การปลูกกุ้ยช่ายขาวแบบอินทรย์
         กุยช่ายเป็นพืชผักอยู่ในวงศ์เดียวกับหอม กระเทียมมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน และชาวจีนเป็นชนชาติแรกที่นำกุยช่ายมาทำอาหารเมื่อประมาณ 2,000 - 3,000 ปีก่อน นิยมบริโภคในเอเซียทั่วไป มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ชื่อสามัญ/ชื่ออังกฤษ : Chinese Chive ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium tuberosum Rottl. ex Spreng ชื่อจีน: 韭菜 ชื่ออังกฤษ: Garlic chives อยู่ในวงศ์ Amaryllidaceae วงศ์ย่อย Allioideae อีสานเรียกผักแป้น ผักกุยช่ายมีทั้งชนิดใบสีเขียว เรียกกุยช่ายเขียว และใบสีขาว เรียกกุยช่ายขาว กุยช่ายขาวมีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ  Allium tuberosum.L. เป็นพืชข้ามปี มี 2 สายพันธุ์ คือ กุยช่ายใบและกุยช่ายดอก
           ลักษณะทั่วไปของกุยช่าย
 กุยช่ายเป็นไม้ล้มลุก สูง 30 - 45 ซม. มีเหง้าเล็กและแตกกอ ใบแบน เรียงสลับ รูปขอบขนาน ยาว 30 - 4 0 ซม. โคนเป็นกาบบางซ้อนสลับกัน ช่อดอกแบบซี่ร่ม ก้านช่อดอกกลมตันยาว 40 - 45 ซม. โดยปรกติจะยาวกว่าใบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม ออกในระดับเดียวกันที่ปลายก้านช่อดอก ก้านดอกยาวเท่ากัน มีใบประดับหุ้มช่อดอก เมื่อดอกเจริญขึ้นจะแตกออกเป็นริ้วสีขาว กลีบดอก 6 กลีบ สีขาว ยาวประมาณ  5  มม. โคนติดกัน ปลายแยก กลางกลีบดอกด้านนอกมีสันหรือเส้นสีเขียวอ่อนจากโคนกลีบไปหาปลาย ดอกบานกว้างประมาณ 1 ซม. เกสรเพศผู้  6  อัน อยู่ตรงข้ามกับกลีบดอก เกสรเพศเมีย  1  อัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ผลกลม กว้างยาวประมาณ  4  มม. ภายในมี 3 ช่อง มีผนังกั้นตื้นๆ เมื่อแก่แตกตามตะเข็บ มีเมล็ดช่องละ 1 - 2  เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลแบน ขรุขระ
           ประโยชน์ของกุยช่าย
         ประโยชน์ทางอาหาร ดอก ผักกับตับหมู ใบรับประทานสดกับลาบ หรือผัดไทยก็ได้ และนอกจากนั้นยังใช้ใบทำเป็นไส้ของขนมกุยช่ายอีกด้วย
 ประโยชน์ทางยา
 1.ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดงเนื่องจากกุยช่ายขาวประกอบด้วยธาตุอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย  เช่น  เหล็ก  ฟอสฟอรัสและแคลเซียม                 
 2. ช่วยป้องกันมะเร็ง เนื่องจากกุยช่ายขาวมีสารเบต้าแคโรทีนและวิตามินซีสูง
 3. มีสรรพคุณเป็นยาประสานน้ำนม
 4. มีกากใยอาหารช่วยให้ของเสียที่ต้องระบายออกจากร่างกายถูกเคลื่อนย้ายได้สะดวก
 5. ลดโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 6. กุยช่ายขาวจะกรอบและหวานมากกว่ากุยช่ายเขียว จึงทำให้มีราคาสูงกว่ากุยช่ายเขียว 3 – 4 เท่าตัว