ประเพณีตักบาตรเที่ยงคืน เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด แต่เข้าใจว่าทางภาคเหนือคงรับเอามาจากประเทศพม่า มีความเชื่อว่า พระอุปคุตซึ่งเป็นภิกษุที่พระพุทธเจ้าทรงเป็นองค์อุปัชฌาย์ เมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้เสด็จลงไปจำศีลภาวนาอยู่ ณ สะดือทะเล ในรอบ 1 ปี จะขึ้นมาโปรดชาวเมืองก่อนเวลารุ่งอรุณชาวพม่ามักตื่นแต่ดึก เพื่อเตรียมอาหารไว้ใส่บาตรพระอุปคุตโดยมีคติความเชื่อว่า หากผู้ใดได้ทำบุญตักบาตรพระอุปคุตแล้วจะได้บุญใหญ่หลวง เกิดโชคลาภและความเป็นสิริมงคลในชีวิตคติความเชื่อนี้จึงทำให้พุทธศาสนิกชนถือปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่ครั้งบรรพบุรุษในประเทศไทยการใส่บาตรเที่ยงคืนนี้ชาวเหนือเชื่อกันว่าพระอุปคุตจะแปลงกายเป็นสามเณรออกมาโปรดสัตว์ถ้าผู้ใดได้ใส่บาตรกับพระอุปคุตแล้วบุคคลนั้น จะประสบแต่ความสุขร่ำรวยด้วยทรัพย์สินเงินทองได้อานิสงส์แรง ดังนั้นเมื่อถึงวันเพ็ญตรงกับวันพุธชาวเหนือทุกคนจะไปคอยใส่บาตรเป็นพิเศษ

สำหรับประเพณีตักบาตรเที่ยงคืน หรือ พิธีตักบาตรเป็งปุ๊ด นั้นกำหนดจัดขึ้นทุกปี ในวันขึ้น 15 ค่ำ ตรงกับวันพุธ โดยไม่เจาะจงว่าต้องอยู่ในเดือนใด พระภิกษุสามเณรก็จะออกบิณฑบาตในเวลาเที่ยงคืน ชาวบ้านก็จะตื่นช่วงกลางดึก เพื่อเตรียมอาหารไว้ใส่บาตรพระอุปคุต โดยมีคติความเชื่อว่า หากผู้ใดได้ทำบุญตักบาตรพระอุปคุตแล้วจะได้บุญใหญ่หลวง เกิดโชคลาภ และความเป็นสิริมงคลในชีวิต คติความเชื่อนี้จึงทำให้พุทธศาสนิกชนถือปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่ครั้งบรรพบุรุษ


ทั้งนี้ มีความเชื่อว่าในทุกวันหลังเที่ยงคืนที่ย่างเข้าสู่วันขึ้น 15 ค่ำหรือวันเพ็ญที่ตรงกับวันพุธ จะมี

พระอุปคุตที่จำพรรษาอยู่ใต้สะดือทะเลแปลงร่างเป็นสามเณรน้อยขึ้นมาโปรดสัตว์ผู้ตกทุกข์ได้ยากบนโลกมนุษย์ ซึ่งหากใครได้ตักบาตรพระอุปคุตในวันเป็งปุ๊ด ชีวิตจะมีแต่ความรุ่งเรือง ร่ำรวยเงินทอง ชีวิตจะประสบพบแต่โชคลาภตลอดไป ซึ่งแต่ละปีจะมีวันขึ้น 15 ค่ำตรงกับวันพุธไม่เท่ากัน บางปีมี 1 วัน 2 หรือ 3 วัน แต่ปีนี้มีเพียง 1 วัน คือวันที่ 14 ธันวาคม โดยมีพุทธศาสนิกชนจำนวนนับหมื่นคน ต่างพร้อมใจกันนำข้าวสารอาหารแห้งและดอกไม้ธูปเทียนมารอทำบุญแก่พระอุปคุตและพระสงฆ์ ตลอดสองฝั่งถนนบรรพปราการ เป็นระยะทางยาวกว่า 1 กิโลเมตร ท่ามกลางสภาพอากาศที่เย็นสบาย อุณหภูมิ 17 องศาเซลเซียส ซึ่งทุกคนต่างน้อมจิตอธิษฐานถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