วัดเวียง Wat Wiang

สร้างขึ้นภายในเวียงเถินโบราณ

จากพงศาวดารเมืองเถินว่า

พระสังฆทิตย์ สร้างวัดนี้ขึ้นเมื่อ พ.ศ.2192

เวียงเถินโบราณ คือ ตัวเมืองเถิน ที่มีวัดเวียงเป็นศูนย์กลาง

แต่ร่องรอยคูน้ำและคันดินสูญหายหมดสิ้น

อาจเนื่องจากแม่น้ำวังเซาะและการขยายถิ่นที่อยู่อาศัยของชุมชน

ตํานานวัดเวียง

เมื่อก่อนพุทธกาลครั้งที่พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระโคอุสุภราช

ได้มาประสูติยังบริเวณที่ตั้งพระธาตุวัดเวียงในปัจจุบัน

ครั้งหนึ่งแม่โคได้พาลูกน้อยออกไปหากิน และเกิดพลัดหลงกัน

ลูกน้อยยังได้ร้องเรียกหาแม่ว่า "อุลอ...อุลอ" ต่อมาเพี้ยนเป็น อุมลอง

ส่วนแม่โคนั้นได้รอลูกน้อยอยู่ที่บริเวณ

ที่ภายหลังตั้งพระธาตุวัดอุมลอง ( พระธาตุกระดูกด้ามพร้า )

และลูกน้อยก็ได้ตามหาแม่จนพบที่นั้นจึงเรียนบริเวณนั้น

ต่อมาแม่โคก็ได้พาลูกน้อยไปหากินยังเนินเขาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้

ได้พักนอนอยู่บริเวณ ที่เรียกว่าม่อนงัวนอน ปัจจุบันคือ วัดดอยป่าตาล

(พระธาตุลิ้นไก่ )

จากถนนสายเอเชีย เลี้ยวเข้าเถิน ข้ามสะพาน

แม่น้ำวังที่เถิน

เมื่อพระบรมโพธิสัตว์ได้จุติ และ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ได้ระลึกชาติแต่หนหลัง

จึงทรงตรัสให้สาวกนำเอาพระบรมอัฐิ

ไปบรรจุไว้สถานที่สำคัญ ๆ

หลังจากที่พระพุทธองค์ดับขันธปรินิพพานไป 250 ปี

พระเจ้าอโศกราชได้ให้ทูตนําพระบรมอัฐิไปบรรจุ

ตามคําสั่งของพระพุทธเจ้า

ทูตได้นําพระอัฐิมายังจวนเจ้าเมือง บริเวณวัดเวียง

เจ้าเมืองว่าจะนําพระบรมอัฐิไปประดิษฐานยังวัดดอยดอก(วัดศิลาวารี)

แต่พระบรมอัฐิในผอบแก้วรวงลงสู่พื้นดิน

แผ่นดินก็สลูป (ยุบตัวลง)

เจ้าเมืองจึงย้ายจวนออกจากที่เดิมแล้วสร้างเจดีย์ครอบพระบรมอัฐิธาตุ

... พระธาตุเล็บมือ ไว้

พระยาเจ้าเมืองมีมเหสีชื่อ พระนางนารา มี่นางป้อมนางเป็งเป็นบริวาร

นางเป็งนั้นได้สร้างบ้านเรือนอยู่ทางทิศตะวันตกของวัดเวียง เรียกว่า หนองสาง

และนางป้อมก็ได้สร้างบ้านเรือนอยู่ที่ หนองผ้าอ้อม ซึ่งอยู่ถัดออกไปอีก

ต่อมาแม่น้ำวังได้เซาะฝั่งเข้ามาใกล้ตัวเมือง(วัดเวียงในปัจจุบัน)

อยู่ในเขตอันตราย

ผู้คนได้อพยพไปอยู่หนองสางหรือหนองผ้าอ้อม

หรือเมืองของนางป้อมนางเป็ง ... เรียกเวียงป้อม เวียงเป็ง

นางทั้งสองได้มาตั้งจิตอธิษฐานต่อองค์พระธาตุเจ้า

อันศักดิ์สิทธิ์เพื่อขอให้แม่น้ำวังเปลี่ยนทิศไปทางทิศ ตะวันออก

เมื่ออธิษฐานเสร็จไม่นานแม่น้ำวังก็เปลี่ยนทิศไปทางทิศตะวันออก

ทำให้บริเวณกลางเมืองหรือวัดเวียงปลอดภัย

ผู้คนจึงอพยพมาบูรณะบ้านเมืองเช่นเดิม

เมื่อพม่าได้ยกทัพมาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือได้

พม่าได้มาบูรณะวัดเวียง

โดยเกณฑ์พวกญวนมาเป็นช่างสร้างวิหารให้ใหญ่กว่าเดิมรวมทั้งอุโบสถ

และซุ้มประตู

สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ยกทัพมาตีพม่าถอยกลับไป

วัดเวียง จึงเป็นวัดร้างอีกครั้งหนึ่ง

เมื่อบ้านเมืองก็เกิดศึกสงครามระหว่างไทยกับพม่า

ได้กลายเป็นที่รกร้างว่างเปล่าไป

ต้นไม้ขึ้นปกคลุมจนมองไม่ออกว่า มีพระธาตุอยู่

จนครูบาอาทิตย์ได้ธุดงค์มาปักกลดอยู่ที่เมืองร้าง ( วัดเวียง )

