วัดเขาโบสถ์

ศาสนสถาน (โบสถ์มหาอุตม์ อายุกว่า 100 ปี)

โบสถ์เก่าแก่ อายุกว่า 100 ปี นับว่าเป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในตำบลทับมา ซึ่งโบสถ์มหาอุตม์นี้ เป็นโบสถ์ที่มีประตูทางเข้า-ออก เพียงประตูเดียว ในสมัยโบราณจะเรียกโบสถ์ประเภทนี้ว่า โบสถ์มหาอุตม์ ซึ่งเป็นศาสนสถานที่มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ และยังเป็นแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ วัดเขาโบสถ์ ยังคงสภาพความแข็งแรง และเป็นสถานที่ให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปได้ศึกษาเรียนรู้ถึงประวัติ และความเป็นมา

โบสถ์เก่าแก่ อายุ กว่า 100 ปี

เจดีย์ วัดเขาโบสถ์

ประวัติวัดเขาโบสถ์

ที่ตั้งวัด

เลขที่ 111/1 หมู่ที่ 7 ตำบลทับมา อำเภอเมือง จังหวัดระยอง

สภาพทั่วไปของวัด

วัดมีพื้นที่ประมาณ ๒๔ ไร่ ๒ งาน ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกของอำเภอนิคมพัฒนา มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอบ้านค่าย อยู่ใกล้เคียงดังนี้

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตภูเขา

ทิศใต้ ติดต่อกับเขตถนนสาธารณะ

ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตถนนสาธารณะ

ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตคลองสาธารณะ

ลักษณะภูมิอากาศ

มีลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนลมทะเลพัดผ่านตลอดปี อากาศอบอุ่นไม่ร้อนจัด

บริเวณชายเขาเย็นสบายในฤดูฝนจะมีฝนตกชุก ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมของ

ทุกปี ที่ผ่านมา และอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ ๓๐ องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิ

สูงสุดในเดือนเมษายนประมาณ ๓๘ องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดในเดือน

มกราคมวัดได้ ๑๖ - ๑๗ องศาเซลเซียส

ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพพื้นที่โดยทั่วไป เป็นที่ราบ ประกอบด้วยภูเขาเตี้ยๆ ด้านเหนือ และ ตะวันตกเป็น

ที่ราบสลับภูเขาและลำคลอง เป็นที่ลาดต่ำ ทางทิศใต้เป็นดินร่วนปนทราย ระบายน้ำ

ได้ดี หลังวัดมีแม่น้ำ ๑ สาย คือ

- สาขาแม่น้ำระยอง ชาวบ้านโดยทั่วไป เรียก มือคลอง ไหลผ่านทางด้านหลังของวัด

ทางด้านทิศตะวันตก และไหลลงสู่ทะเลที่ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองระยอง

ลักษณะดิน

เป็นดินร่วนปนทรายและดินลูกรัง ระบายน้ำได้ดี แต่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่ในระดับต่ำ

และมีภูเขาเตี้ย ๆ

ป่าไม้

เป็นพื้นที่จัดทำโครงการ “ป่าชุมชนบ้านเขาโบสถ์” ตามมติครม.ปี ๓๘ เป็นป่าเบญจพรรณและป่าละเมาะ

ทรัพยากรแร่ธาต

จากการสำรวจจะเป็นแหล่งน้ำที่สมบูรณ์

ความเป็นมาของศิลปกรรมของวัดเขาโบสถ์

จุดเริ่มต้นของศิลปกรรม คือ การที่ต้องประดิษฐ์และสร้างสรรค์สิ่งอำนวยความสะดวก และเพื่อ

ความเป็นอยู่ที่ปลอดภัย สำหรับการดำรงชีพและความอยู่รอด ได้แก่ ที่พักอาศัยอย่างง่าย ๆ

อาคารที่สร้างขึ้น อย่างหยาบๆ สร้างอิฐดินเผาเพื่อเป็นการสร้างโรงอุโบสถอย่างง่าย ๆ ล้วน

