ศิลปะการแทงหยวก

“ศิลปะการแทงหยวก”

โดย คุณพ่อสมคิด ศรีสว่าง

บ้านเลขที่ ๒๐๑ หมู่ที่ ๑๔ บ้านจันทราราม ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

ข้อมูลครูภูมิปัญญา

คุณพ่อสมคิด ศรีสว่าง เกิดวันที่ ๑๐ เดือน พฤษภาคม

พ.ศ. ๒๔๙๐ อายุ ๗๓ ปี เบอร์โทรติดต่อ ๐๙๓ ๓๒๗ ๓๕๐๑

สัญชาติ ไทย เชื้อชาติ ไทย ศาสนา พุทธ

วุฒิการศึกษา ป.๖ ความสามารถพิเศษ การแทงหยวก

ปัจจุบันประกอบอาชีพ เกษตรกร


ศิลปะการแทงหยวก “เป็นศิลปะของการแทงหยวกกล้วยเพื่อให้เกิดเป็นลวดลายต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการประดับตกแต่งในงานมงคล และอัปมงคล ส่วนใหญ่จะเป็นงานศพ เพราะเป็นงานที่ทำด้วยการนำกาบกล้วยซึ่งหาได้ง่ายในชุมชนและนำมาแกะสลักให้เกิดเป็นลวดลายที่มีความสวยงาม และด้วยมือเรา” เป็นคำบอกเล่าของ พ่อสมคิด ศรีสว่าง

พ่อสมคิด เล่าต่อว่า “สมัยก่อน เมื่อย้อนไปตอนพ่อสมคิดอายุ ๒๕ ปี ส่วนใหญ่ผู้เฒ่าผู้แก่จะเป็นคนสอนให้ลูกหลาน ได้ทำการแทงหยวกโดยจะทำลายง่ายๆก่อนซึ่งผู้เฒ่าจะเรียกว่า

“แข้วหมาตาย” ซึ่งสมัยนี้เรียกว่าลายกระจังฟันปลาและได้ดัดแปลงเป็นลายอื่นๆเพิ่มอีกเช่น ลายฟัน๓, ลายเปลวไฟ, ลายแขนนาง และลายนาค สืบทอดกันมาเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน”

ต่อมา กศน.ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ ได้สนับสนุนโดยการดำเนินการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ หลักสูตรวิชาชีพศิลปะการแทงหยวกเพื่อให้สอดคล้องตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและศักยภาพของพื้นที่ อาชีพศิลปะการแทงหยวกเป็นอาชีพหนึ่งที่เป็นช่องทางในการประกอบอาชีพของผู้ที่ยังไม่มีงานทำหรือผู้ที่ต้องการเปลี่ยนอาชีพ เป็นอาชีพอิสระที่ผู้เรียนสามารถนำมาเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพรองได้ เนื่องจากเป็นอาชีพที่ผู้สนใจสามารถเรียนรู้ได้ง่ายไม่ยุ่งยาก ไม่มีต้นทุนในการประกอบอาชีพ


คุณค่าและการใช้ประโยชน์การแทงหยวก ศิลปะการแทงหยวก มีคุณค่าทางด้านประเพณีวัฒนธรรมเดิมของสังคมไทย ซึ่งแต่เดิมการแทงหยวกในแต่ละท้องที่จะใช้แรงงานคนจากการร่วมมือกันในชุมชน ทำให้เกิดความร่วมมือ และทำงานเป็นทีมของคนหมู่มาก ซึ่งแสดงออกถึงความมีนำจิตน้ำใจ และความสามัคคีของคนในชุมชน นอกจากนั้น ยังเป็นสิ่งที่มีคุณค่า และเกิดการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้

๑. หยวกกล้วยที่แกะสลักจะถูกใช้ตกแต่งในงานพิธีต่างๆ ทั้งงานที่เป็นมงคล และอัปมงคล ได้แก่ งานมงคล อาทิ พิธีเบญจาทรงน้ำพระพุทธรูป ทรงน้ำพระสงฆ์ อาบน้ำผู้สูงอายุในชุมชน งานบุญบวช งานขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลแก่ผู้ตาย ใช้ตกแต่งประดับเรือแห่ รถแห่ ทั้งบนบก และบนน้ำ ใช้ตกแต่งกระทงและใช้ตกแต่งซุ้มงาน เป็นต้น งานอัปมงคล อาทิ ใช้ตกแต่งเมรุงานศพ ใช้ตกแต่งโลงศพ ใช้ตกแต่งงานพิธี เรียกขวัญ งานพิธีขับไล่สิ่งอัปมงคลเป็นต้น

๒. เกิดการสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน โดยเกิดขึ้นในลักษณะการจ้างเหมาแทงหยวก หรือแกะสลักหยวกเพื่อใช้ประดับตกแต่งในพิธีต่างๆ

๓. บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวให้แก่คนต่างถิ่น และชาวต่างชาติ

๔. ทำให้เกิดการสืบสาน และการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจ และคนรุ่นหลังต่อไป

จากนั้น พ่อสมคิด ได้กล่าวเสริมอีกว่า “การแทงหยวกกล้วย สามารถทำเป็นอาชีพเสริม หารายได้เลี้ยงคนในครอบครัว ได้ เพราะในวันๆหนึ่งสามารถรับจ้างแทงหยวก หรือแกะสลักหยวก ที่เรียกให้เข้าใจง่ายๆว่า “ปราสาทผึ้ง” จะทำได้ประมาณ ๒ หลัง ต่อ 1 วัน คิดเป็นหลังละ ๘๐๐-๙๐๐ บาท ซึ่งถ้าคิดเป็นต้นทุนจะอยู่ที่หลังละ ๒๐๐ บาท เพราะวัสดุและอุปกรณ์ในการทำจะหาได้ง่ายในพื้นที่ๆอยู่ๆแล้ว”ซึ่งก็ถือว่าเป็นอาชีพเสริมอาชีพหนึ่งที่น่าสนใจและสามารถเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้อีกทางเลือกหนึ่ง

ทีมงานผู้รับผิดชอบงานคลังปัญญา อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี


นำทีมโดยนางสาวอรพร อินทรนัฎ ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

๑. นางสาวกชกร พรมมาโอน ครู

๒. นางสาวจิตรา นาฬิกุล ครู กศน.ตำบล

๓. นางสาวปรียานุช มิลี ครู กศน.ตำบล

๔. นางสาวปุณยานุช กองพลพรหม ครู กศน.ตำบล

๕. นางสาวนิภารัตน์ มหาพรหม ครู กศน.ตำบล

๖. นายเข็มวิรุณ สีโท ครู กศน.ตำบล

๗. นางสาวทิพย์บดี สุทธิโสม ครู กศน.ตำบล

๘. นางสาวทรรศนบรรณ สิงหเดช ครู กศน.ตำบล

๙. นางสาวสุกัญญา บูรณะ ครู ศรช.

๑๐. นางสาวยุวดี ผาลา ครู ศรช.

๑๑. นางสาวกัลญานี สุวิจิตรธิกุล ครู ศรช.