ได้นำญาติ บ้านเดียวกับท่านคือ บ้านปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง

มาตั้งบ้านเรือนใกล้ๆวัด ช่วยกันบูรณะดูเป็นวัดขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2192

วัดเวียง จึง มีลักษณะคล้ายวัด

พระธาตุลำปางหลวง วัดปงยางคก และวัดไหล่หิน


และเมื่อครูบาอินทร์จันทร์ ศิษย์ของท่าน

ออกไปหายาสมุนไพรตามรากไม้ในบริเวณป่าบริเวณม่อนเขา

ไปขุดหลุมพบแผ่นหนึ่งจารึกเป็นภาษาขอม

ครูบาอาทิตย์ (พระสังฆทิตย์) อ่านดูจึงรู้ว่ามีพระธาตุสามแห่งดัง

จึงช่วยกันบูรณะซ่อมแซมจนรุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่ง

เมืองนี้มีชื่อว่า " เมืองสังฆะเติ๋น" ... เติ๋น แปลว่า เตือน

แผลงเป็น เถิน

บริเวณวัดเวียงก็คือใจกลางเมืองเถิน

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ได้โปรดบูรณะซ่อมแซม วัดวาอารามทั่วประเทศ

ที่ วัดเพาะหนองสาง บ้านเก่าของนางป้อมและนางเป็ง

ปูหลวงแสนคำ เจ้าอาวาส

ได้มาบูรณะซ่อมแซมและย้ายมาประจำอยู่ที่วัดเวียง

ซุ้มประตูโขง บูรณะในสมัยรัชกาลที่ 5

ยกเก็จย่อมุม

ขอบซุ้มประตูเป็นลายพันธุ์พฤกษา สองข้างเป็นหงส์ ด้านบนเป็นนาคพัน

เหนือกรอบประตู

วิหาร

ด้านล่างวิหารเปิดโล่ง

เหมือนวัดพระธาตุลำปางหลวง วัดไหล่หิน และวัดปงยางคก

หน้าบัน

ลิงมีหางเป็นปลา ... มัจฉานุ

ปู่หลวงแสนคำได้พบสิ่งปฏิหารในวัดเวียงคือ

เสาวิหารต้นหนึ่งมีนางไม้ออกไป เล่นน้ำที่หนองถ่วมห่างวัดไปราว 2 กิโลเมตร

ตอนเช้าจะมีจอกแหน สาหร่าย หรือแม้แต่หอย ติดอยู่ปลายเสา

หลวงปูคำแสนจึงสะกดเสาต้นนี้และเอาโซ่เหล็กมาผูกไว้ที่โคนเสา

จากนั้นก็มีผึ้งมาทำรังในโพรงเสา จึงมีหมีมา ควักกินผึ้งทำให้เสาหลักแตก

หลวงปู่แสนคำจึงให้เอาเสานั้นออกแล้วก่ออิฐฉาบปูนขึ้นแทนเสาต้นเดิม

ซุ้มพระเจ้า

เหมือนวัดพระธาตุลำปางหลวง วัดไหล่หิน และวัดปงยางคก

จิตรกรรมฝาผนัง ... เรื่องอะไร ช่วยเล่าด้วย

ขวามือซุ้มพระเจ้าออกมา

พระมหาชนก

ด้านหลังวิหาร

องค์พระธาตุ

ต้นขนุนนางจามเทวี

มีผลดกมากแม้แต่รากก็ยังมีผล ... รากต้นขนุนโผล่เข้าไปในบ่อน้ำ

คนที่หน้าวัดเล่าว่าเคยเห็นลูกขนุนอยู่ในบ่อน้ำข้างต้นขนุน

พระอุโบสถเก่า

ใหม่

วัดทั้งสามนี้เป็นวัดคู่บ้านคู่บ้านคู่เมือง

ตามโบราณกล่าวไว้ว่า

" จึงมีจารีตประเพณีสรงน้ำพระธาตุเจ้าแต่ก่อนดังนี้

เดือนห้าเป็ง (เพ็ญ) เหนือ ให้สรงน้ำพระธาตุเจ้าวัดเวียง

เดือนเจ็ดปีใหม่พญาวันให้พากันไป สรงน้ำพระธาตุวัดอุมลอง

พอถึงเดือนแปดเป็ง (เพ็ญ) ให้พากันไปสรงน้ำพระธาตุเจ้าวัดดอยป่าตาล

และให้พากันบำรุงรักษากราบไหว้ทั้งสามวัด

บ้านเมืองจัดรุ่งเรืองตลอดทั้งฝนก็จะตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าจักงอกงาม

หากพากันเพิกเฉยเสียบ้านเมืองจะแห้งแล้งข้าวกล้าในนาจะ เหยียวแห้ง

ฟ้าฝนก็จะไม่ตกต้องตามฤดูกาล "

ปิดท้ายด้วย ... อยากให้เหมือนเดิม

อ้างอิงจากBlogGang.com