นายวิทยา สันติสุขไพบูลย์

ภูมิปัญญาบุคคล

สาขาภูมิปัญญาด้านเกษตรกรรม (เกษตรกรสาขาไร่นาสวนผสม)

ชื่อภูมิปัญญา นายวิทยา สันติสุขไพบูลย์ 1277030001-001

ข้อมูลพื้นฐานรายบุคคล

นายวิทยา สันติสุขไพบูลย์ เกิดวันที่ 10 มิถุนายน 2529

บ้านเลขที่ 100/2 หมู่ที่ 3 ตำบลทับสะแก อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77130

โทรศัพท์ 081-5729665

ความเป็นมาของบุคคลคลังปัญญา

จากเด็กที่เกิดในพื้นที่ที่คนสังคมตราหน้าว่า ถ้าเป็นชายไม่ตายก็ติดคุก ถ้าเป็นผู้หญิงท้องไม่มีพ่อก็หนีตามกันไป สิ่งเหล่านี้บอกถึงปัญหาความรุนแรงของสังคม “แม้เราจะเลือกเกิดไม่ได้แต่เราเลือกที่จะเป็นได้” คำนี้เป็นความคิดพื้นฐานที่ผมมีไว้ในใจตลอดมา เกษตรกรรมเป็นมาดกตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น ไม่ใช่แต่อาชีพแต่มันคือความมั่นคงทางอาหาร เป็นปัจจัยสี่ ที่มีคุณค่าทางจิตใน ที่ดินทำกินที่สร้างมาด้วยหยาดเหงื่อแรงงานของผู้เป็นพ่อทำให้ผมเห็นถึงความสำคัญของการเกษตร หลังจากจบการศึกษาผมได้ทำงานเป็นลูกจ้างของรัฐด้วยผู้เป็นพ่อให้ลูกเป็นเจ้าคนนายคน เป็นหน้าเป็นตาของวงศ์ตระกูล จากคำถามของเกษตรกรคนหนึ่งที่มีความหมายลึกเข้าไปในหัวใจ มันทำให้ความหมายของการมีชีวิตของผมเปลี่ยนไป จากคนที่มีความก้าวหน้าทางการงานกลับมาเป็นเกษตรกรเดินดิน คนที่ไม่มีใครนับหน้าถือตา แต่กลับทำให้ผมเห็นถึงการสร้างความมั่นคงของสังคม การรวมตัวจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน ฯ เกิดขึ้นจากการเป็นพ้องต้องกันของเกษตรกร สร้างความเป็นปึกแผ่น ความเสมอภาคอำนาจในการต่อรอง การเก็บและรวบรวมข้อมูลที่เป็นงานวิจัย และได้เป็นโอกาสให้เกษตรกรเข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้ “สิ่งที่เราทำอยู่ทุกวันนี้มันไม่ได้เป็นแต่ความมั่นคงทางอาหารแต่อย่างเดียว แต่มันกลับทำให้คนมองเห็นค่าของคนมาขึ้น” ผมมีแนวความที่จะทำการเกษตรแบบผสมผสาน ด้วยพึ่งพาสารเคมีให้น้อยที่สุด จนปัจจุบันเกษตรกรที่เข้ารวมอยู่ในวิสาหกิจชุมชนฯไม่ได้ใช้สารเคมีในการประกอบการเกษตร การทำการเกสรของเรานั้น ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต

- จุดเด่นของภูมิปัญญาท้องถิ่น / เป็นผู้ที่มีการทำงานโดยเริ่มจากเล็กไปใหญ่ เพื่อลดความเสียหายจากอุปสรรคที่จะเข้ามา สร้างความมั่นคงให้เกิดในหลายด้าน เริ่มจากอาหาร ที่อยู่ และพลังงาน กิจกรรมทุกอย่างจะต้องเกื้อกูลหมุนเวียนกันไปเพื่อเป็นการลดต้นทุน ปรับตัวไปตามธรรมชาติที่มีการเปลี่ยนแปลง กระจายความรู้ที่ได้มาไปสู่ชุมชนเพื่อสร้างชุมชนที่มีความเข้มแข็ง

- วัตถุดิบที่ใช้ประโยชน์ในผลิตภัณฑ์ / กะลา เศษไม้ เปลือกไม้ผลิตสีธรรมชาติ เปลือกมะพร้าว

- ลักษณะของภูมิปัญญาท้องถิ่น การพัฒนาต่อยอดสามารถนำวัตถุดิบจากกะลามะพร้าวมาต่อยอดผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ไม้อัดจากแผ่นกะลาได้

ผู้บันทึกข้อมูล นางสาวภิชชากร ชูรัตน์ ครูผู้ช่วย

นางสาวภัณฑิรา งิ้วงาม ครู กศน.ตำบล


สถานที่ที่ตั้ง (พิกัด) ของแหล่งเรียนรู้