งานต่อเนื่อง

การจัดการศึกษาต่อเนื่องตามวงจรควบคุมคุณภาพของเดมิ่ง

การจัดการศึกษาต่อเนื่อง เป็นกระบวนการทำงานร่วมกันของบุคลากรในสถานศึกษา เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องเตรียมการด้านกระบวนการอย่างเป็นระบบ โดยใช้ระบบบริหารงานตามวงจรควบคุมคุณภาพของเดมิ่ง (Deming Cycle: PDCA) ซึ่งเป็นระบการบริหารงานที่มีคุณภาพสูง ประกอบด้วย ขั้นตอนการวางแผน (Plan) การปฏิบัติตามแผน (D) การตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน (Check) และการปรับปรุงแก้ไข (Act)

การศึกษาต่อเนื่อง

การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ เป็นการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ เจตคติ และมีทักษะในอาชีพ ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ประกอบด้วย ทักษะเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐานการคิดแก้ปัญหา การสื่อสาร และทักษะเกี่ยวกับความปลอดภัยในอาชีพ มีคุณลักษณะที่สำคัญในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตความคิดเชิงบวก ความมุ่งมั่นในการทำงาน การทำงานร่วมกับผู้อื่น การรักษาสิ่งแวดล้อม และการคำนึงถึงประโยชน์ส่วนร่วมมากกว่าส่วนตน การจัดกระบวนเรียนรู้เน้นการปฏิบัติจริง และการเรียนรู้จากวิทยากรหรือผู้รู้ที่ประกอบอาชีพนั้นๆ

การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนทุกช่วงวัยให้มีความรู้ เจตคติ และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน สามารถเผชิญสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างมีมีประสิทธิภาพ และเตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของข่าวสารข้อมูลและเทคโนโลยีสมัยใหม่ในอานาคต โดยเน้นการฝึกปฏิบัติให้ผู้เรียนเกิดทักษะชีวิต ๑๐ ประการ

การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน เป็นการจัดกระบวนการให้บุคคลรวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน สร้างกระบวนการจิตสาธารณะ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการพัฒนาสังคมและชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวปฏิบัติ ตลอดจนการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยเน้นการจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม


วิธีกและการจัดการจัดศึกษาต่อเนื่อง ๔ รูปแบบ

๑.รูปแบบกลุ่มสนใจ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนที่มีการรวมกลุ่มหรือไม่รวมกลุ่ม โดยมีผู้เรียนตั้งแต่ ๖ คนขึ้นไป ดังนี้

๑.๑ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจที่มีการรวมกลุ่มของผู้เรียน โดยจัดหลักสูตรไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง

๑.๒ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามภารกิจ เช่น อำเภอเคลื่อนที่ จังหวัดเคลื่อนที่ การร่วมจัดกิจกรรมกับหน่วยงานอื่น เป็นต้น ที่ประชาชนผู้สนใจสมัครเรียน ณ สถานที่จัดกิจกรรมโดยจัดหลักสูตรไม่เกิน ๕ ชั่วโมง

๒.รูปแบบชั้นเรียนวิชาชีพ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนตั้งแต่ ๑๑ คนขึ้นไป โดยจัดหลักสูตรตั้งแต่ ๓๑ ชั่วโมงขึ้นไป

๓.รูปแบบกิจกรรมฝึกอบรมประชาชน เป็นการอบรม การศึกษาดูงานการจัดเวทีประชาคม หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่มีลักษณะเป็นการฝึกอบรม มีเนื้อหาเกี่ยวกับกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต กิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน การส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ มีเจตคติและทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน โดยโครงการ/หลักสูตรมีระยะเวลาตามความเหมาะสม และมีผู้เข้ารับการอบรมไม่ต่ำกว่า ๑๕ คน

๔.รูปแบบการเรียนรู้รายบุคคล เป็นการเรียนรู้ของผู้เรียนบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ต้องการจะเรียนรู้ในหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องในสถานศึกษาหรือภาคีเครือข่าย