตร

ต่อมา ปี พ.ศ.2524 มีการปรับปรุงอาคารแต่ยังคงสภาพเดิมเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว โดยงบประมาณจากกรมการศึกษานอกโรงเรียน โดยยังขึ้นตรงกับศึกษาธิการอำเภอวังเหนือ มีผู้ประสานงานจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดลำปางเป็นผู้ดูแล และมีนักการภารโรงช่วยดูแลในขณะนั้น

ในปี พ.ศ. 2530 มีเจ้าหน้าที่ห้องสมุดรับผิดชอบ จำนวน 1 อัตรา

พ.ศ. 2536-2538 ในช่วงนายณรงค์ สุขสะอาด เป็นหัวหน้าศูนย์ฯ ก็ได้ใช้งบประมาณบำรุงการศึกษาในการปรับปรุงอาคารห้องสมุดประชาชน

พ.ศ. 2542 ในช่วงของผอ.พีระพงษ์ มหาวงศนันท์ เป็น ผู้อำนวยการ ได้มีการปรับปรุงอาคารห้องสมุดประชาชนอีกครั้ง และในปี พ.ศ.2543 ได้ย้ายที่ทำการมายังอาคารศึกษานิเทศก์ ตรงข้ามโรงเรียนอนุบาลวังเหนือ และมีนางพรลภัส จันตะมะ เป็นเจ้าหน้าที่ห้องสมุด

พ.ศ. 2550 ในช่วง นายสอาด สุทธิพรมณีวัฒน์ เป็นผู้อำนวยการ ได้มีการปรับเปลี่ยนบุคลากรรับผิดชอบงานห้องสมุดประชาชน เป็นนางสาวสุพชยาฌ์ วังอนุสรณ์สกุล ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ห้องสมุด เป็นผู้รับผิดชอบ

พ.ศ. 2554 ในช่วง นายสอาด สุทธิพรมณีวัฒน์ เป็นผู้อำนวยการ ได้มีการปรับเปลี่ยนบุคลากรรับผิดชอบงานห้องสมุดประชาชน เป็นเพ็ญนิภา ตานาคา ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ห้องสมุด เป็นผู้รับผิดชอบ

ปัจจุบัน พ.ศ. 2560 ในช่วง นายภานุวัฒน์ สืบเครือ เป็นผู้อำนวยการ บุคลากรรับผิดชอบงานห้องสมุดประชาชน เป็นเพ็ญนิภา ตานาคา ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ห้องสมุด เป็นผู้รับผิดชอบ โดยใช้อาคารศึกษานิเทศก์เป็นที่ทำการห้องสมุดประชาชนอำเภอวังเหนือเช่นเดิม