เป็นการใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของชุมชนในการ

ดำรงชีวิต ซึ่งเป็นไปในลักษณะที่แตกต่าง จากธรรมชาติ ในระยะต่อมาเมื่อคนในชุมชนได้

สัมผัสกกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ ซึ่งบางเหตุการณ์เป็นสิ่งที่เหนือคำอธิบายได้ในยุคนั้น

ด้วยความเกรงกลัวในอิทธิฤทธิ์อำนาจของสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ จึงได้เกิด พิธีกรรมต่าง ๆ

พัฒนามาเป็นความเชื่อจนกลายเป็นเรื่องของศาสนาในปัจจุบัน ศิลปะจึงได้ถูกสร้างสรรค์ขึ้น

เพื่อประกอบในพิธีกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆเหล่านี้ เป็นรากฐานและ

แรงบันดาลใจให้คนในชุมชนในสมัยต่อ ๆ มาสร้างงานที่มีลักษณะแปลกแตกต่างและ

พัฒนาให้เกิด ผลงานที่ดีขึ้นต่อไป

วิธีการปฏิบัติในการอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปกรรมของวัดเขาโบสถ์

เราเข้าใจแนวคิดพุทธศาสนาที่เป็นบ่อเกิดของงานช่าง และวิธีการปฏิบัติของวิถีชีวิตของ

ชุมชนจะมีอิทธิพลต่อการอนุรักษ์ศิลปกรรมดังปัจจุบัน สังคมชาวบ้านเขาโบสถ์แต่โบราณ

ดูแลอาคารโบราณสถานต่างๆด้วยแนวคิดพื้นฐานของชุมชน ด้วยแนวคิดทางพุทธศาสนา

ศิลปกรรมต่างๆ มีคุณค่าในฐานะเป็นเครื่องมือ อุปกรณ์(Instrument)ที่ชี้นำในการเผย

แพร่ไปสู่สังคมภายนอกชุมชน ให้เข้าถึงความเป็นจริงของพุทธศาสนาและศิลปกรรม โดย

เข้าใจธรรมชาติของวิถีชุมชน อันเป็นคนในสังคมที่ยังคงมีกิเลสอันยึดติดอยู่ในความงาม

จึงได้ใช้ความงามของศิลปะเป็นอุบายในการโน้มนำใจให้คิดดี ทำดีตามหลักศาสนาด้วย

แนวคิดที่ศิลปะอันเนื่องในพุทธศาสนามีหน้าที่ในฐานะที่เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใน

การอธิบายแนวคิดทางศาสนาและเป็นรูปสัญลักษณ์ที่ใช้สื่อความหมายในทางศาสนา

และสืบทอดอายุของพุทธศาสนา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เมื่อศาสนสถาน หรือศาสนวัตถุ

ชำรุด ชาวบ้านในชุมชนก็ปฏิสังขรณ์ให้สมบูรณ์จะไม่ปล่อยให้ชำรุดหักพัง เช่นอุโบสถ

หลังเก่าของวัดเขาโบสถ์ ถือว่าเป็นจุดขายที่จะสื่อให้เห็นถึงความมีศิลปะในจิตใจ ของคน

ในชุมชนเดิม ที่ทำให้เราได้มีโอกาสเรียนรู้ถึงคุณค่าทางศิลปะเป็นเรื่องที่แยกออกจากกันไม่ได้


เพราะสถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์ย่อมทำหน้าที่ในการเป็นรูปสัญลักษณ์ ที่สื่อสารความหมาย

ทางศาสนาได้เป็นอย่างดีพร้อมกันนั้น ด้วยแนวคิด “ไตรลักษณ์” ที่สอนให้มองสรรพสิ่งว่า

ไม่เที่ยง โดยเฉพาะภิกษุซึ่งเกี่ยวข้องในการใช้ศาสนสถานโดยตรง ก็มีท่าทีต่อเสนาสนะที่

ใช้สอย เมื่อเป็นดังนี้ “แม้แต่ความงามในเสนาสนะ และศิลปะทั้งปวงก็ล้วนเป็นอนัตตา”

