เมืองเถิน มาจากคำว่า สังฆะเติ๋น

เติ๋น แปลว่า เตือน ... เจ้าของบล็อกแม้เป็นคนเหนือแต่ไม่เคยได้ยินคำนี้ ...

หมายถึง เมืองพระสงฆ์เตือน หรือ เมืองที่มีพระสงฆ์ปกครอง

ใครคิดจะทำอะไรต้องปรึกษาพระสงฆ์ให้อนุญาตก่อนจึงจะทำได้

ต่อมาเหลือเพียงคำว่า เถิน ที่เพี้ยนมาจาก เติ๋น

มีวัดเวียงเป็นศูนย์กลางของเมือง

จากตำนานในใบลานว่า

ปางเมื่อพระพุทธเจ้าได้เสวยพระชาติเป็นพระโคอุสุภราช

ได้มาประสูติบริเวณที่ตั้ง พระธาตุวัดเวียง


แม่โคได้พาลูกน้อยออกไปหากินและได้พลัดพรากกัน

ลูกโคได้เรียกร้องหาแม่ว่า อุลอ….อุลอ

ส่วนแม่โคได้รอลูกน้อยอยู่ที่บริเวณที่ตั้งพระธาตุวัดอุมลอง

จนลูกโคตามหาแม่จนพบ ณ.ที่นั้น

อุลอ จึงเป็นที่มาของ อุมลอง


แล้วแม่โคก็ได้พาลูกน้อยไปหากินยังเนินเขาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้

และได้อาศัยนอนอยู่บริเวณนี้โต จึงเรียกว่า ม่อนงัวนอน คือวัดดอยป่าตาล


หลังพระพุทธเจ้าได้ดับขันธปรินิพพานไปแล้ว 250 ปี

พระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งทูตมาบรรจุอัฐิตามคำสั่งขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

โดยบรรจุ พระธาตุกระดูกด้ามพร้า บรรจุไว้ที่วัดอุมลอง

สิงห์คู่ ข้างบันไดเหงา

บานประตูแกะสลักลายพรรณพฤกษา และดอกพุดตานอลังการณ์มาก

ประตูเป็นบานเฟี้ยม ... พระท่านเปิดให้เข้าไปไหว้พระ

บันไดขึ้นวิหารด้านข้าง

ข้างประตูวัดทางทิศตะวันตก ... เดิมก็คือหลังวัด

เป็นหอสรงน้ำหรือห้องอาบน้ำ สร้างปี พ.ศ. 2472

แปลกดีน่าอนุรักษ์ไว้

หอพิพิธภัณฑ์ หรือเดิมคือ หอจำศีล

สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2465 โดยศรัทธา ของนายป้อง มั่นคง

เพื่อท่านได้ใช้จำศีลภาวนาในวันโกน และว้นพระ

สร้างโดย สล่าเจ๊ก คือ ช่างคนจีน มีสถาปัตยกรรมแบบล้านนาผสมจีน

ปัจจุบันใช้เป็นหอพิพิธภัณฑ์สำหรับเก็บโบราณวัตถุ

ห้องสรงน้ำพระ

มีไว้สำหรับเป็นที่สรงน้ำ (อาบน้ำ) ของพระสงฆ์เจ้าอาวาสในสสมัยนั้น สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2472 มีความกว้าง 1.40 เมตร ยาว 2 เมตร สูง 1.50 เมตร เป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนา พระครูรักขิตคุณ เป็นประธานการก่อสร้าง

หอไตร

มีตู้บรรจุพระไตรปิฎกฉบับล้านนา และพระธรรมคำสอนที่จารึกเป็นอักษรไทยล้านนารวม 10 ตู้ ขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2472 มีขนาดความกว้าง 7 เมตร ยาว 9 เมตร รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบล้านนาผสมจีน โดยมีพระครูรักขิตคุณเป็นประธานการสร้าง นายหล้า วงศ์จิโน และนายสุก จุมปา เป็นช่าง

เหนือกรอบประตู

ประตูโขง

สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2472 มีความกว้าง 3.50 เมตร สูง 9 เมตร มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบล้านนา พระครูรักขิตคุณ เป็นประธานการก่อสร้าง

ภาพจิตรกรรมฝาผนังบางส่วนภายนอกของหอพิพิธฑ์ วาดโดย 'ป. เทพสิงห์'

พระประธานในหอ และภาพพระพุทธประวัติ