ประวัติศาสตร์ ยางพาราในประเทศไทย

ต้นยางพาราเข้ามาปลูกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยที่ยังใช้ชื่อว่า "สยาม" ประมาณกันว่าควรเป็นหลัง พ.ศ. 2425 ซึ่งช่วงนั้นได้มีการขยายเมล็ดกล้ายางพารา จากพันธุ์ 22 ต้นนำไปปลูกในประเทศต่างๆ ของทวีปเอเชีย และมีหลักฐานเด่นชัดว่า

เมื่อปี พ.ศ. 2442 พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ได้นำต้นยางพาราต้นแรกของประเทศมาปลูกที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จึงได้รับเกียรติว่าเป็น "บิดาแห่งยาง" จากนั้นพระยารัษฎา-นุประดิษฐ์ ได้ส่งคนไปเรียนวิธีปลูกยางพาราเพื่อมาสอนประชาชนพร้อมนำพันธุ์ยางพาราไปแจกจ่าย และส่งเสริมให้ราษฎรปลูกทั่วไป ซึ่งในยุคนั้นอาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคตื่นยางพาราและชาวบ้านเรียกยางพารานี้ว่า “ยางเทศา” ต่อมาราษฎรได้นำเข้ามาปลูกเป็นสวนยางพารามากขึ้น และได้มีการขยายพื้นที่ปลูกยางพาราไปในจังหวัดภาคใต้รวม 14 จังหวัด ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึงจังหวัดที่ติดชายแดนประเทศมาเลเซีย การพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราของประเทศได้เจริญรุดหน้าเรื่อยมาจนทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตและส่งออกยางพาราได้มากที่สุดในโลก

พ.ศ. 2444 พระสถลสถานพิทักษ์ ได้นำกล้ายางพารามาจากประเทศอินโดเซีย โดยปลูกไว้ที่บริเวณหน้าบ้านพักที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ซึ่งปัจจุบันนี้ยังเหลือให้เห็นเป็นหลักฐานเพียงต้นเดียวอยู่บริเวณหน้าสหกรณ์การเกษตรกันตัง และจากยางรุ่นแรกนี้ พระสถลสถานพิทักษ์ ได้ขยายเนื้อที่ปลูกออกไป จนมีเนื้อที่ปลูกประมาณ 45 ไร่ นับได้ว่า พระสถลสถานพิทักษ์คือผู้เป็นเจ้าของสวนยางคนแรกของประเทศไทย

กิจกรรมภายในศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาตรัง

ผลิตภัณฑ์จากน้ำยางพารา

ถุงมือแพทย์จากน้ำยางพารา

ของเล่นจากน้ำยางพารา

นิทรรศการยางพารา

การทำถุงมือแพทย์จากน้ำยางพารา

การเตรียมสารเคมี

สารเคมี ที่นำมาผสมกับน้ำยางพาราเพื่อทำถุงมือทางการแพทย์มี 8 ชนิด คือ

สารเคมี

น้ำยางข้น 60%

10% โปรแตสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH)

20% โพแทสเซียมลอเรต

50% ดิสเพอร์ชั่น S

50% ดิสเพอร์ชั่น ZDEC

50% ดิสเพอร์ชั่น ZMBT

50% ดิสเพอร์ชั่น Wingstay L

50% ดิสเพอร์ชั่น ZnO

25% ดิสเพอร์ชั่นสี

สารเคมีสำหรับผสมกับน้ำยาง มีคุณสมบัติดังนี้

1. โปรตัสเซียมไฮดรอกไซด์ (Potassium Hydroxide) - สารเพิ่มความคงตัว

2. โพแทสเซียมลอเรต - เพิ่มความเสถียรให้กับน้ำยาง

3. กำมะถัน (Sulfur) - สารที่ทำให้ยางคงรูป

4. แซด ดี อี ซี (Z D E C - Zinc Diethy dithiocarbamatte) - สารเร่งยางคงรูป

5. แซด เอ็ม บี ที (Zinc – 2 –mercapto benzthiazole) - สารเร่งยางคงรูป

6. วิงสเตย์ แอล (Wing stay L) - สารป้องกันยางเสื่อมคุณภาพ ไม่ทำให้ยางสีคล้ำ

7. ซิงค์ออกไซด์ (Zinc oxide) - สารเสริมตัวเร่งให้ยางคงรูป

8. สี - เพิ่มความสวยงามให้กับชิ้นงาน

หมายเหตุ ดิสเพอร์ชั่น (Dispersion) เป็นการเตรียมสารเคมีที่มีสถานะเป็นของแข็งที่ไม่ละลายน้ำ

ทำให้กระจายตัวในน้ำโดยขนาดอนุภาคของสารใกล้เคียงกับขนาดอนุภาคยาง

การเตรียมน้ำยางสำหรับผลิตถุงมือแพทย์

การผสมสารเคมีกับน้ำยาง

1. ใช้น้ำยางข้น 60 % จำนวน 167 กรัม

2. นำน้ำยางใส่ถังพลาสติก เพื่อเตรียมกวนน้ำยางกับสารเคมี

3. ค่อยๆเติมสารละลายของสารเคมีที่เตรียมเรียบร้อยแล้ว ลงในน้ำยางตามลำดับ ซึ่งในขณะที่เติม

สารเคมีให้เครื่องกวนทำงานตลอดเวลา

3.1 เติมสารละลาย 10% KOH จำนวน 2 กรัม

3.2 เติมสารต่าง ๆ ต่อไปนี้ตามลำดับ

20% โพแทสเซียมลอเรต 1.0 กรัม

ดิสเพิสชั่น 50 % กำมะถัน 2.5 กรัม

ดิสเพิสชั่น 50 % แซด ดี อี ซี 1.0 กรัม

ดิสเพิสชั่น 50 % ZMBT 0.5 กรัม

ดิสเพิสชั่น 50 % วิงสเตย์ แอล 0.5 กรัม

ดิสเพิสชั่น 50 % ซิงค์ออกไซด์ 1.0 กรัม

ดิสเพิสชั่นสี 25 % 0.1 กรัม


หมายเหตุ น้ำยางที่ผสมสารเคมีสูตรสำหรับผลิตถุงมือแพทย์นั้นจะต้องบ่มไว้อย่างน้อย 2 วัน

จึงจะนำมาใช้ได้ และต้องเก็บน้ำยางไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสมเพื่อจะรักษาน้ำยางไม่เสียสภาพ

การผลิตถุงมือแพทย์จากน้ำยางพารา

1. นำน้ำยางพาราที่ผสมสารเคมีเรียบร้อยแล้วมาเทกรองใส่ภาชนะสำหรับจุ่ม แล้วตักฟองที่ผิวหน้าออก เพราะฟองเหล่านี้จะทำให้เกิดรูรั่วบนถุงมือ

2. ล้างมือแล้วเช็ดให้แห้งเพื่อขจัดคราบไขมันที่มือเรา หลังจากนั้นจุ่มมือลงในสารละลายแคลเซียมไนเตรต 10% (เพื่อให้น้ำยางจับตัวกับมือเรามากขึ้น) แล้วผึ่งลมให้แห้ง

3. กางนิ้วมือทั้งห้าออกแล้วจุ่มลงไปในภาชนะที่ใส่น้ำยาง (ข้อ 1) นำไปผึ่งลมหรือแดดจนกว่าจะแห้ง สังเกตได้ว่าจากน้ำยางสีขาวจะใสเห็นเนื้อ แสดงว่าแห้งแล้ว

4. หลังจากนั้นนำมือมาทาแป้งมันสำปะหลังเพื่อลอกออก ค่อย ๆ ลอกออก