ที่ว่างเปล่าปราศจากตัวตน ทำให้เมื่อศาสนสถานชำรุดไปตามกาลเวลาจึงไม่มีความจำเป็น

จะต้องฝืนความเป็นไตรลักษณ์ด้วยการพยายามรักษาศาสนสถานไว้ให้คงอยู่ถาวรตาม

สภาพเดิมจึงทำให้การบูรณปฏิสังขรณ์ในทางด้านศิลปกรรมที่อยู่ในวัด


นอกจากนั้นแล้ว ด้วยแนวคิดเรื่องบุญกิริยาในทางพุทธศาสนา การดูแลซ่อมแซมศาสนสถาน

ศาสนวัตถุให้คงรูปในสภาพที่สมบูรณ์ย่อมได้บุญกุศลกว่าการปล่อยให้อยู่ในสภาพปรักหักพัง

ความเชื่อเช่นนี้ฝังรากลึกอย่างยาวนานในสังคมไทย เช่น จิตรกรรมฝาผนัง กล่าวว่า หากสร้าง

ธรรมมาสน์ ผลบุญ คือ เมื่อตายแล้วจะได้จุติบนสวรรค์พร้อมวิมาน ส่วนการปิดทองพระพุทธรูป

ผลบุญชาติต่อไป คือ จะได้จุติเป็นกษัตริย์ หรือใน จันทเสนชาดก กล่าวว่าหากปฏิสังขรณ์และ

ปิดทองพระพุทธรูปที่ชำรุด ผลบุญชาติต่อไป คือ จะได้จุติเป็นเทวดา และหากเป็นหญิงก็จะ

มีผิวงาม ไม่เคยปรากฏหลักฐานในคัมภีร์หรือจารึกใดๆว่า ผู้คนในสมัยโบราณสร้างหรือ

ปฏิสังขรณ์ศิลปะ อันเนื่องในพระศาสนาเพื่อที่จะอนุรักษ์ศิลปะหรือสืบทอดฝีมือช่างให้แก่

ลูกหลาน แม้ว่าการปฏิสังขรณ์ ศาสนสถาน ศาสนวัตถุโดยชนชั้นปกครองในสมัยโบราณ

จะแฝงไปด้วยวัตถุประสงค์หลักทางการเมือง แต่ก็เป็นการเมืองที่อิงเข้าหาพุทธศาสนาใน

การเสริมสร้างบารมีและความชอบธรรมในการปกครอง นอกจากเพื่อบุญกุศลการอนุรักษ์

ปัญหาที่ยังไม่มีทางออกในขณะที่การอนุรักษ์ที่ดำเนินการบนพื้นฐานแนวคิดจากตะวันตก

ในปัจจุบัน สามารถรักษาศิลปกรรมหรืออาคารโบราณวัตถุสถานได้เพียงแค่ในเชิง

“วัตถุ” หรือ “รูปธรรม” และมักได้ซากอาคารโบราณที่ไร้ชีวิต และปราศจากหน้าที่ที่เคยใช้

สอย ดังตัวอย่าง อุทยานประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ของประเทศไทย แต่แนวคิดของพุทธศาสนา

ในสมัยโบราณนั้น กลับสามารถรักษาความหมายและคุณค่าในเชิง “นามธรรม” ที่เป็นรากฐาน

ที่ก่อให้เกิดงานช่างอันงดงามเหล่านั้น ได้แก่ การรักษา “ความเชื่อ” “ความศรัทธา” ใน

พระศาสนาอันเป็น “นามธรรม” ที่อยู่ในใจคนไว้ได้ เพราะความเชื่อเช่นนี้ที่ดำรงอยู่ในใจคน

พุทธศาสนิกชนจึงสามารถสั่งสม สืบทอด และพัฒนาฝีมือช่างจนสามารถรังสรรค์ศาสนสถาน

ศาสนวัตถุอันงดงาม

“ศิลปกรรมล้ำค่า ภูมิปัญญาก้าวไกล ใส่ใจธรรมชาติ